วัดตากฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดตากฟ้า
พระประธานในอุโบสถ์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดตากฟ้า พระอารามหลวง
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 60190
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นตรี
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระเทพปัญญาภรณ์ (ริด ริตเวที)
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี
การถ่ายภาพPramote.jpg‎
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดตากฟ้า เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา สังกัดคณะสงฆ์ไทย เถรวาท มหานิกาย โดยวัดได้รับการยกให้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 76 หมู่ที่ 1 ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ทั้งยังเป็นสำนักศาสนศึกษาในด้านปริยัติธรรมบาลี ที่ผู้เรียนและสถิติผู้สอบได้จำนวนมากในแต่ละปี[1]

ประวัติ[แก้]

วัดตากฟ้า แต่เดิมได้ตั้งเป็นเพียงที่พักสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยสมัยนั้นยังสังกัดอยู่กับคณะสงฆ์อำเภอตาคลี ต่อมาได้อาศัยศรัทธาจากชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพกสิกรรมเพาะปลูกพืชไร่ได้ร่วมใจกันสร้างเสนาสนะและศาลาเพื่อเอาไว้บำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนาและอีกประการหนึ่งบริเวณตลาดตากฟ้าท่านแรก คือ นายบันลือ รัตนมงคล ได้เป็นผู้ดำเนินการเรื่องสถานที่ก่อสร้างวัด เพราะที่ดินบริเวณวัดนั้นเป็นที่ของนิคมสร้างตนเอง พร้อมกันนั้นก็ได้อาศัยผู้ใหญ่สมจิตร์ พิมพาภรณ์ นายสิงห์ สมศรี พร้อมด้วยชาวบ้านตากฟ้า เป็นผู้ดำเนินการสร้างวัด

ทางด้านฝ่ายคณะสงฆ์นั้นก็ได้รับความสนับสนุนจาก พระครูนิพัทธ์ศีลคุณ (ทอง) อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลี และพระครูนิยมธรรมภาณ (บก) เจ้าคณะตาบลในขณะนั้น ได้ช่วยส่งพระมาเป็นผู้ปกครองสำนักสงฆ์ โดยลำดับ และเพื่อเป็นเกียรติที่พระครูนิยมธรรมภาณได้ให้ความอุปถัมภ์แก่สานักสงฆ์ ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกกันว่า “วัดตากฟ้านิยมธรรม” โดยเอาชื่อท้ายของราชทินนามของหลวงปู่บก มาต่อสร้อยข้างท้าย และในปี พ.ศ. 2504 คณะกรรมการก็ดำเนินการจึงทำเรื่องขอตั้งเป็นวัด

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2507 พระอาจารย์บุญส่ง ซึ่งเป็นผู้ดูแลสำนักสงฆ์วัดตากฟ้านิยมธรรมเป็นรูปสุดท้ายก็ได้ลากลับไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดสว่างวงษ์ อำเภอตาคลี ตามเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 คณะกรรมการวัดจึงได้ไปขอพระภิกษุที่จะมาเป็นผู้นำจากหลวงพ่อพระครูวิสัยจริยคุณ (โอด) ที่วัดจันเสน อำเภอตาคลี เพื่อมาดูแลสานักสงฆ์ต่อไป ขณะนั้น พระสุรินทร์ จนฺทโชโต (ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระครูนภเขตคณารักษ์) ท่านกำลังมาลาหลวงพ่อพระครูวิสัยจริยคุณ เพื่อจะไปจำพรรษา ณ วัดปากน้ำ จังหวัดระนอง หลวงพ่อพระครูวิสัยจริยคุณ จึงได้ ขอให้ท่านมาจาพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดตากฟ้านิยมธรรม เพื่อมาเป็นผู้นาในการดูแลรักษาและบำรุงรักษาวัด

ในปี พ.ศ. 2510 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม จึงประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา มีนามว่า “วัดตากฟ้า” เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 และต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

ในปี พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชานุญาต สถาปนาวัดตากฟ้า เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เนื่องในมหามงคลวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

  • เท่าที่ทราบ
  • พระอาจารย์บุญส่ง
  • พระสุรินทร์ จันทโชโต
  • พระเทพปัญญาภรณ์ (ริด ริตเวที

(พ.ศ. 2550- ปัจจุบัน)

สำนักเรียนวัดตากฟ้า[แก้]

วัดตากฟ้าได้จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบันโดยกฎระเบียบของวัดตั้งไว้ว่า พระภิกษุสามเณรผู้อยู่จำพรรษาจะต้องศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ทุกรูป ตามกำหนดการเรียนการสอน สำหรับการเปิดเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมนั้น คือวันแรม 9 ค่ำ เดือน 8 เวลาปิดภาคเรียน คือก่อนวันออกพรรษา 7 วัน ก่อนจะจบภาคเรียนจะต้องทำการทดสอบความรู้ในห้องเรียนทุกชั้น ทุกวิชา

ในส่วนกรณีศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ทางวัดตากฟ้าได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ในสมัยของพระครูนภเขตคณารักษ์ โดยนิมนต์พระมหากาญจน์ กาญจนรังสี (สกุล โควารกูร) ป.ธ. 8 มาเป็นอาจารย์รูปแรกและทำการเปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีพระภิกษุสามเณรเล่าเรียนศึกษาพอสมควร โดยในปีการศึกษาแรกนั้น พระภิกษุสามเณรสามารถสอบประโยค ป.ธ.3 ได้ยกชั้นเป็นจำนวนถึง 11 รูป และได้ดำเนินการสอนเรื่อยมา โดยมีผู้รับหน้าที่เป็นอาจารย์ใหญ่ต่อมาอีก 2 รูป คือพระมหาสมชาย อิทธิโช (สกุล เกิดแก้ว) เป็นอาจารย์ใหญ่รูปที่ 2 และพระมหาทะนงศักดิ์ พรหมรังสี (สกุล พรหมรังสี) เป็นอาจารย์ใหญ่รูปที่ 2

ในปี พ.ศ. 2534 หลวงพ่อพระครูนภเขตคณารักษ์อาพาธ จึงทำให้หยุดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีไปช่วงระยะหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2538 พระราชปัญญาเวที ได้เปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระมหาสุนทร สุนทรเมธี ป.ธ.7, พธ.บ. กศ.ม. ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระอมรเมธี เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้า ปีแรกมีพระภิกษุสามเณรเข้าเรียน 12 รูป สอบได้ประโยค 1 – 2 จำนวน 1 รูป

ในปี พ.ศ. 2539 สำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้าได้เปิดการเรียนการ พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ขึ้นมาอีกหนึ่งแผนก โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนศรีนภเขตวิทยา ทำให้มีพระภิกษุสามเณร ผู้เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมทั้ง 3 แผนก เพิ่มขึ้นเป็นลำดับตลอดมา

ในปี พ.ศ. 2544 วัดตากฟ้า ได้รับแต่งตั้งเป็น โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ประจำจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ 1

กิจกรรมประจำวัน[แก้]

เนื่องจากวัดตากฟ้าได้มีการจัดการเรียนการสอนทั้ง 3 หลักสูตร คือหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรม – บาลีและแผนกสามัญศึกษา จึงต้องมีการจัดตารางกิจประจาวัน ดังนี้ กิจประจาวันของผู้เรียนสำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้า

  • เวลาประมาณ 05.00 – 05.30 ทำกิจวัตร และทำวัตรเช้า
  • เวลาประมาณ 05.30 – 05.50 ทบทวนไวยากรณ์
  • เวลาประมาณ 05.50 – 06.00 ทำกิจส่วนตัวก่อนออกบิณฑบาต
  • เวลาประมาณ 06.00 – 07.30 ออกบิณฑบาต
  • เวลาประมาณ 07.30 – 08.15 ฉันภัตตาหารเช้า
  • เวลาประมาณ 08.15 – 08.30 ทำกิจส่วนตัวก่อนเข้าห้องเรียน
  • เวลาประมาณ 08.30 – 11.00 เข้าเรียนภาษาบาลี
  • เวลาประมาณ 11.00 – 12.00 ฉันภัตตาหารเพล
  • เวลาประมาณ 12.00 – 12.15 ทำกิจส่วนตัวก่อนเข้าห้องเรียน
  • เวลาประมาณ 12.15 – 12.30 สวดมนต์ไหว้พระก่อนเข้าห้องเรียน
  • เวลาประมาณ 12.30 – 18.00 เข้าเรียนสายสามัญ
  • เวลาประมาณ 18.00 – 18.30 ทำวัตรเย็น
  • เวลาประมาณ 18.30 – 19.00 ทำกิจส่วนตัว
  • เวลาประมาณ 19.00 – 20.30 เข้าเรียนภาษาบาลี
  • เวลาประมาณ 20.30 – 21.00 พักผ่อนตามอัธยาศัย
  • เวลาประมาณ 21.00 – 23.00 ทบทวนบทเรียน

หมายเหตุ: นักธรรมเรียนวันเสาร์และวันอาทิตย์ (ตารางอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

เกียรติประวัติ[แก้]

  • พ.ศ. 2520 ได้รับเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกให้เป็นวัดพัฒนาเด่น จากกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2540 ได้รับเกียรติบัตรให้เป็นวัดที่มีการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีดีเด่น ประจำจังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ 1
  • พ.ศ. 2544 ได้รับโล่เกียรติคุณจาก ฯพณฯ สิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะเป็นหน่วยงานที่จัดหรือสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียนดีเด่น ระดับประเทศ จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2545 ได้รับเกียรติบัตร โครงการอบรมบาลีก่อนสอบสนามหลวง คณะสงฆ์ ภาค 4 ที่มีนักเรียนผ่านการสอบตามหลักสูตร การอบรมระยะสั้นของคณะสงฆ์ภาค 4 เป็นอันดับที่ 1 ของภาค
  • พ.ศ. 2545 กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบโล่ให้วัดตากฟ้า เป็นศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ดีเด่น
  • พ.ศ. 2547 มูลนิธิธรรมกาย มอบโล่ห์ดีเด่นและทุนการศึกษา ในฐานะเป็น สำนักเรียนบาลีประจำจังหวัดที่มีนักเรียนสอบบาลีได้มากที่สุดในประเทศ
  • พ.ศ. 2548 มูลนิธิธรรมกาย มอบโล่ห์ดีเด่นและทุนการศึกษา ในฐานะที่มีนักเรียน ป.ธ.6 สอบได้มากที่สุดในประเทศ
  • พ.ศ. 2548 มูลนิธิธรรมกาย มอบโล่ห์ดีเด่นและทุนการศึกษา ในฐานะเป็นสานักเรียนบาลีประจำจังหวัดที่มีนักเรียนสอบบาลีได้มากที่สุดในประเทศ
  • พ.ศ. 2548 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้วัดตากฟ้า เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ. 2548-2549 ได้รับทุนพระราชทานเล่าเรียนหลวงในฐานะมีนักเรียนสอบบาลี ได้เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ
  • พ.ศ. 2549 ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีผลการสอบบาลีได้เป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ
  • พ.ศ. 2549 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทอดพระเนตรการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรวัดตากฟ้า และได้รับพระราชทานชื่อกองทุน “รัตนภัตต์ เพื่อเป็นค่าภัตตาหารของพระภิกษุ – สามเณร
  • พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตยกฐานะวัดตากฟ้า เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
  • พ.ศ. 2550 ได้รับโล่จากสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีผลสอบบาลีได้เป็นอันดับที่ 1 ของภาคเหนือ
  • พ.ศ. 2551 ได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันฟุตบอลมวลชนอำเภอตากฟ้าคัพ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2551
  • พ.ศ. 2551 ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศเซปักตะกร้อชาย โครงการมหกรรมกีฬา มวลชนตากฟ้าต้านยาเสพติด ประจำปี 2551
  • พ.ศ. 2551 ได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศเปตอง โครงการมหกรรมกีฬามวลชนตากฟ้าต้านยาเสพติด ประจำปี 2551

กองทุนรัตนภัตต์ วัดตากฟ้า[แก้]

ประวัติความเป็นมาของกองทุนรัตนภัตต์ (วัดตากฟ้า พระอารามหลวง)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การจัดการศึกษา ณ สำนักศาสนศึกษาวัดตากฟ้า โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ 1 ทรงพระมหากรุณา พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อถวายเป็นค่าภัตตาหารพระภิกษุสามเณร วัดตากฟ้า จำนวน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

วัดตากฟ้า จึงได้อัญเชิญตั้งเป็นกองทุนภัตตาหารพระภิกษุสามเณรวัดตากฟ้า และได้นำความกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ ต่อมาในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานชื่อกองทุนว่า "กองทุนรัตนภัตต์" ซึ่งมีความหมายว่า "อาหารอันมีค่าดุจแก้ว" นับเป็นพระมหากรุณาแก่พระภิกษุสามเณรวัดตากฟ้า และชาวอำเภอตากฟ้าอย่างที่สุด[2]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

http://www.wattakfa.com.

  1. http://www.wattakfa.com/
  2. http://www.wattakfa.com/