วัดช่องแค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดช่องแค
แผนที่
ที่ตั้งตำบล พรหมนิมิต อำเภอตาคลี นครสวรรค์
นิกายเถรวาท สังกัดมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูนิวิฐปัญญากร
ความพิเศษราว พ.ศ. 2458
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดช่องแค เป็นวัดที่มีความเก่าแก่มากแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นเมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2458[1] ตั้งอยู่ หมู่ 1 ตำบลพรหมนิมิต อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดมหานิกายภาค 4 หนเหนือ เดิมทีชื่อว่า วัดหัวเขาช่องแค[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาตัดคำว่า หัวเขา ออก เพราะไปพร้องซ้ำกับ วัดหัวเขาตาคลี[2]

ประวัติ[แก้]

เดิมที วัดช่องแคนั้นมีพระภิกษุ 2 - 3 รูป กับพระภิกษุพรหม ที่จาริกธุดงค์ผ่านมา แล้วมาแวะพักที่ถ้ำเขาช่องแค อันเป็นถ้ำบนภูเขาเล็กๆ ต่อมาได้มีชาวบ้าน มาถางป่าเพื่อทำเป็นที่พักสงฆ์ชั่วคราว ได้มาพบท่านแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงริเริ่มขออนุญาตในการสร้างวัดกับทางการ โดยมี "กำนันคล้าย มีสวัสดิ์" "สิบเอกวุ่น" "นางแตงกวา ตั้งสุวรรณ" และ"นางเผือก เพชรมนตรี" ได้สร้างเป็นวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2460 และได้ใบอนุญาตในการตั้งวัดเมื่อ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแทนอุโบสถหลังเก่าที่เป็นเรือนไม้เมื่อ พ.ศ. 2476 จึงได้เริ่มสร้างเสนาสนะมาโดยลำดับ[3]

ศาสนสถาน[แก้]

ที่ดินนั้นเดิมทีเป็น ส.ค.1 เลขที่ 147 แจ้งเข้าครอบครองเมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 จำนวนที่ดิน 60 ไร่ 36 ตารางวา

ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น น.ส.3 ก เมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2520 จำนวนที่ดิน 44 ไร่ 33 ตารางวา และได้ออกโฉนดใหม่ที่รังวัดได้ 35 ไร่ 3 งาน 38 ตารางวา เมื่อ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2542

  • ที่พุทธาวาส มีพระอุโบสถและมณฑป

รวม 4 ไร่

  • ที่สังฆาวาส มีกุฏิพระภิกษุ รวม 15 หลัง จำนวน 3 ไร่
  • ที่ธรรมาวาส มีศาลาการเปรียญ,ศาลาธรรมสังเวชไม้สัก,หอสวดมนต์ จำนวน 3 ไร่

สร้างโรงเรียนวัดช่องแค 15 ไร่[4] ปลูกป่าเพิ่มเติมบริเวณหลังวัด จำนวน 5 ไร่ ที่เหลือสร้างโรงทาน เมรุ ขุดสระน้ำ

  • พ.ศ. 2507 สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แบบคอนกรีต แทนหลังเก่าที่เป็นไม้ ขนาดกว้าง 40 คูณ 80 เมตร
  • พ.ศ. 2512 สร้างหอระฆังแบบเรือนไม้ ขนาด 6 คูณ 6 เมตร
  • พ.ศ. 2514 สร้างฌาปนกิจสถาน และศาลาธรรมสังเวช [ศาลาเกลียวพันธุ์ ตั้งสุวรรณ] ปัจจุบันรื้อแล้ว
  • พ.ศ. 2515 สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ขนาด 6 คูณ 9 เมตร
  • พ.ศ. 2516 สร้างมณฑปทรงจตุรมุข ไว้ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อพรหม และพระพุทธรูปปางลีลา ขนาด 9 คูณ 9 เมตร
  • พ.ศ. 2517 สร้างศาลาการเปรียญ แบบคอนกรีต ขนาด 29 คูณ 52 เมตร
  • พ.ศ. 2523 สร้างกุฏิสงฆ์จำนวน 8 หลัง ขนาด 6 คูณ 9 เมตร
  • พ.ศ. 2524 สร้างหอสวดมนต์ แบบเรือนไม้ ขนาด 9 คูณ 15 เมตร
  • พ.ศ. 2528 สร้างศาลาบำเพ็ญบุญ ขนาด 17 คูณ 31 เมตร
  • พ.ศ. 2532 สร้างหอระฆัง แบบคอนกรีต ขนาด 9 คูณ 9 เมตร
  • พ.ศ. 2534 เริ่มสร้างกำแพงล้อมรอบวัด จำนวน 54 ช่อง ช่องละ 250 เซนติเมตร
  • พ.ศ. 2535 สร้างโรงทานหลังเก่า ขนาด 9 คูณ 21 เมตร
  • พ.ศ. 2535 สร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ ขนาด 16 คูณ 25 เมตร
  • พ.ศ. 2536 สร้างถังน้ำเก็บน้ำฝน ขนาด 300 คูณ 300 คูณ 250 เซนติเมตร
  • พ.ศ. 2538 สร้างกองอำนวยการฯ ขนาด 9 คูณ 15 เมตร
  • พ.ศ. 2541 สร้างศาลาธรรมสังเวช [ ศาลาไม้สัก] แบบทรงไทย ขนาด 19 คูณ 31 เมตร และสร้างฌาปนกิจสถาน [เตาคู่] ขนาด 9 คูณ 13 เมตร
  • พ.ศ. 2542 สร้างโรงทาน ขนาด 29 คูณ 21 เมตร พร้อมถังเก็บน้ำฝน ขนาด 30,000 ลิตร และพร้อมสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อพรหม ถาวโร
  • พ.ศ. 2544 สร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก

หน้าตักกว้าง 29 ศอก บนหน้าถ้ำหลวงพ่อพรหม

  • พ.ศ. 2545 สร้างห้องน้ำ ห้องสุขา ขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร จำนวน 13 ห้อง

ทำเนียบเจ้าอาวาส[แก้]

วัดช่องแคมีเจ้าอาวาส 3 รูป ดังนี้:

พ.ศ. 2460 - ลาออก พ.ศ. 2514

  • เจ้าอาวาสรูปที่ 2 พระครูนิวิฐธรรมวัตร (แบ็ง ธมฺมวโร) พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2526
  • เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระครูนิวิฐปัญญากร (สมศักดิ์ ปญฺญาสิริ) พ.ศ. 2526 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. วัดช่องแค แหล่งที่มา.https://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84--4518
  2. หนังสือ ประวัติวัดช่องแค,จัดพิมพ์โดยวัดช่องแค,2549,หน้า 5.
  3. หนังสือ ประวัติวัดช่องแค,จัดพิมพ์โดยวัดช่องแค,2549,หน้า 5.
  4. หนังสือ ประวัติวัดช่องแค,จัดพิมพ์โดยวัดช่องแค,2549,หน้า 5.