วัดชาวเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดชาวเหนือ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดชาวเหนือ
ที่ตั้งตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูปลัดศุภชัย ขนฺติโก
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดชาวเหนือ เป็นวัดในพระพุทธศาสนา สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นวัดที่มีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธในบริเวณตำบลบ้านไร่

ประวัติวัดชาวเหนือ[แก้]

จากคำบอกเล่าของผู้หลักผู้ใหญ่ สืบทอดกันมาว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดศึกสงคราม จะชาวบ้านทุกหัวเมืองได้รวมตัวกัน ทำศึกสงครามเพื่อ ปกป้องบ้านเมือง รวมทั้งชาวบ้านจาก หัวเมืองภาคเหนือด้วย เมื่อสงครามสงบชาวบ้านจากภาคเหนือ ก็เดินทางกลับบ้าน ขณะแวะพักที่ริมหนองน้ำระหว่างทาง ได้สังเกตบริเวณที่พักนั้นเป็นบริเวณที่มีความสมบูรณ์ ทั้งพืชพันธ์ธัญญาหาร จึงได้ตั้ง “ปะลาม” (โรงที่พักชั่วคราวขึ้น) และได้อยู่อาศัยเรื่อยมา โดยเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “ปะลาม”มาจนถึงทุกวันนี้ และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร และน้ำ ทำให้เกิดชุมชนขึ้น เรียกว่า “คลองอ้ายลาว” สันนิษฐานว่าน่าจะมีคนทางภาคอีสานมาอาศัยอยู่ด้วย และที่อยู่อาศัยเป็นลำคลอง จึงเรียกว่า “คลองอ้ายลาว” มาจนถึงทุกวันนี้ จึงได้เกิดเป็นชุมชนขึ้น

สมัยนั้นชุมชนแห่งนี้มีวัดเก่าที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดคุณตา” เพราะว่ามีพระหลวงตา จำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว วัดนี้อยู่ที่ลุ่ม มีน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ชาวบ้านจึงเห็นสมควรจะย้ายวัดไปอยู่อีกฝั่งคลองหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับวัดคุณตา โดยสร้างวัดขึ้นมาใหม่ แต่วัดที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า “วัดชาวเหนือ” ด้วยเหตุว่า ชาวบ้านที่ช่วยกันสร้างวัดนี้เป็นชาวภาคเหนือ

หลวงพ่อหวล ขนฺติสาโร ผู้บูรณปฏิสังขรณ์วัดชาวเหนือ บอกว่าแต่เดิม วัดนี้ มีเพียง อุโบสถเก่าหนึ่งหลัง ศาลาการเปรียญหลังเก่า และหอสวดมนต์ ซึ่งไม่พบหลักฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด สำหรับอุโบสถหลังใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2491 และสร้างเสร็จสมบูรณ์และ ปิดทองผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2493 พร้อมกับตั้งชื่อใหม่ว่า (วัดอุดรราษฎร์สัทธาราม) (อุดร=เหนือ) เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวเหนือที่ร่วมกันสร้างวัดนี้ขึ้น แต่ชาวบ้านยังคงเรียกว่า “วัดชาวเหนือ” เหมือนเดิม

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดชาวเหนือ[แก้]

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้มีเจ้าอาวาส 10 รูป คือ

  • 1. หลวงปู่ทองพูน
  • 2. พระอาจารย์เจิม
  • 3. พระอาจารย์ เป้า
  • 4. พระอาจารย์เช้า
  • 5. พระอาจารย์วุ่น
  • 6. พระอาจารย์คล้อย
  • 7. พระอาจารย์ทุ่น
  • 8. พระครูวิชัยศีลคุณ (อาจารย์ครุฑ)
  • 9. พระครูสุภัทราจารย์ (อาจารย์ทับ ปภทฺโท)
  • 10. พระครูปลัดคณานุวัตร ดร. (ศุภชัย ขนฺติโก) (องค์ปัจจุบัน)

(ส่วน หลวงพ่อหวล ขนฺติสาโร เป็นประธานคณะสงฆ์วัดชาวเหนือ)

ศาสนาสถานในวัด[แก้]

  • อุโบสถวัดชาวเหนือ (หลังเดิม)

แต่เดิมอุโบสถมีรูปลักษณะใดไม่มีหลักฐาน ในสมัยพระอาจารย์คล้อย ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 2489 และสร้างแล้วเสร็จและปิดทอง ผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยมี หลวงพ่อเชย วัดตาลบำรุงกิจเป็นประธาน

ลักษณะของอุโบสถเป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้ มุงกระเบื้องลดขึ้น 2 ชั้น ซ้อนกันชั้นละสองตับ และมีมุขลดทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละหนึ่งห้อง โดยมีเสาสี่เหลี่ยมสี่ต้น รองรับโครงหลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างมีชายคาปีกนกคลุม มีเสาธงเรียงสี่เหลี่ยมรองรับด้านหน้าด้านละแปดต้น ช่อฟ้า ใบระกา ปูนปั้น ประดับกระเบื้องเคลือบ หน้าบันไดด้านหน้าเป็นปูนปั้น พุทธประวัติตอนบรรพชาทรงอธิษฐานตัดพระโมลี และลายไทยปูนปั้น หน้าบันไดด้านหลังเป็นรูปพุทธประวัติตอนเสด็จออกบรรพชา และลายนาคขด ฐานอุโบสถยกพื้นเป็นสองชั้น ชั้นแรกเป็นแนวเดียวกับกำแพงแก้ว ชั้นที่สองรองรับเสาธงเรียงรับชายคาตั้งซุ้มใบเสมาเป็นก่ออิฐถือปูน ย่อมุงสองซุ้ม และซุ้มใบเสมาเป็นการก่ออิฐถือปูน ทรงโค้งหกซุ้ม ผนังด้านหน้าและด้านหลังก่ออิฐถือปูนมีประตูด้านละสองประตู ด้านหนึ่งมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติ อยู่ในซุ้มปิดกระจกสี ด้านหลังมีพระพุทธรูปปางรำพึงอยูในซุ้มประดับกระจกสี (ศาลาแลง) ก่อนเข้าอุโบสถมีบันใดขึ้นอีกสามขั้น บานประตูหน้าต่างเป็นไม้แดงพื้นเรียบทาน้ำมัน ผนังภายในอุโบสถเขียนรูปพุทธประวัติตอนสำคัญตั้งแต่ปรินิพพาน และทศชาติและเทพทวารชายหญิง หน้าต่างห้าบานภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน สำเร็จจากศิลาแลงประทับนั่งปางมารวิชัย และมีพระพุทธรูปประทับนั่งในปางต่างๆ อีก สิบองค์ ด้านซ้ายขวามีพระอัครสาวกยืนพนมมือฐานพระประธานประดับกระจกสีต่างๆ

  • ศาลาหลวงพ่อหวล เป็นศาลาที่มียอดเป็นพระปราง 5 ยอด อยู่บนหลังคาของศาลา เป็นศาลาไม้ด้านบน เป็นคอนกรีตด้านล่าง เป็นศาลาที่ใหญ่ประชาชนทั่วผ่านไปมาก็จะมองเห็นได้ชัดเจนได้จากระยะไกล
  • กุฎิสงฆ์
  • ศาลาการเปรียญ
  • ศาลาอเนกประสงค์
  • ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง
  • หอพระปริยัติธรรม จำนวน 1 หลัง
  • โรงครัว
  • ห้องน้ำ-ห้องสุขา
  • กำแพงวัดบริเวณรอบทั้งวัด
  • ซุ้มทางเข้าวัด จำนวน 2 ซุ้ม
  • หอระฆัง (ข้อมูลเพิ่มเติม จากพระครูปลัดคณานุวัตร ดร. (ศุภชัย ขนฺติโก)เจ้าอาวาสวัดชาวเหนือรูปปัจจุบัน)

กิจกรรมในวัดชาวเหนือ[แก้]

กิจกรรมที่โดดเด่นของวัดชาวเหนือนั้น กิจกรรมหลัก ๆ มีดังนี้

  • กิจกรรมทำบุญตักบาตรปีใหม่ประจำทุกปี
  • กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น
  • กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ วัน 12 สิงหามหาราชินี และวัน 5 ธันวามหาราช ประจำทุกปี
  • บวชเนกขัมมะ ประจำปี
  • ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ประจำวันพระ 8 14 และ 15 ค่ำ ตลอดทั้งปี
  • เทศกาลวันลอยกระทง

อ้างอิง[แก้]