วัดชัยมงคล (จังหวัดพิจิตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดชัยมงคล
แผนที่
ที่ตั้งตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดชัยมงคล เลขที่ 332 ถนนประเวศน์ ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2479 เป็นที่ธรณีสงฆ์ 14 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา สังกัดมหานิกาย เขตปกครองคณะสงฆ์ ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ภาค 4

ประวัติ[แก้]

วัดชัยมงคล เดิมเขียนว่า วัดไชยมงคล ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ( นวม พุทธสร ) วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก นามวัดใหม่นี้ว่า วัดชัยมงคล

ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ[แก้]

ไม่มีปูชนียวัตถุ และโบราณวัตถุอันสำคัญทางประวัติศาสตร์

วัดชัยมงคลเป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467พุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ได้ร่วมแรงร่วมใจสละทรัพย์สร้างวัดและอุโบสถให้พระสงฆ์และประชาชนได้ใช้ประกอบศาสนพิธีของชาวพุทธ

พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2500 สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงเรียนโพธิรักษ์พิทยาคาร สร้างกุฏิ รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และผูกพัทธสีมา สร้างกุฏิ “ โพธิสมบัติ “ ต่อเติมอุโบสถ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จันทรมณี สร้างเสริมโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยสร้างใหม่ทั้งหมด

สร้างกุฏิ ทางวัดได้ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ สร้างสะพานใหม่โดยใช้เสาคอนกรีต รอด ตง พื้นเป็นไม้ สร้างกุฏิรับรองสงฆ์ พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2510 สร้างกุฏิไม้ “ สว่างผล “ และกุฏิ “ บุญเครือชู “ สร้างศาลากรรมฐาน สร้างเมรุเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างหอสวดมนต์ต์ต์ ทรงไทยมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เสาท่อนล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างศาลา เพชรสว่างภู่สวรรค์

พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2533 สร้างกุฏิ พฤกษะวันหัตถมารถ สร้างกุฏิตึก ร่วมใจญาติติอุทิศสร้าง ปฏิสังขรณ์กุฏิทรงไทย สร้างกุฏิทรงไทย “วิทยาประสาธน์โพธิรักษ์ สร้างกุฏิทรงไทย สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ใช้ชื่อว่า “ ศาลาชัยมงคล “สร้างกุฏิทรงไทย สุขสันติโพธิสมบัติ สร้างกุฏิทรงไทย “บุพพการิยานุสรณ์” ครึ่งตึกครึ่งไม้ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กผ่านหน้ากุฏิ “สุขสันติโพธิสมบัติ“ และกุฏิ“สุขสวัสดิ์-พิเศษธรรมนิวิษฐ์ สร้างชานรอบเมรุ

สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผ่านหน้ากุฏิโพธิสมบัติปัจจุบันเป็นศาลาอเนกประสงค์ กุฏิธรรมโชติ และโรงเรียนโพธิรักษ์พิทยาคาร“ สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผ่านหน้ากุฏิ“บุพการิยานุสรณ์“ สร้างกุฏิหลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต ลักษณะทรงไทยประยุกต์ชั้นเดียวสร้างห้องเก็บเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กผ่านหน้ากุฏิหลวงพ่อเขียน ธมฺมรกฺขิโต และโรงเรียนปริยัติธรรม“จันทรมณี“ สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก เชื่อมระหว่างสะพานหน้าวัดกับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต่อระเบียง[[กุฏิอาวาส]ทำการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถ โดยทำการรื้อเครื่องบนทั้งหมด สร้างหอระฆัง บูรณะซ่อมแซมกุฏิ “สุขสถิตย์อเนกประโยชน์สร้างกุฏิ “โพธิ-บุญ-สว่าง ร้างศาลาเอนกประสงค์ทำการเปลี่ยนสายไฟฟ้าภายในบริเวณวัด สร้างกุฏิ สุขรุ่งโรจน์สถาพร ทำการขยายสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก

อ้างอิง[แก้]