วัดกลาง (จังหวัดกาฬสินธุ์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดกลาง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดกลาง
ที่ตั้งตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท (มหานิกาย)
เจ้าอาวาสพระเมธีวัชราจารย์ (วรวิทย์ ธมฺมจาโร) (เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์)
ความพิเศษสำนักเรียนพระปริยัติธรรม- แผนกบาลีประจำจังหวัด และเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ[1] ตั้งอยู่เลขที่ 47 ถนนกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2387 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2480 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 7 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา เป็นวัดที่มีเฉพาะพื้นที่ตั้งวัดเท่านั้น ไม่มีธรณีสงฆ์ หรือ กัลปนา โดยประดิษฐานพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือหลวงพ่อองค์ดำ

ประวัติ[แก้]

ตามทะเบียนวัดของคณะกรรมการสงฆ์อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ บันทึกไว้ว่า วัดกลางสร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับผู้สร้างและเจ้าอาวาสรูปแรก วัดกลางมีความเจริญรุ่งเรืองบ้าง ตกต่ำบ้างผลัดเปลี่ยนกันตามยุคตามสมัย ครั้งถึงในสมัย พระครูกาฬสินธวาจารย์ทิสังฆปาโมกข์ (อ้ม) และพระครูกาฬสินธวาจารย์ (ติ่ง) เป็นเจ้าอาวาส ก็เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จนถึงสมัยพระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) เจ้าอาวาสรูปก่อน ได้จัดการพัฒนาวัดทั้งด้านวัตถุ การศึกษา และการปฏิบัติธรรมรุดหน้ามาโดยตลอด มีเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างถาวรมาตรฐานและถูกต้องตามแบบศิลปะของไทย ที่สวยงามมาก ภายในวัดสะอาดร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติศาสนกิจ เป็นวัดตัวอย่างของบรรดาวัดทั้งหลายที่มีในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการศึกษาทั้งคดีโลกและคดีธรรมเหมาะสมกับสมัยนิยม ได้รับการยกย่องจากประชาชนตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงสมัยพระเทพปัญญาเมธี

ถาวรวัตถุ-ปูชนียวัตถุ[แก้]

ถาวรวัตถุ[แก้]

  • พระอุโบสถ 1 หลัง
  • พระวิหารพระพุทธสัมฤทธิ์ หลังเก่า 1 หลัง
  • พระวิหารพระพุทธสัมฤทธิ์ หลังใหม่ 1 หลัง
  • ศาลาการเปรียญ (กุฏิเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์) 1 หลัง
  • ศาลาบำเพ็ญบุญใหม่ 1 หลัง
  • อาคารหอพิพิธภัณฑ์ 1 หลัง
  • กุฏิสงฆ์ 4 หลัง
  • โรงเรียนปริยัติธรรม
  • หอระฆัง 1 หลัง
  • สำนักงานพุทธสมาคมจังหวัดกาฬสินธุ์ 1 หลัง
  • โรงเก็บเรือซวง (เรือแข่ง)
  • ห้องสุขามาตรฐานทั่วไป 2 หลัง

ปูชนียวัตถุ[แก้]

  • พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ 1 องค์
  • พระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย (หลวงพ่อองค์ดำ พระมิ่งบ้านมิ่งเมือง) 1 องค์
  • รอยพระพุทธบาทจำลองโบราณ 1 องค์
  • พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ขนาดต่าง ๆ ประมาณ 100 องค์
  • รูปเจ้าแม่กวนอิม 1 องค์

อ้างอิง[แก้]

  1. แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ยกวกราษฎร์เป็นพระอารามหลวงเล่ม ๙๕ ตอน ๖๙ ง ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ หน้า ๒๒๓๔