วณิพก (อัลบั้ม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วณิพก
ปกแผ่นเสียงอัลบั้ม วณิพก
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดมีนาคม พ.ศ. 2526
บันทึกเสียงห้องบันทึกเสียงศรีสยาม
ห้องบันทึกเสียงอโซน่า
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต , สามช่า , ร็อค , ลูกทุ่ง
ความยาว42:26
ค่ายเพลงอโซน่า
โปรดิวเซอร์สุรัตน์ แก้วสกุล และ พรรคพวก
(ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม)
สัมพันธ์ บัวผดุง
(ห้องบันทึกเสียงอโซน่า)
ลำดับอัลบั้มของคาราบาว
แป๊ะขายขวด
(2525)แป๊ะขายขวด2525
วณิพก
(2526)
ท.ทหารอดทน
(2526)ท.ทหารอดทน2526

วณิพก เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ของวงคาราบาว ออกจำหน่ายเดือน มีนาคม พ.ศ. 2526 โดยสมาชิกวงในชุดนี้ได้แก่ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล , เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร และเล็ก - ปรีชา ชนะภัย นอกจากนี้ยังได้เชิญ หมู - พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ และ วงเพรสซิเดนท์ มาเล่นดนตรีบันทึกเสียงเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบของวงสตริง โดยเป็นอัลบั้มชุดแรกที่ใช้ตราสัญลักษณ์ประจำวงรูปหัวควายที่มีรูปนกหันไปทางขวา ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน (หลังจากที่ชุดที่ 2 ได้เริ่มใช้รูปหัวควายแต่กลับด้านโดยนกสีแดงหันไปทางซ้าย) และเป็นอัลบั้มชุดแรกที่มีชื่อเพลงเป็นภาษาต่างประเทศ คือ Summer Hill แต่เนื้อร้องเกือบทั้งหมดเป็นภาษาไทย

อัลบั้มชุดนี้ส่งผลให้คาราบาวเป็นที่รู้จักในหมู่คนฟังอย่างกว้างขวาง โดยเพลงที่โด่งดังที่สุด ได้แก่ วณิพก โดยทำดนตรีเป็นจังหวะ สามช่า ซึ่งผสมผสานดนตรีแนว ช่า ช่า ช่า จากลาตินอเมริกาเข้ากับดนตรีรำวงของไทยอย่างลงตัว อีกทั้งเนื้อหาของเพลงที่เข้าถึงจิตใจของคนฟังได้เป็นอย่างดี บทเพลงของคาราบาวจึงมีเอกลักษณ์สะท้อนภาพของสังคมไทยเข้ากับความสนุกสนานของดนตรี และ บทเพลงนี้ยังสามารถแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในดิสโก้เธค ซึ่งไม่มีเพลงเพื่อชีวิตเพลงใดเปิดแผ่นมาก่อน ทำให้เพลงจังหวะสามช่ากลับมาคึกคัก เพราะหลังจากนั้นคาราบาวก็ได้นำเพลงนี้มาร้องบันทึกเสียงอยู่บ่อย ๆ และได้มีศิลปินท่านอื่น ๆ นำเพลงนี้ไปร้องต่อในสตูดิโออัลบั้มของตัวเองอีกด้วย เช่น มัม ลาโคนิคส์ , ทีโบน ในอัลบั้มของพวกเขา เป็นต้น[1] รวมุถึงมีการนำทำนองของเพลงนี้ไปปรับใช้ในเพลงของตนเอง เช่น อู๋ เสรีชน ที่นำทำนองของเพลงนี้ไปปรับใช้กับเพลง เมืองถูกเผาเราถูกฆ่า ซึ่งขับร้องโดยนาย จตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งเนื้อร้องก็มีเนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553

นอกจากนี้ บทเพลงอื่นๆ ในอัลบั้มก็ได้มีการร้องและทำดนตรีขึ้นใหม่ในภายหลัง อาทิเพลง ไม้ไผ่ ซึ่งร้องโดย ต้อย - เศรษฐา ศิระฉายา อดีตนักร้องนำวง ดิ อิมพอสซิเบิ้ล รวมถึงเพลง จับกัง ซึ่งร้องโดย อานนท์ สายแสงจันทร์ หรือ ปู แบล็คเฮด ในอัลบั้มพิเศษ มนต์เพลงคาราบาว 25 ปี ในปี พ.ศ. 2550 และเพลง ดอกจาน ที่ดนตรีออกไปทางแนวลูกทุ่งอย่างเด่นชัด โดยแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ก็เคยนำมาร้องอีกครั้งในอัลบั้มเดี่ยวชุดพิเศษองเขา ก้นบึ้ง ในปี พ.ศ. 2533

ในปี 2546 งานเพลงชุดนี้ถูกนำมาปรับปรุงคุณภาพเสียงด้วยระบบดิจิตอล และ วางจำหน่ายอีกครั้งโดย วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์

รายชื่อเพลง[แก้]

ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."วณิพก"ยืนยง โอภากุล4.45
2."ถึกควายทุย (ภาค 3)"ยืนยง โอภากุล , กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร , ปรีชา ชนะภัย3.50
3."หรอย"ยืนยง โอภากุล4.43
4."ไม้ไผ่"ยืนยง โอภากุล3.59
5."ดอกจาน"สำรอง อนันต์ทัศน์3.49
6."บวชหน้าไฟ"ยืนยง โอภากุล5.57
7."Summer Hill"ยืนยง โอภากุล5.04
8."หัวลำโพง"คุณรุ่ง (ไม่ทราบชื่อ - นามสกุล)2.27
9."จับกัง"ประทีป ชนะภัย (พี่ชายของเล็ก คาราบาว)2.26
10."ล้อเกวียน"สีสัน ควงตะคองหลง5.26
ความยาวทั้งหมด:42:26

นักดนตรีในอัลบั้ม[แก้]

คาราบาว
เพรสซิเดนท์ (แบ็คอัพ)
นักดนตรีอื่นๆ

เครดิต[แก้]

คำร้อง-ทำนอง

  • วณิพก , ไม้ไผ่ , บวชหน้าไฟ , SUMMER HILL , หรอย โดย แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล
  • ดอกจาน โดย สำรอง อนันตทัศน์ (สีเผือก คนด่านเกวียน)
  • หัวลำโพง โดย คุณรุ่ง
  • จับกัง โดย ประทีป ชนะภัย (พี่ชายของเล็ก คาราบาว)
  • ล้อเกวียน โดย สีสัน ควงตะคองหลง
  • ถึกควายทุย ภาค 3 โดย เล็ก - ปรีชา ชนะภัย , แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล , เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร

เรียบเรียงเสียงประสาน

  • แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล , เล็ก - ปรีชา ชนะภัย , เขียว - กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร

ผู้ร่วมงาน

  • มานพ รัตนพันธากุล ฝ่ายศิลป์ประจำ คาราบาว
  • โกวิท ธีระกุล ผู้ให้คำท้องถิ่นภาคใต้เพลง หรอย
  • วงโคบาล ผู้ให้คำผญาภาคอีสานเพลง SUMMER HILL

การจัดจำหน่าย[แก้]

ปี ค่าย รูปแบบ
พ.ศ. 2526 อโซน่า แผ่นเสียง
เทปคาสเซตต์
พ.ศ. 2540 กระบือ แอนด์ โค แผ่นซีดี
เทปคาสเซตต์
พ.ศ. 2546 วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ แผ่นซีดี
(ปกครบรอบ 20 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2554 แผ่นซีดี
(ปกครบรอบ 30 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2555 แผ่นเสียง (Remaster)
พ.ศ. 2556 แผ่นซีดี (Remaster)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]