อินทนิล (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วงอินทนิล (วงดนตรี))
อินทนิล
ปกแผ่นเสียง อัลบั้มชุดแรกของวงอินทนิล
จุดกำเนิดของค่ายเพลงอาร์เอส
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงสตริงคอมโบ
ป็อป
ลูกทุ่ง
ช่วงปีพ.ศ. 2523 - 2528
ค่ายเพลงอาร์.เอส.โปรโมชั่น
สมาชิกเรวัติ สระแก้ว
พีระพงษ์ พลชนะ
ชำนาญ อัญญธนา
สมชาย เสนะบุตร
เกรียงศักดิ์ จงธีระธรรม
ธีระศักดิ์ วดีศิริศักดิ์
อดีตสมาชิกทวี ศรีประดิษฐ์
อนุชา มานพ
อดิศักดิ์ ศรีฉัตร
ธีรวุฒิ อิ่มเจริญ
นิมิตร ณ ตะกั่วทุ่ง
วิภักดิ์ มาลากุล ณ อยุธยา
วิเชียร ว่องคงตาทอง

อินทนิล (อังกฤษ: Inthanin) คือชื่อวงดนตรีวงแรกของค่ายอาร์เอส ซาวด์หรืออาร์เอสในปัจจุบัน เป็นวงดนตรีสตริงวัยรุ่นซึ่งออกอัลบั้มแรกในปี พ.ศ. 2524 แต่แล้วได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เมื่อทางวงได้ประกาศยุบวงในปี พ.ศ. 2528 และสมาชิกบางส่วนของวงอินทนิลได้แยกออกมาตั้งวงเรนโบว์ ขึ้นในปีนั้น[1]

วงอินทนิลเริ่มขึ้นจากการรวบรวมเพื่อน ๆ ของอนุชา มานพ หัวหน้าวง มือกีตาร์ นักร้องนำ และเป็นผู้ตั้งชื่อวงนี้เอง สมาชิกในวงส่วนใหญ่เป็นชาวอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

ประวัติ[แก้]

สมาชิกวงอินทนิลเริ่มแรก[แก้]

  1. อนุชา มานพ (อู๊ด) ตำแหน่ง กีตาร์คอร์ด ร้องนำ หัวหน้าวง
  2. ชำนาญ อัญญธนา (โค้ก) ตำแหน่ง กีตาร์ลีด ร้องประสาน (แต่งเพลง สวรรค์เป็นใจ) .... เสียชีวิต 7ธค.2565
  3. ธีรวุฒิ อิ่มเจริญ หรือ วุฒิไกร อิ่มเจริญ (วุฒิ) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด (ร้องนำเพลง สวรรค์เป็นใจ)
  4. อดิศักดิ์ ศรีฉัตร (อ๋อ) ตำแหน่ง เบส
  5. มนูญ กำลังยิ่ง (น้อย) ตำแหน่ง กลอง
  6. กิติพงษ์ พฤษเจริญ (ต้อม) ตำแหน่ง กีตาร์โปร่ง
  7. วิภักดิ์ มาลากุล ณ อยุธยา ตำแหน่ง กลอง
  8. วิเชียร ว่องคงตาทอง ตำแหน่ง คีย์บอร์ด

โดยสมาชิกทั้งหมดเป็นคนประจันตคาม ยกเว้น วุฒิ เป็นคนกรุงเทพมหานคร อินทนิลเริ่มซ้อมและรวบรวมวงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2524 ได้ออกอัลบั้มชุดแรก "รักเพียงเธอ" ในนามบริษัท อาร์เอส ซาวด์ ซึ่งเปลี่ยนจาก "เทปตราดอกกุหลาบ" หรือ "โรสซาวด์"

วงอินทนิล เป็นวงแรกของ อาร์เอส ซาวด์ ซึ่งเกิดจากการชักนำของ นายไพบูลย์ ภักดีพินิจ นักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น [2]

เพลง "มหา'ลัยไหนดี" ในอัลบั้มชุดแรก ประสบความสำเร็จพอสมควร จึงได้ออกชุดที่ 2 "เที่ยวเขาใหญ่" ซึ่งมีเพลง "น้องแว่น , เที่ยวเขาใหญ่" ก็ประสบความสำเร็จอีก ทางผู้จัดการวงจึงได้หาสมาชิกมาเพิ่ม ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกับมือกลอง (มนูญ) ขอลาออกด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ และมือกีตาร์ (กิติพงษ์) ลาออกด้วยเช่นกัน สมาชิกที่เพิ่มมีดังนี้

  1. วิภักดิ์ มาลากุล ณ อยุธยา ตำแหน่ง กลอง (เฉพาะชุดที่ 2)
  2. วิเชียร ว่องคงตาทอง ตำแหน่ง คีย์บอร์ด (เฉพาะชุดที่ 2)
  3. ทวี ศรีประดิษฐ์ (อ๊อด) ตำแหน่ง กลอง คีย์บอร์ด และเป็นหัวหน้าวงแทน (ตั้งแต่ชุดที่ 3 และปัจจุบันทวี ศรีประดิษฐ์ เสียชีวิตแล้ว)
  4. นิมิตร ณ ตะกั่วทุ่ง (ขวัญ) ตำแหน่ง เปียโน (เฉพาะชุดที่ 2)

สมาชิกวงอินทนิลยุคหลัง[แก้]

อินทนิลออกอัลบั้มชุดที่ 3 หลังจากได้สมาชิกใหม่มาเพิ่ม คือชุด "เพียงฝัน" ซึ่งมีเพลง "เพียงฝัน , สวรรค์เป็นใจ" โดยเฉพาะเพลง สวรรค์เป็นใจ เป็นที่รู้จักอย่างมาก ทำให้วงมีชื่อเสียงขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถึงจุดสูงสุดของวงอินทนิล [2] มีงานคอนเสิร์ตมากเกือบทั่วประเทศ แต่ขณะที่อัลบั้มกำลังวางแผง ได้มีการนำ เกรียงศักดิ์ จงธีระธรรม (โหนก) มือกลองวงดิ อินโนเซ้นท์ เข้ามาร่วมวงอีกคน จากนั้นจึงได้ทำอัลบั้มชุดที่ 4 "ขอรัก..อีกครั้ง" โดยเพิ่มสมาชิกใหม่อีก 4 คน คือ

  1. พีระพงษ์ พลชนะ (ต้อม) ตำแหน่ง กีตาร์ ร้องนำ
  2. สมชาย เสนะบุตร (ชาย) ตำแหน่ง เบส ร้องนำ
  3. เรวัติ สระแก้ว (ป๋อง) ตำแหน่ง กีตาร์ คีย์บอร์ด ร้องนำ
  4. ธีระศักดิ์ วดีศิริศักดิ์ (อุ๋น) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด

หลังจากบันทีกเสียงที่ห้องอัดศรีสยามเกือบครบทั้งอัลบั้มชุดที่ 4 ได้เกิดปัญหาขึ้นในวง จนได้มีการระงับการทำงานและอัดเสียงทั้งหมดใหม่ โดยไม่ใช้สมาชิกวงอินทนิลเดิม แต่วางขายในชื่อวงอินทนิล อีก 1 ชุด[ต้องการอ้างอิง]

วงอินทนิลประกาศยุบวงในปี พ.ศ. 2528 แต่ไม่ได้สลายตัว สมาชิกที่เหลืออยู่ อันได้แก่ ทวี พีระพงษ์ เรวัติ และ ธีระศักดิ์ จึงเปลี่ยนชื่อวงเป็น "เรนโบว์" ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงจากบทเพลง "ความในใจ" จนเชื่อว่าสามารถทำยอดขายได้เกินล้านตลับ [1]

ผลงานอัลบั้ม[แก้]

ชุด รักเพียงเธอ (พ.ศ. 2524)

  1. มหา'ลัยไหนดี
  2. รักเพียงเธอ
  3. ที่รักจงคืนมา
  4. สองปี 4-5
  5. เด็กเทคนิค
  6. ไม่ง้ออีกต่อไป
  7. รักจริงคือแม่
  8. มิกล้าเอ่ยรัก
  9. ซึ้งใจผู้หญิง
  10. อภันตรีที่รัก

ชุด เที่ยวเขาใหญ่ (พ.ศ. 2525)

  1. เที่ยวเขาใหญ่
  2. จั๊กจี้หัวใจ
  3. น้องแว่น
  4. นางฟ้าเจ้าเสน่ห์
  5. สุราษฎร์ธานี
  6. ไหงเป็นงั้นไป
  7. รักก็บอกว่ารัก
  8. คอ-รอ-อู ครู
  9. รอจนสิ้นใจ
  10. อินทนิล

ชุด เพียงฝัน (พ.ศ. 2526)

  1. เพียงฝัน
  2. แรกรัก
  3. ดอกไม้
  4. ใจเหงา
  5. รักเจ้า 99%
  6. ล่องแม่กก
  7. สวรรค์เป็นใจ
  8. เมาความสวย
  9. ใจไม่ถึง
  10. ใจถลำ

ชุด ขอรัก..อีกครั้ง (พ.ศ. 2527)

  1. ขอรัก..อีกครั้ง
  2. รอคอย
  3. เฝ้าคิด เฝ้าฝัน
  4. ห่างไกลใจเธอ
  5. แหวนรัก
  6. KITA SAKABA
  7. ฟ้าละเมอ
  8. สิ้นรัก
  9. สำคัญที่ใจ
  10. สองเรา
  11. สิ้นสวาท
  12. SEI SHUN

|}

ดูเพิ่ม[แก้]

http://www.oknation.net/blog/kilroy/2008/10/01/entry-6

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ศิลปินคนแรกของค่ายอาร์เอส : วงอินทนิล
  2. 2.0 2.1 หมูสีชมพู, บันทึกการเปลี่ยนแปลง อินทนิล, นิตยสาร มิวสิกซีนีม่า ฉบับที่ 5 สิงหาคม 2527, หน้า 27-29