วงศ์ปลาแพะ (ปลาทะเล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์ปลาแพะ
ภาพวาดปลาแพะเหลือง (Upeneus sulphureus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Percoidei
วงศ์: Mullidae
สกุล

วงศ์ปลาแพะ หรือ วงศ์ปลาหนวดฤๅษี (Mullidae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mullidae

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีเกล็ดขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นแบบสากเล็กน้อย ส่วนหัวมีเกล็ด ครีบหลังมีสองตอน ตอนแรกมีก้านครีบแข็ง 6-8 ก้าน ครีบ มีครีบหางแบบเว้าลึก ใต้คางมีหนวด 1 คู่ ที่ไวต่อความรู้สึก ใช้สำหรับคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามหน้าดิน เช่น พื้นทราย ซึ่งดูแล้วเหมือนหนวดเคราของแพะ อันเป็นที่มาของชื่อ[1]

พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งและแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรอินเดีย โดยอยู่รวมกันเป็นฝูง

แบ่งออกได้เป็น 6 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 55 ชนิด[2] ในน่านน้ำไทยพบได้หลายชนิด อาทิ ปลาแพะเหลืองทอง (Parupeneus heptacanthus), ปลาแพะลาย (Upeneus tragula), ปลาแพะเหลือง (U. sulphureus), ปลาแพะขนุน (Mulloidichthys flavolineatus) เป็นต้น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "มีนวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-03-05.
  2. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  3. ระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรทางทะเล ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา กลุ่มทรัพยากร : ปลา [ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]