ลูโซโฟนีเกมส์ 2006

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแข่งขันกีฬาลูโซโฟนีเกมส์ครั้งที่ 1
เมืองเจ้าภาพ มาเก๊า
จำนวนประเทศ11 ประเทศ
จำนวนนักกีฬา733
ประเภทกีฬา48 รายการใน 8 ชนิดกีฬา
พิธีเปิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2549
พิธีปิด15 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ประธานพิธีเอดมันด์ โฮ (พิธีเปิด)
ฟือร์นังดู ชุย (พิธีปิด)
สนามกีฬาหลักสนามกีฬามาเก๊า

ลูโซโฟนีเกมส์ ครั้งที่ 1 (โปรตุเกส: I Jogos da Lusofonia, จีน: 2006年葡語系運動會) หรือ Macau 2006 เป็นการจัดการแข่งขันครั้งแรกของกีฬาลูโซโฟนีเกมส์ โดยจัดขึ้นที่เขตบริหารพิเศษมาเก๊าของประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 7 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มีนักกีฬาเข้าร่วมมหกรรมครั้งนี้มากกว่า 700 คน (รวมถึง ฟือร์นังดา รีเบย์รู (Fernanda Ribeiro) แชมป์โอลิมปิกชาวโปรตุเกส) ซึ่งมีการแข่งขันในกีฬาแปดรายการ[1] มีการจัดการแข่งขันในหลายสนาม โดยสนามกีฬามาเก๊า[1] เป็นสนามหลักซึ่งเจ้าภาพใช้ในพิธีเปิด, แข่งขันกีฬาฟุตบอลและกรีฑา ซึ่งมีความจุ 16,000 คน งานในครั้งนี้จัดโดย สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศผู้ใช้ภาษาโปรตุเกส (Associação dos Comités Olímpicos de Língua Oficial Portuguesa, ACOLOP) โดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดงานเท่ากับ 167 ล้านปาตากามาเก๊า[2]

คำขวัญของเกมคือ "สี่ทวีป หนึ่งภาษา รวมเป็นหนึ่งด้วยกีฬา" มาสคอตเป็นรูปสุนัข สัญลักษณ์ของปีนักษัตรจีน เรียกว่าลีโอ ชื่อ "Leo" ได้รับเลือกเพราะมีการออกเสียงคล้ายกันในภาษาโปรตุเกส, จีนกลาง และในภาษากวางตุ้ง (จีน: 來澳; พินอิน: lái ào; ยฺหวิดเพ็ง: loi4 ou3) คล้ายกับวลี "ยินดีต้อนรับสู่มาเก๊า"[3][4]

12 ประเทศและดินแดนได้รับเชิญให้เข้าร่วมแข่งขัน อย่างไรก็ตาม อิเควทอเรียลกินี (ซึ่งยืนยันว่าจะส่งนักกีฬา 23 คนเข้าร่วม) ได้ยกเลิกการเข้าร่วมการแข่งขัน[2] คณะผู้แทนที่ใหญ่ที่สุดคือเจ้าภาพมาเก๊า โดยมีนักกีฬา 155 คน รองลงมาคือโปรตุเกส (140 คน)[2] บราซิลเป็นแชมป์เหรียญรางวัลรวมของเกม โดยมี 29 เหรียญทอง[5]

เหตุการณ์เด่นของการแข่งขันคือชัยชนะของบราซิลต่อติมอร์-เลสเตในการแข่งขันฟุตซอลรอบที่สี่ ด้วยสกอร์ 76–0 ถือเป็นประวัติศาสตร์หนึ่งของกีฬาฟุตซอล[6]

ประเทศที่เข้าร่วม (สีม่วง) และเมืองเจ้าภาพ (สี่เหลี่ยมสีเหลือง)

ชนิดกีฬา[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน[แก้]

อิเควทอเรียลกินี ประเทศอิเควทอเรียลกินีถูกคัดออกจากการแข่งขัน

ตารางสรุปเหรียญ[แก้]

      เจ้าภาพ (มาเก๊า)

ตารางสรุปเหรียญรางวัลลูโซโฟนีเกมส์ 2006
อันดับ ประเทศ 1 2 3 รวม
1 บราซิล 29 19 9 57
2 โปรตุเกส 12 18 21 51
3 ศรีลังกา 3 2 1 6
4 โมซัมบิก 3 0 3 6
5 กาบูเวร์ดี 1 1 4 6
6 มาเก๊า 0 3 11 14
7 แองโกลา 0 3 2 5
8 อินเดีย 0 1 2 3
ติมอร์-เลสเต 0 1 2 3
10 เซาตูแมอีปริงซีป 0 0 1 1
กินี-บิสเซา 0 0 1 1
รวม 48 48 57 153

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน[แก้]

เปิด พิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขัน 1 รอบชิงชนะเลิศ ปิด พิธีปิดการแข่งขัน
ตุลาคม  4  5  6  7  8  9 10 11 12 13 14 15
พิธีการ
กรีฑา
บาสเกตบอล
วอลเลย์บอลชายหาด
ฟุตบอล
ฟุตซอล
เทควันโด
เทเบิลเทนนิส
วอลเลย์บอล
ตุลาคม  4  5  6  7  8  9 10 11 12 13 14 15

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Sem o futebol brasileiro, Macau abriga primeiros Jogos da Lusofonia" (ภาษาโปรตุเกส). UOL. 3 October 2006. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Jogos da Lusofonia reúnem 77 brasileiros e 4 continentes" (ภาษาโปรตุเกส). UOL. 2 October 2006. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  3. 官方網頁介紹 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 2006-10-06.
  4. "Jogos de países de língua portuguesa já têm lema e mascote" (ภาษาโปรตุเกส). UOL. 3 April 2006. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
  5. "Brasil é campeão geral dos Jogos da Lusofonia" (ภาษาโปรตุเกส). Ministério do Esporte. 16 October 2006. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
  6. "Futsal do Brasil massacra Timor Leste e entra para o Livro dos Recordes" (ภาษาโปรตุเกส). Diário do Nordeste. 14 October 2006. สืบค้นเมื่อ 6 May 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]