แม่น้ำเจ้าพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลุ่มน้ำเจ้าพระยา)
แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยามุมมองจากสะพานตากสิน ฝั่งซ้าย (โรงแรม เพนนินซูลา ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน) ฝั่งขวา (โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ บางรัก)
แผนที่แสดงตำแหน่งลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกับลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำปากน้ำโพ
 • ตำแหน่งตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
 • พิกัดภูมิศาสตร์15°42′02.0″N 100°08′28.4″E / 15.700556°N 100.141222°E / 15.700556; 100.141222
 • ระดับความสูง25 เมตร (82 ฟุต)
ปากน้ำปากน้ำเจ้าพระยา
 • ตำแหน่ง
ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
 • พิกัด
13°32′37.9″N 100°35′28.8″E / 13.543861°N 100.591333°E / 13.543861; 100.591333พิกัดภูมิศาสตร์: 13°32′37.9″N 100°35′28.8″E / 13.543861°N 100.591333°E / 13.543861; 100.591333
 • ระดับความสูง
0 เมตร (0 ฟุต)
ความยาว372 กิโลเมตร (231 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำ20,125 ตารางกิโลเมตร (7,770 ตารางไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำน่าน, แม่น้ำลพบุรี, คลองบางแก้ว, คลองเมือง, แม่น้ำป่าสัก, คลองบ้านพร้าว, คลองบางหลวงเชียงราก, แม่น้ำลัดเกร็ด
 • ขวาแม่น้ำปิง, แม่น้ำสะแกกรัง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำน้อย, คลองบางบาล, คลองอ้อมนนท์, คลองบางกรวย, คลองบางกอกน้อย, คลองบางกอกใหญ่

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสาขาหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน โดยมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ แม่น้ำน่านมีสีค่อนข้างแดง ส่วนแม่น้ำปิงมีสีค่อนข้างเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่[1] จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำในอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ข้อมูลทางภูมิศาสตร์[แก้]

จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน แม่น้ำทั้งสองรับน้ำมาจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาผีปันน้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน) และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีน (คลองมะขามเฒ่า) ที่จังหวัดชัยนาท

ชื่อ[แก้]

พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2041 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการขุดลอกคลองสำโรงเนื่องจากคลองตื้นเขิน เรือใหญ่เดินทางไปมาผ่านคลองสำโรงไม่สะดวก และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ได้แก่ พระยาแสนตาและพระยาบาทสังขกร จึงเรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า บางเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้นำชื่อชุมชนบริเวณปากน้ำนี้มาตั้งเป็นชื่อแม่น้ำ[2]

การขุดลัดแม่น้ำ[แก้]

แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสามครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด

การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยคลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[3] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช, คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และในสมัยรัตนโกสินทร์มีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า[ต้องการอ้างอิง]

ลำน้ำสาขา[แก้]

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายในให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

ต้นน้ำ[แก้]

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

ลำน้ำสาขาฝั่งขวา[แก้]

จังหวัดชัยนาท[แก้]

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[แก้]

จังหวัดปทุมธานี[แก้]

จังหวัดนนทบุรี[แก้]

กรุงเทพมหานคร[แก้]

จังหวัดสมุทรปราการ[แก้]

ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย[แก้]

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[แก้]

จังหวัดปทุมธานี[แก้]

จังหวัดนนทบุรี[แก้]

กรุงเทพมหานคร[แก้]

จังหวัดสมุทรปราการ[แก้]

ท่าน้ำ[แก้]

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้[4]

สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ[แก้]

จังหวัดนครสวรรค์[แก้]

จังหวัดชัยนาท[แก้]

จังหวัดสิงห์บุรี[แก้]

จังหวัดอ่างทอง[แก้]

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[แก้]

จังหวัดปทุมธานี[แก้]

จังหวัดนนทบุรี[แก้]

กรุงเทพมหานคร[แก้]

จังหวัดสมุทรปราการ[แก้]

การผลิตน้ำประปา[แก้]

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของการประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนเขตจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ รับผิดชอบโดยการประปานครหลวง โดยมีสถานีสูบน้ำดิบสำแล ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

การใช้เส้นทางทางน้ำในการพระราชพิธีทางชลมารค[แก้]

ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 กรมเจ้าท่าได้ประกาศกำหนดควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการซ้อมรูปขบวนเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

สัตว์น้ำหายากที่พบ[แก้]

  • วาฬบรูด้า[8]
  • ปลาทรงเครื่อง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (Labeo chrysophekadion) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาว มีขนาดเล็กกว่ามาก สีลำตัวสีแดงอ่อน ครีบหางสีแดงเข้ม มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตร และยังเป็นปลาน้ำจืดเฉพาะถิ่นของไทย และพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเท่านั้น[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "แม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อ "เจ้าพระยา" จากเทวรูป พบที่คลองสำโรง สมุทรปราการ". มติชน.
  3. การบันทึกน่าจะคลาดเคลื่อน เพราะในปีนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังไม่ขึ้นครองราชย์
  4. "ข้อมูลท่าเทียบเรือ (สผง.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  5. "สถานที่ท่าสำคัญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
  7. เขื่อนเจ้าพระยา
  8. “ดร.ธรณ์” ฝากคนกรุงเทพฯ รักษาภาพ “วาฬบรูด้า” โผล่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยการลดใช้ถุงพลาสติก
  9. “ปลาทรงเครื่อง” ไม่ใช่อาหาร แต่เป็นปลาสวยงามสัญชาติไทย
  • จารุภัทร วิมุตเศรษฐ์. สะพานข้ามเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]