อี บย็อง-ช็อล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลี เบียงชอล)
อี บย็อง-ช็อล
ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทซัมซุง
เกิด12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910(1910-02-12)
อึย-รย็อง, มนฑลคย็องซังนัม, จักรวรรดิเกาหลี
เสียชีวิตพฤศจิกายน 19, 1987(1987-11-19) (77 ปี)
โซล, เกาหลีใต้
สัญชาติเกาหลี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวาเซดะ ใน โตเกียว
อาชีพผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทซัมซุง
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
이병철
ฮันจา
李秉喆
อาร์อาร์I Byeongcheol
เอ็มอาร์Yi Pyŏngch'ŏl

อี บย็อง-ช็อล (อักษรโรมัน: Lee Byung-chull; เกาหลี이병철; ฮันจา李秉喆; อาร์อาร์I Byeong-cheol; เอ็มอาร์Yi Pyŏngch'ŏl; 12 กุมภาพันธ์ 2453 — 19 พฤศจิกายน 2530) เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซัมซุงบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ อี บย็อง-ช็อล เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 ในเมืองอึย-รย็อง มณฑลคย็องซังนัม

อี ได้ก่อตั้งบริษัทการค้าซัมซุงขึ้นในปี พ.ศ. 2481 ในเมืองแทกู หลังจากนั้นก็ได้ก่อตั้งบรัษัทซัมซุงโปรดักส์ บริษัทสิ่งทอ และ บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาที่เขาได้ทำคุณประโยชน์นานัปการให้กับประเทศเกาหลีใต้ เขาจึงกลายเป็นต้นแบบทีมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อแวดวงธุรกิจในยุคสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2504 เขาได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมนักธุรกิจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิวัฒนธรรมซัมซุงขึ้น ด้วยแนวคิดที่ต้องการจะอนุรักษ์และรับผิดชอบต่อสังคม

ในปี พ.ศ. 2523 เขาได้รับการกล่าวขานในฐานะนักธุรกิจที่นำความเจริญมาสู่ประเทศและดำเนินธุรกิจด้วยความฉลาดรอบคอบนำพาธุรกิจด้วยความสามารถเฉพาะตัวที่มีความเป็นผู้นำ และแนวคิดก้าวหน้า ตลอดชีวิตของอี เขาอุทิศตัวให้กับการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจ พยายามทำให้พลเมืองเกาหลีมีความสุขขึ้น โดยในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 เขาได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ ด้วยวัย 78 ปี เมื่ออีได้จากโลกนี้ไป ทางประเทศเกาหลีใต้ก็ได้มอบเครื่องราชฯ ระดับมูกุงฮวา และทางประเทศญี่ปุ่นก็ได้มอบเครื่องราชฯ ระดับฮุนอิลดึงชอ ให้แก่เขาเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่อี


ลำดับประวัติของ อี บย็อง-ช็อล[แก้]

  • 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 เกิดที่ตำบลจุงเกียวรี อำเภอชองกกเมียน จังหวัดอึย-เรียง มนฑลยองซัมนัม เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายอี ชันอู
  • พ.ศ. 2459 เข้าเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนมุนซันจองของหมู่บ้าน
  • มีนาคม พ.ศ. 2465 เข้าเรียนที่โรงเรียนจีซู ที่อำเภอชินยัง
  • ตุลาคม พ.ศ. 2465 เข้าเรียนที่โรงเรียนการขนส่ง โซล
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนการขนส่ง โซล หลักสูตร 4 ปี
  • เมษายน พ.ศ. 2468 เข้าเรียนหลักสูตรเตรียมความพร้อมที่โรงเรียนชุงดง
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2469 สมรสกับนางปัก ทูอึล
  • พ.ศ. 2472 เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น
  • เมษายน พ.ศ. 2473 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ
  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2474 ภรรยาให้กำเนิดบุตรชายคนแรกชื่อ แมงฮี
  • กันยายน พ.ศ. 2474 หยุดพักการเรียนเพราะป่วยและเดินทางกลับเกาหลี
  • ตุลาคม พ.ศ. 2474 นำคนร่วม 30 คนออกมาทำกิจกรรมของตัวเอง
  • ตุลาคม พ.ศ. 2477 ตัดสินใจทำธุรกิจและได้รับเงินทุนจากพ่อแม่เป็นที่นาร่วม 300 ผืน
  • มีนาคม พ.ศ. 2479 ลงทุนทำธุรกิจ โรงสีข้าว ที่เขตมาซัน
  • สิงหาคม พ.ศ. 2479 จัดตั้งบริษัทขนส่ง มาซัน โดยมีรถบรรทุกร่วม 20 คัน
  • กันยายน พ.ศ. 2479 ชื่อที่ดินในเขตคิมแฮกว่าสี่แสนพยอง โดยกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์สาขามาซัน
  • มิถุนายน พ.ศ. 2480 ขยายธุรกิจที่ดินครอบครองที่ดินร่วมสองล้านพยอง
  • กันยายน พ.ศ. 2480 ยุติธุรกิจที่ดินเพราะสงครามญี่ปุ่นกับจีน
  • ตุลาคม พ.ศ. 2480 เสาะแสดงหาธุรกิจใหม่ โดยเดินทางไปทั่วทั้งโซล เปียงยาง พงชอน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เป็นเวลา 2 เดือน
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2481 ก่อตั้งบริษัทการค้าซัมซุง สาขาแทกู ส่งออกผัก ผลไม้ และอาหารแห้งต่างๆ แก่จีนในหลายๆ เมือง เช่น ปักกิ่ง และยังทำโรงสีด้วย
  • พ.ศ. 2482 ควบกิจการบริษัทผลิตแอลกอฮอล์โชชอน
  • กันยายน พ.ศ. 2488 รวมตัวกับผู้มีอำนาจในแทกู ก่อตั้งสมาคมร่วมเพื่อนสนิทชื่อสมาคม อึลยู
  • ตุลาคม พ.ศ. 2488 เข้าร่วมธุรกิจหลักของแทกู
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ย้ายบ้านไปอยู่เขตเฮย์ฮวา อำเภอชงโน โซล
  • เมษายน พ.ศ. 2491 ควบกิจการโชซอนการหมัก เมืองแทกู
  • พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ก่อตั้งบริษัทสินค้าซัมซุง ตึกยองโบ ถนนชงโน 2 โซล
  • กุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2493 ดูงานด้านธุรกิจที่ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับคณะอีก 11 คน
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ดำรงตำแหน่งซีอีโอบริษัทซัมซุง ที่พูซัน เมืองอิมซีซู
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2496 ก่อตั้งบริษัทน้ำตาล เชอิล เชดัง ดำรงตำแหน่ง ซีอีโอ
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2496 เริ่มผลิตน้ำตาล
  • 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ก่อตั้งบริษัทสิ่งทอเชอิล โมจิก ดำรงตำแหน่ง ซีอีโอ
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ก่อตั้งบริษัทการค้าแทฮันจองดัง (จำกัด)
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ดูงานที่ประเทศเยอรมันตะวันตก เจรจานำเข้าเครื่องจักรผลิตสิ่งทอกับบริษัทสปินบาร์
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2499 ติดตั้งเครื่องจักรย้อมสีสิ่งทอสำเร็จ
  • 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ควบกิจการธนาคารฮันอิลและบริษัทน้ำตาลทงยังเชดัง ยุบกิจการบริษัทการค้าแทฮันจองดัง (จำกัด)
  • 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ควบกิจการปูนซีเมนต์ซัมชอก
  • 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ควบกิจการประกันอัคคีภัยอันกุก
  • กันยายน พ.ศ. 2501 ถ่ายโอนบริษัทซัมชอกซีเมนต์
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ควบกิจการธนาคารพาณิชย์
  • 19 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ก่อตั้งบริษัทชังมีราชา (จำกัด)(บริษัทขายส่งสิ่งทอ) บริษัททงอิลบังจิก บริษัทการค้าคึนโร และ ควบรวมกิจการบริษัทยางรถยนต์ฮันกุก
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2502 ควบกิจการธนาคารโชฮึง
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ถ่ายโอนบริษัททงอิลบังจิก
  • กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ดูงานที่ยุโรป และ เยอรมันตะวันตกเพื่อเจรจาในการก่อตั้งโรงงานปุ๋ย ซึ่งประสบความสำเร็จในการเจรจากับบริษัทกรุปของเยอรมันตะวันตก และมูลนิธิมนเตคาทินีของอิตาอี
  • 29 มกราคม พ.ศ. 2507 ก่อตั้งสมาคมทุนซัมซุง
  • 18 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งบริษัทสินค้าซัมซุง สาขานิวยอร์ก
  • 13 มกราคม พ.ศ. 2512 ก่อตั้งบริษัทวิศวกรรมไฟฟ้าซัมซุง
  • 20 มกราคม พ.ศ. 2513 ก่อตั้งบริษัทซัมซุง NEC
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2514 ก่อตั้งบริษัท ซัมซุง อิเล็กทริกส์ จำกัด
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 รวมกิจการซัมซุงเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์
  • 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ยอดส่งออกสินค้าของซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้นถึงหนึ่งร้อยล้านดอลลาร์สหัรัฐเป็นครั้งแรกของเกาหลี
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ได้รับนักบริหารดีเด่นระดับนานาชาติ จากมหาวิทยาลัยแบซึน สหรัฐอเมริกา
  • กันยายน พ.ศ. 2522 บริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาโทรทัศน์รุ่น VTR-SV7700 เป็นครั้งแรกของเกาหลี
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2523 พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ตัวอักษรจีนและอักษรเกาหลีโดยบริษัทซัมซุงจอนวัน เป็นครั้งแรกของประเทศเกาหลี
  • 28 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ส่งออกเครื่องยนต์ของเครื่องบิน โดยบริษัทซัมซุงเป็นครั้งแรกของเกาหลี
  • 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 ได้รับโล่รางวัล ที่บริษัทซัมซุงส่งออกเป็นมูลค่านับสองพันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • 27 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ก่อตั้งบริษัท นาฬิกาซัมซุง จำกัด
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2527 ก่อตั้งบริษัทเครื่องมือแพทย์ซัมซุง
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ประสบความสำเร็จในการผลิตเครื่องยนต์ของเครื่องบินเจ็ท
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2528 บริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์เป็นบริษัทมหาชนแห่งแรกของเกาหลี
  • 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 อี บย็อง-ช็อล จากโลกนี้ไปอย่างสงบ

รางวัลเกียรติยศที่สำคัญ[แก้]

  • เครื่องราชฯ ระดับเจดีย์ทอง ด้านอุตสาหกรรม
  • รางวัลนักบริหารดีเด่นระดับนานาชาติ
  • เครื่องราชฯ ระดับมูกุงฮวา
  • เครื่องราชฯ ประกาศเกียรติคุณชั้นเอก ประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิง[แก้]

  • อี ชังอู:เรียบเรียง,จิราพร จันจุฬา:แปล , SAMSUNG บทเรียนแห่งความสำเร็จ อี บย็อง-ช็อล - กรุงเทพฯ สยามอินเตอร์บุ๊คส์ 2549 ISBN 974-9983-80-7