อี มย็อง-บัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลี มยองปาก)
อี มย็อง-บัก
이명박
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2551
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าโน มูฮยอน
ถัดไปพัก กึน-ฮเย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (82 ปี)
เกาหลีใต้,ญี่ปุ่น
ศาสนาศาสนาคริสต์-เพรสไบทีเรียน
พรรคการเมือง한나라당
คู่สมรสคิม ยุน-อก
ลายมือชื่อ
อี มย็อง-บัก
ฮันกึล이명박
ฮันจา李明博
อักษรโรมันฉบับปรับปรุงI Myeongbak

อี มย็อง-บัก (เกาหลี이명박; ฮันจา李明博; อาร์อาร์I Myeongbak; เอ็มอาร์Yi Myŏng-bak) เกิดวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลี จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และเป็นอดีตนายกเทศมนตรีโซล

การดำรงชีวิตและการศึกษาช่วงเริ่มแรก[แก้]

อี มย็อง-บักเกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ที่เขตฮิระโนะ เมืองโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น ในที่ที่บิดาของเขาทำงานเป็นเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงเขาและครอบครัวจึงอพยพกลับมาประเทศเกาหลี

ปัจจุบันอี มย็อง-บัก ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 10 นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก่อนหน้านั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการโซลและปัจจุบันเขาได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองแห่งชาติ (The Grand National Party)

อี มย็อง-บักเกิดในย่านชาวเกาหลีที่ตำบลนากาคาวะชิ-คุน (Nakakawachi-kun) ที่ทำการเขตเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ฮิราโนะ-คุ (Hirano-ku) เมืองโอซากา ในใบแจ้งเกิดชื่อภาษาญี่ปุ่นของเขาคือ สึกิยะมะ อะกิฮิโระ (ญี่ปุ่น: 月山 明博โรมาจิTsukiyama Akihiroทับศัพท์:  つきやま あきひろ)[1] ในขณะนั้นพ่อของเขานายลีชางวู (이충우) ทำงานอยู่ที่ฟาร์มปศุสัตว์ในญี่ปุ่น ส่วนแม่ของเขานางแชแทวอน . เป็นแม่บ้านผู้เคร่งครัดในคริสต์ศาสนา นายอี มย็อง-บักมีพี่น้องผู้ชาย 3 คนและพี่น้องผู้หญิง 3 คน เขาเป็นลูกคนที่ 5 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 ครอบครัวของเขาได้ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดของผู้เป็นพ่อที่ เมืองโปฮาง จังหวัดกยองซางบุก (Po-hang, Gyeongsangbuk-Do) ประเทศเกาหลีใต้[2][3]

อย่างไรก็ตามก็ได้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นเนื่องจากสงครามเกาหลีในขณะนั้น 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 พ่อของเขาได้เสียชีวิตลงเนื่องจากสงครามที่เกาหลีเหนือบุกรุกเกาหลีใต้ ครบครัวของเขาจึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ของที่โบสถ์ร้างแห่งหนึ่ง ด้วยความที่ครอบครัวของเขายากจน ที่โรงเรียนนายลีจึงไม่สามารถที่ฝันถึงอาหารกลางวันที่ดีๆ ซึ่งมันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเมื่อตอนที่ครอบครัวเขาอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น ซึ่งพ่อของเขาสามารถที่จะส่งเงินกลับมาที่บ้านและยังให้พี่น้องคนอื่นๆมาเรียนที่ญี่ปุ่นได้อีกด้วย

กระนั้นนายอีได้เรียนรู้ประสบการณ์อันมีค่าจากการทำงานหนักตั้งแต่ยังเล็ก ในเวลานั้นเขาจบจากชั้นประถมศึกษาเขาก็ทำงานทุกอย่างที่เขาสามารถทำได้ เขาขายไม้ขีดไฟ ขาย คิมบับ (เขาใช้คำว่า rice rolls ซึ่งน่าจะหมายถึงคิมบับ) หน้ากองทัพบก และขายเค้กจนกระทั่งเขาถูกจับโดยเจ้าหน้าที่ทางทหาร และเมื่อเขาอยู่มัธยมต้นเขาก็ยังคงทำงานหนักต่อไปเพื่อเลี้ยงชีวิต

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้น การศึกษาระดับสองจะได้รับสิทธิพิเศษเฉพาะผู้ที่ถูกเลือกเพียงสองสามคนเท่านั้น อย่างในครอบครัวใหญ่เช่นครอบครัวอี พี่ชายของประธานาธิบดีอีนั้นเป็นความหวังของครอบครัวเลย ความมุ่งหวังแบบนี้จะเกิดขึ้นเสมอๆจากบรรดาญาติพี่น้องผู้ซึ่งเสียสละโอกาสทางการศึกษาของพวกเขาเพื่อสนับสนุนให้พี่หรือน้องได้รับการเรียนการสอนในโรงเรียน สำหรับประธานาธิบดีอีนั้นแทนที่เขาจะไปศึกษาต่อในระดับมัธยมปลาย เขากลับวางแผนช่วยแม่ของเขาขายขนมปังทั้งนี้เพื่อที่จะได้หาเงินตามคำอบรมสั่งสอนของพ่อของเขา

อย่างไรก็ตาม ครูของเขาแนะนำให้เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนพาณิชย์ดองจิ (Dongji Commercial High School) ใน โปฮาง (Pohang) ด้วยทุนตลอดการศึกษา ด้วยการเลือกเรียนภาคค่ำเพื่อที่ตอนกลางวันเขาจะได้ทำงานแล้วกลางคืนก็ไปเรียน

1 ปีหลังจบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย ประธานาธิบดีอีได้สอบเข้าศึกษาต่อใน Korea University. ปี 1964 ในขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3 ในวิทยาลัยนั้นเขาก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานสภานักศึกษา ประธานาธิบดีอีหวนคิดถึงงานแปลก ๆ ทั้งหลาย ในอัตชีวประวัติของเขา ว่า “มันไม่ใช่นิยาย” ที่ทำให้เขาได้จบวิทยาลัยได้ด้วยตัวเขาเอง ในปีนั้นเองประธานาธิบดีอีได้ร่วมกับนักศึกษาเดินขบวนประท้วงประธานาธิบดีปาร์กชุงฮี (Park Chung-hee's) ในการเจรจา โซล-โตเกียว เขาถูกจับในฐานกบฏและถูกตัดสินลงโทษลงอาญา 5 ปี จำคุกอีก 3 ปี โดยศาลฎีกาเกาหลี เขาจำคุกเพียงสามเดือน ที่เรือนจำโซแดมุน (서대문 , 형무소) ในโซล [4] ในปีนั้นมีการเดินขบวนสนันสนุนประชาธิปไตยโดยนักเรียนนักศึกษากันอย่างกว้างขวางรวมไปถึงประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการเจรจา โซล-โตเกียว ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนในการก่อสร้างจำนวนมหาศาล เขาได้นำขบวนนักศึกษาเข้าร่วมประท้วงกว่า 12,000 คน จากโซล ใน เดือน มิถุนายน ปี ค.ศ. 1964 และเขาได้ถูกจำคุกที่เรือนจำโซแดมุน (Seodaemun) จากการถูกจับกุมในข้อหากบฏ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเขาก็ได้กลายมาเป็น “คนรุ่นแรกผู้บุกเบิกการปกครองระบบประชาธิปไตย” ('1st generation of democratization') ประธานาธิบดีลีแต่งงานกับนางคิมยุน-อก (김윤옥) มีลูกสาวด้วยกัน 3 คน และ ลูกชาย 1 คน ประธานาธิบดีลีได้ประกาศอย่างเปิดเผยว่าเป็นคริสเตียนที่โบสถ์โซมางเพรสไบทีเรียน (Somang Presbyterian Church) ในโซล

งานด้านธุรกิจ[แก้]

อี มย็อง-บักเริ่มทำงานกับบริษัท ฮุนไดเมื่อปี ค.ศ. 1965 (ในขณะนั้นจะรู้จักในนามของบริษัทขนาดกลางที่เรียกว่าบริษัทก่อสร้างฮุนได) ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อสร้างส้นทางหลักสาย ปัตตานี- นราธิวาสในประเทศไทย และเป็นบริษัทแรกของเกาหลีที่มีโปรเจกต์ข้ามชาติด้วยงบประมาณ 5.2 US$ ถึงแม้ว่า ลี จะเพิ่งเข้าทำงานกับบริษัทแต่เขาก็ถูกส่งตัวมาร่วมงานในโปรเจกต์นี้ด้วย โปรเจกต์นี้ได้ประสบความสำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์ในปี [ค.ศ. 1968] หลังจากนั้น ลี ก็กลับเกาหลีและได้รับหมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับ Hyundai’s Heavey machinery plant. .ในโซล ซึ่งในช่วง 3 ปีที่เขาทำงานกับบริษัทในกลุ่ม ฮุนไดนั้น เขาได้รับสมญานามว่า รถปราบดิน ( Bulldozer ) นั่นก็เพราะว่า เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรกล จนได้ค้นพบสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาการชำรุดของเครื่องจักร ลี ได้เป็นผู้บริหารรของบริษัทนี้ตอนอายุ 29 ปี ซึ่งนั่นก็หลังจากที่เขาได้ร่วมงานกับบริษัทแค่ 5 ปีเท่านั้น และในปี ค.ศ 1988 เขาได้กลายเป็น CEO ที่มีอายุน้อยที่สุดในเกาหลีด้วยอายุเพียง 35 ปี และตอนอายุ 47 ปี เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานของบริษัท ก่อสร้างฮุนได หลังจากที่บริษัทประสบความสำเร็จในการก่อสร้างเส้นทางหลักสาย ปัตตานี-นราธิวาส ได้ไม่นาน อุตสาหกรรมการก่อสร้างของเกาหลีก็ได้เริ่มเล็งเป้าหมายในการผลักดันความคิดสู่ตลาดใหม่ๆในต่างชาติ เช่น เวียดนาม และตะวันออกกลาง เนื่องจากอุปสงค์ของการก่อสร้างในเวียดนามในยุค 60 ได้ถดถอยลง บริษัทฮุนไดจึงหันเป้าหมายไปสู่ประเทศในตะวันออกกลางและบริษัทได้มีแนวโน้มในการพัฒนาให้เกิดโครงการเพื่อคุณภาพชีวิตในระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น การส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางเรือและการท่าเรือในแถบอาหรับ และการศึกษาด้านโรงแรมในประเทศบาเรน และยังมีโครงการเขตอุตสาหกรรมอ่าว Jubail ในซาอุดีอาระเบีย ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็น ยุคทองแห่งศรรตวรรษที่ 20 ซึ่งในการนั้น ได้มีการสั่งสินค้าจากเกาหลีเป็นจำนวนมากถึง 10 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ได้มีส่วนช่วยอย่างมากในด้านสภาวะน้ำมันขาดแคลน

ตอนที่เขาเริ่มงานที่ฮุนไดในปี ค.ศ. 1965 ในขณะนั้นมีพนักงานอยู่ 90 คน แต่เมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานบริษัทผ่านไป 27 ปี ได้มีพนักงานเพิ่มมากกว่า 160,000 คน เขาทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์ของเกาหลีใต้กับกลุ่ม USSR ให้เข้าสู่ภาวะปกติ นอกจากนั้นเขา ยังสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาผู้นำชาติต่างๆ รวมไปถึงอดีตนายกรัฐมนตรีลี กวนยู ของสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีฮุนเซน ของประเทศกัมพูชา อดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย อดีตประธานาธิบดี เจียง ซีมิน ของจีน และอดีตผู้นำ มิคาอิล กอร์บาเชพ ของสหภาพโซเวียต หลังจากที่เขาทำงานกับฮุนไดเป็นเวลาถึง 27 ปี เขาก็ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการเมือง

งานด้านการเมืองช่วงเริ่มแรก[แก้]

ในปี ค.ศ. 1992 ลี ได้ย้ายจากเส้นทางธุรกิจสู่เส้นทางการเมือง เขาถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของการประชุมแห่งชาติเกาหลีครั้งที่ 14 ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งเขาได้กล่าวว่า หลังจากที่เขาได้ดูการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลกของนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ เขาต้องการเห็นว่ามีอะไรที่เขาสามารถจะทำได้ หลังจากนั้น เขาก็ได้ออกร่างกฎหมายในไตรมาสที่ 2 ปี 1996 ในโซล สิ่งนี้ได้ถูกแสดงให้เห็นว่าเขาได้ทำอะไรมากมายในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งของเขา จากนั้นเขาจึงได้เกษียณตัวเองลงในปี 1998

หลังจากที่เขาได้ทำเงิน 7 ล้านวอนในการประกาศกฎการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2002 ลีได้ลงแข่งในสนามเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของโซล และเขาได้ชนะการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตามเขาเริ่มทำกิจกรรมการเลือกตั้งเร็วเกินไป ในระหว่างที่เขาครองตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาเป็นที่รู้จักในเรื่องที่เขาบูรณะ “cheongyecheon” ซึ่งเป็นลำธารที่มีชื่อเสียงในโซล

ผู้ว่าการโซล[แก้]

ชองเกชอนในยามค่ำคืน ถือเป็นผลงานอันโดดเด่นของนายลีในฐานะนายกเทศมนตรีของโซล ซึ่งเป็นการย้ายทางด่วนที่พาดผ่านใจกลางโซลและสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับสาธารณชนด้วยเงินกว่าหลายล้านเหรียญโดยใช้ชื่อว่า ชองเกชอน

ผลงานชิ้นเอกในระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีของโซลคือการฟื้นฟูชองเกชอน ด้วยความมุ่งมั่นของเขาสามารถทำให้แม่น้ำไหลผ่านใจกลางเมืองโซล และไม่เพียงเปลี่ยนสถานที่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอันทันสมัยสำหรับ สาธารณชนเท่านั้นแต่ยังเป็นบ้านพักเชิงนิเวศน์ด้วย ชาวโซลไม่ใช่กลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียวที่ชื่นชมนายลี

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 เอเชียน ไทมส์ รายงานว่า “ครั้งหนึ่ง โซลเคยเป็นสัญลักษณ์ของป่าคอนกรีตแต่ปัจจุบันโซลประสบความสำเร็จในการผันเมืองให้เป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเมืองอื่นๆในเอเชียด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” และมีรูปของนายลียืนในแม่น้ำชองเกชอน มากไปกว่านั้น เดือน ตุลาคม 2550 นายลีได้รับเลือกให้เป็น “ฮีโร่แห่งสิ่งแวดล้อม” จาก นิตยสาร ไทมส์ พร้อมกับอดีตรองประธานาธิบดีของสหรัฐ อเมริกา อัลเบอร์ต อาร์โนลด์ กอร์ จูเนียร์ โครงการอีกโครงการหนึ่งคือป่าแห่งโซล ซึ่งเปรียบเสมือนกับเซนทรัล ปาร์ค ในนครนิวยอร์กหรือ ไฮด์ ปาร์ก ในกรุงลอนดอน ป่าแห่งโซลคือการสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับประชาชนด้วยต้นไม้กว่า 400,000 ต้นและมีสัตว์กว่า 100 ชนิดรวมถึงกวางเล็กและกวางใหญ่ สวนแห่งนี้เปิดเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 หลังจากใช้ระยะเวลาในการสร้างเพียง 1 ปี พื้นที่ในส่วนของโซล ซิตี้ ฮอลล์ ไม่ต่างจากวงเวียนจราจรคอนกรีต แต่ในช่วงเวิลด์ คัพ ปี 2545 ได้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ส่วนนี้สามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงวัฒนธรรมที่เรียกว่า โซล พลาซา เดือนพฤษภาคม 2547 ได้มีการเปิดตัวพื้นที่สวนสาธารณะแห่งใหม่ ด้วยสนามหญ้าที่ชาวโซลสามารถใช้เป็นสถานที่เพื่อการพักผ่อนและแสดงผลงานทาง วัฒนธรรมได้

การเลือกตั้งประธานาธิบดี[แก้]

10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นายลีได้ประกาศวัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการสำหรับการจัดตั้งพรรค แกรนด์ เนชั่นแนล ปาร์ตี้ ในฐานะผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี 20 สิงหาคม 2550 เขาพ่ายแพ้ให้กับปัก กึน-เฮ สำหรับการคัดเลือกบุคคลเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 2550 ภายในพรรค แกรนด์ เนชั่นแนล ปาร์ตี้ สำหรับการคัดเลือกนั้นนายลีถูกกล่าวหาว่าได้เงินจากการปั่นราคาที่ดินของตนเองโดยผิดกฎหมายที่เขต ดูโกก ซึ่งเป็นเขตทีมีค่าครองชีพสูงของโซล สิงหาคม 2550 อัยการได้กล่าวในช่วงของการประกาศว่า “เราสงสัยในการอ้างสิทธิของน้องชายนายลีบนพื้นที่ของดูโกก ดอง แต่ยังไม่สามารถระบุถึงเจ้าของที่แท้จริงได้” 28 กันยายน พ.ศ. 2550 อัยการได้สรุบข้อสงสัยว่า ที่ดินในดูโกกนั้นอยู่ภายใต้ชื่อผู้เช่าและประกาศว่า “เราได้ทำการสอบสวนในทุกแง่มุมรวมถึงการตรวจสอบการซื้อขายที่ดิน และประวัติการโทรศัพท์และสามารถสรุปคดีนี้ได้” ธันวาคม พ.ศ. 2550 เพียงไม่กี่วันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดี นายลีได้ประกาศบริจาคทรัพย์สินของเขาทั้งหมดให้กับสังคม เป้าหมายของเขาได้แสดงออกมาในรูปแบบของ “แผน 747” ซึ่งรวมถึง การเติบโตของจีดีพี 7 เปอร์เซนต์ ด้วยรายได้ต่อหัว 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ และจะทำให้เกาหลีเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ผลงานชิ้นสำคัญคือโครงการ แกรนด์ โคเรียน วอเตอร์เวย์ (한반도 대운하) จากเมืองปูซานถึงโซล ซึ่งเขาเชื่อว่าจะเป็นตัวฟื้นฟูเศรษฐกิจ คู่แข่งของเขาวิจารณ์ว่าโครงการนี้เกินจริงและมีราคาแพงเกินไปที่จะทำได้ ส่วนบางท่านกังวลว่าโครงการเช่นนี้จะทำลายสิ่งแวดล้อม

จากมุมมองของนายลีที่มีต่อเกาหลีเหนือ เขาได้ประกาศแผนที่ให้เกาหลีเหนือเข้ามามีส่วนร่วมโดยผ่านทางการลงทุน นายลีได้ให้สัญญาว่าจะจัดตั้งคณะที่ปรึกษากับทางเกาหลีเหนือเพื่ออภิปรายถึงการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ คณะที่ปรึกษาชุดนี้จะมีคณะที่ปรึกษาย่อยด้าน เศรษฐกิจ การศึกษา การเงิน โครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิการและกองทุนรวมกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เขาได้สัญญาที่จะจัดทำข้อตกลงในการสร้างชุมชนเศรษฐกิจในเกาหลีเพื่อตั้งกรอบการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นระบบสำหรับโครงการที่เกิดจากการเจรจา นายลียังได้เรียกร้องให้มีการรวมตัวกันของสำนักงานให้ความช่วยเหลือในเกาหลีเหนือเพื่อเป็นการช่วยเหลือทางด้านมนุษยชนเกี่ยวกับด้านนิวเคลียร์ นโยบายต่างประเทศของเขามีชื่อว่า หลัก เอ็มบี ซึ่งให้การสนับสนุน “ความร่วมมือ” ของเกาหลีเหนือและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างสหรัฐ อเมริกาและเกาหลี

หน้าที่เกี่ยวกับประธานาธิบดี[แก้]

ลีได้จับมือร่วมกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ตั้งแต่ที่เค้ามาที่แคมป์ เดวิด แมรี่แลนด์ แห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551 ลีชนะการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 2550 ด้วยเสียง48.7 เปอร์เซ็นจากคะแนนเสียงทั้งหมด อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ถือว่าต่ำสุดเท่าที่เคยมีมาของการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้ เขาได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับหมอบหมายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 โดยได้ให้สัตย์สาบานว่าจะฟื้นฟูเศรษฐกิจ กระชับความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา และต่อรองกับเกาหลีเหนือ ที่พิเศษไปกว่านั้น ลีประกาศว่าจะทำให้การรณรงค์ ความสัมพันธ์ด้านการทูตทั่วโลก รวมถึงการมองหาความร่วมมือทางการแลกเปลี่ยนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่น จีน และรัฐเซีย มากไปกว่านั้น เขายังได้ให้คำมั่นว่าจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกามีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น รวมถึงทำให้นโยบายที่เกี่ยวกับแนวคิดในการสนับสนุนเกาหลีเหนือเหมือนกับทฤษฎี MB ลีต้องการเริ่มจากการทำให้ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาดียิ่งขึ้นด้วยการมุ่งเน้นการแก้ปัญหาทางตลาดเสรี หลังจากที่เค้าเข้ารับตำแหน่งได้สองเดือน คะแนนความชื่นชอบจากประชาชนในตัวเค้ามีถึง 28 เปอร์เซ็นต์ และในเดือนมิถุนายน 2551 เพิ่มขึ้นอีก 17 เปอร์เซ็นต์ บุชและลียังได้คุยกันถึงการอนุมัติเรื่องการค้าเสรีระหว่างสหรัฐอเมริกาและเกาหลี หรือที่เรียกว่า KORUS-FTA โดยส่งตัวแทนมาจากทั้งสองประเทศเพื่อเจรจากัน โดยการตกลงครั้งนี้ได้รับการคาดหวังไว้ว่าการห้ามส่งออกเนื้อวัวจะถูกยกเลิกและเข้าร่วมอยู่ใน KORUS FTA ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลเกาหลีได้ประกาศเตือนว่าผู้ที่ต่อต้านโดยใช้ความรุนแรงจะถูกลงโทษและมาตรการการปะทะระหว่างตำรวจและผู้ประท้วงได้ถูกนำมาใช้ และคนเกาหลีส่วนมากต้องการต่อต้านและตัดเส้นทางการนำเข้าเนื้อสัตว์จากสหรัฐอเมริกา ผู้ต่อต้านดำเนินการต่อเนื่องมากกว่า 2 เดือนและจุดประสงค์เดิมในการเฝ้าระวังการต่อต้านการนำเข้าเนื้อสัตว์จากอเมริกาได้ถูกแทนที่ด้วยการเผชิญหน้ากับผู้ประท้วงอย่างดุเดือดแทน ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยประมาณ 3,751,300,000,000 วอน ตามที่รัฐบาลเกาหลีได้รับชัยชนะในเรื่องนี้อย่างเสียรภาพ ความนิยมของ Lee ก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 32.8 % หลังจากนำเข้าเนื้อสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนก็เริ่มหันมาซื้อเนื้อจากอเมริกา และตอนนี้ได้กลายเป็นตลาดร่วมขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 2 รองจากเนื้อของออสเตรเลีย ลี กำลังเริ่มการเอาเศรษฐกิจ mojo ของเขากลับมาใช้ ซึ่งเป็นแผนที่ดูเรียบง่าย แต่เป็นก้าวที่สำคัญในการซึ่งสู่การปฏิรูป

นโยบายด้านการศึกษา[แก้]

รัฐบาลของลี ได้ก่อตั้งมูลนิธิทุนการศึกษาแห่งชาติที่บริการและให้คำปรึกษาเรืองให้กู้เงินแก่นักเรียน และยในปัจจุบัน ก็มีแผนในการจ่ายเงินกู้คืนทีหลังได้ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่พยายามหาเงินจ่ายค่าเล่าเรียน อย่างไรก็แล้วแต่ รัฐบาลแต่งตั้งโรงเรียนมัธยมในเขตชนบท 82 แห่งเพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างเหมือนกับว่าป็น ”โรงเรียนประจำสาธารณะ “ และได้โอนเงินเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 317 ล้านล้าน โดยให้โรงเรียนละ 3.8 ล้านล้านโดยเฉลี่ย รัฐบาล อี มย็อง-บัก มีแผนที่จะให้เยาวชนที่เป็นเกาหลีอเมริกัน รวมตัวกันในการโปรโมทการศึกษาภาษาอังกฤษนอกโรงเรียนที่โรงเรียนสาธารณะ ในเขตชนบทเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษา

นโยบายด้านเศรษฐกิจ[แก้]

Mbnomics เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic) ซึ่งได้มาจากการรวมเอาอักษรหน้าชื่อ Myung Bak และส่วนของคำ economics ( -nomics) มาสร้างเป็นคำว่า Mbnomics ซึ่งนาย Kang Man Soo รัฐมนตรียุทธศาสตร์การทหาร และ การคลัง เป็นผู้ออกแบบนโยบายนี้

แผน “ Korea 7.4.7 “ คือนโยบายที่เป็นจุดเด่นของ ลี ซึ่งชื่อนี้มาจากการที่แผนนี้ทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจของของเกาหลีเพิ่มขึ้นถึง 7 % .ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง และยังช่วยยกระดับรายได้หลักจากการค้าขึ้นถึง 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ และนั่นทำให้เกาหลีติดอันดับที่ 7 ของโลกในด้านประเทศที่มีความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ Lee ผลักดันการปกครองของเขาให้เป็นเกาหลีแบบใหม่ คือเป็นที่ที่ผู้คนมั่งคั่ง สังคมอบอุ่น และชาติมั่นคง ในการทำให้ได้ตามนี้ เขาวางแผนในการติดตามและดำเนินการในภาคปฏิบัติในเรืองการทำการตลาดแบบเป็นมิตร

ยุทธการ : การตลาดที่หลักแหลม, การปฏิบัติโดยอาศัยการสังเกต, การใช้มาตรการเข้มงวดในเรื่องประชาธิปไตย

เป้าหมายของ ลี ในตอนนี้ก็คือ การลดปริมาณคาร์บอน ให้ได้ในทศวรรษนี้ รัฐบาลหวังที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศที่รวย และจน ในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำเรื่องการแผ่รังสีของแก๊สเรือนกระจกให้สำเร็จให้ได้ในปี 2020

จากการที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาตกต่ำในทุกวันนี้ ประธานาธิบดี ลี ได้เน้นในด้านความแน่นแฟ้นระหว่าง การเมืองและ วงจรธุรกิจ ลี ยังเสนอความคิดให้มีการประชุมระหว่าง รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ จีน มีเป้าหมายที่จะประสานงานกับตำรวจในการรับมือกับวิกฤติความเชื่อมั่นเช่นทุกวันนี้

นโยบายที่เกี่ยวกับต่างประเทศ[แก้]

วัตถุประสงค์ ของรัฐบาลปัจจุบันในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเป็นการรื้อฟื้น Four – Power ด้วยการเน้นในเรื่อง การยุติอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งการแก้ปัญหาการผลิตอาวุธนิวเคลียร์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันระหว่างประเทศทั้ง 6 ในกลุ่ม

การพัฒนาในด้านความเป็นพันธมิตรกันระหว่าง เกาหลี – อเมริกา จะอยู่บนพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์ต่อกันในระดับสากล ที่สำคัญๆก็เช่น อนุญาตให้เกาหลีมีสิทธิ์ขาดในการต่อต้านอันตราย และอิทธิพลที่มากเกินไปเหมือนกับสถานการณ์ของเกาหลีเหนือกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

นโยบายเกี่ยวกับประเทศเกาหลีเหนือ[แก้]

เป้าหมายสูงสุดของรัฐบาลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเกาหลีใต้ – เหนือ อยู่บนแผนเรื่อง. “การปลอดนิวเคลียร์, การเปิดเผยอย่างไร้ข้อแอบแฝง, 3,000" เป็นแผนที่จำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่างเกาหลีใต้ – เหนือ เพื่อนำมาซึ่งความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความสงบสุขสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี

สถานการณ์ปัจจุบันของเกาหลีใต้ – เหนือ อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ทางรัฐบาลก็ทำให้ชัดเจนมากขึ้นที่จะดำเนินการติดตามนโยบายการผลิตนิวเคลียร์ที่มากขึ้น และท้ายที่สุดก็จะส่งเสริมให้รวมเป็นอันหนึ่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. Special Report: Verifying Lee's Japanese birth. By Byeong-cheol Jeong [1] เก็บถาวร 2009-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. 이명박, '출생지(일본) 오류' 의혹속 방치, NewsTown
  3. Lee Myung-bak overcomes poverty and challenges to demonstrate CEO style leadership. By Yongwhan Kim, Kyunghyang Times [2]
  4. Choice 2007 Lee Myung-bak By Yeong-nam Jeong [3] เก็บถาวร 2009-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]