ลิ้นยึด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิ้นยึด (อังกฤษ: Ankyloglossia)[1]คือปัญหาสุขภาวะของมารดาและทารกที่เกิดขึ้นจากการที่ ทารกมีลิ้นยึด เป็นปัญหาให้ทารกดูดนมแม่ไม่ได้ เป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การให้นมทารก

ลิ้นยึดทางสรีรวิทยา[แก้]

ลิ้น มีบทบาทสำคัญมากในการดูดนมของทารก เมื่อมีลักษณะทางสรีรวิทยาที่ผิดปกติไป ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อการเคลื่อนไหวของลิ้น จะก่อให้เกิดการรบกวนและมีผลกระทบต่อกระบวนการซึ่งเป็นกลไกการดูดนมของทารก ภาวะลิ้นยึด เป็นภาวะที่มีพังผืดยึดใต้ลิ้นดึงรั้งพังผืดที่ลิ้นทำให้ลิ้นไม่สามารถแลบ หรือยื่นออกมาได้ตามปกติ โรคและความรุนแรงของลิ้นยึด ขึ้นอยู่กับลักษณะพังผืด และตำแหน่งที่ยึดเกาะ[2][3]การประเมินภาวะลิ้นยึดให้สังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

  1. เมื่อทารกแลบลิ้น หรือยื่นลิ้นออกมา ปลายลิ้น อยู่หลังแนวเหงือก หรือแลบพ้นริมฝีปากล่างเล็กน้อย
  2. เมื่อทารกแลบ หรือยื่นลิ้นออกมา ปลายลิ้นมีลักษณะเป็นรูปรอยหยัก หรือเป็นรูปหัวใจ[4] (heart shape)
  3. พังผืดมีลักษณะ เป็นแผ่นหนา สั้น ตึง
  4. พังผืด บางยาว ยึดเกาะถึงปลายลิ้น
  5. เมื่อทารกร้อง ลิ้นไม่กระดกติดเพดานปาก
  6. ทารกไม่สงบ ร้องกวน หลังจากดูดนมทั้งที่ทารกดูดนมแม่บ่อยครั้ง (ประมาณมากกว่า 8 ครั้ง ต่อวัน)
  7. นอกว่านั้นยังอาจสังเกตได้จาก การอุจจาระ และปัสสาวะของเด็ก หลังจากให้นมแล้ว 3 วัน[1]

กระบวนการ การดูดนมกับการใช้ลิ้นของทารกพบการขัดขวางการดูดนมจากการที่ทารกมีภาวะลิ้นยึด ทารกที่มีภาวะลิ้นยึด ลิ้นเมื่อดูดนมแม่จะถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถแลบลิ้น กระดกลิ้นได้ตามปกติ ความสามารถของทารกในการแลบลิ้น หรือ ยื่นลิ้นออกมา เหนือริมฝีปากล่าง เพื่อนำลิ้นออกมาห่อหุ้มคัปปิ้ง (cupping) ใต้ลานหัวนมตรงส่วนที่รองรับ ไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งต่อมารดา และทารก ตลอดจนทำให้ทารกพลาดโอกาส ในการได้รับน้ำนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารเพียงอย่างเดียวใน 6 เดือนแรก ในด้านมารดา จะพบปัญหา เจ็บหัวนม หัวนมแตก เต้านมคัด ท่อน้ำนมอุดตัน ทำให้เกิดความเจ็บปวด เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และท้อใจ ที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป หากพบว่าทารกดูดนมมารดาได้น้อย เด็กร้องกวนเพราะไม่อิ่ม หงุดหงิด ดูดนมแม่บ่อยมาก แต่การเจริญ เติบโตช้า น้ำหนักลด เป็นอาการที่แสดงว่า ทารกได้รับน้ำนมแม่ไม่พอเพียง ให้ปรึกษากุมารแพทย์ และทันตแพทย์ เพื่อรับการประเมินภาวะลิ้นยึด[5] หากเป็นในระดับที่มาก อาจพิจารณา ให้ขลิบพังผืด เพื่อให้เด็กสามารถรับน้ำนมจากแม่ได้ตามปกติ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สุอารีย์ อ้นตระการ และธิดารัตน์ วงค์วิสุทธิ์. ความรู้พื้นฐานสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข , 2550
  2. Judith Lauwers, Anna Swisher. Ankyloglossia in: Counseling the nursing mother: a lactation counseling ‘s guide 4 th ed. 312 – 314
  3. Newman J, Pitman T. Tongue tie in : Dr. Jack Newman’s Guide to Breastfeeding
  4. Newman J, Pitman T. Tongue tie in : Dr. Jack Newman’s Guide to Breastfeeding Revised and updated edition, 2003. 163-164
  5. กรรณิการ์ บางสายน้อย และคณะ . ทราบได้อย่างไรว่า ทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ ใน ส่าหรี จิตตินันท์ และคณะ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรู้สู่ปฏิบัติ. สำนักพิมพ์กรุงเทพ เวชสาร. 2546 : 171-177