ลิงลมใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิงลมใต้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Lorisidae
วงศ์ย่อย: Lorinae
สกุล: Nycticebus
สปีชีส์: N.  coucang
ชื่อทวินาม
Nycticebus coucang
(Boddaert, 1785)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของลิงลมใต้
ชื่อพ้อง[2]
  • Lemur tardigradus Raffles, 1821
  • Nycticebus coucang brachycephalus Sody, 1949
  • Nycticebus coucang buku Robinson, 1917
  • Nycticebus coucang hilleri Stone & Rehn, 1902
  • Nycticebus coucang insularis Robinson, 1917
  • Nycticebus coucang natunae Stone & Rehn, 1902
  • Nycticebus sumatrensis Ludeking, 1867
  • Nycticebus tardigradus var. malaiana Anderson, 1881
  • Tardigradus coucang Boddaert, 1785

ลิงลมใต้ หรือ นางอายใต้ (อังกฤษ: Sunda slow loris, Southern loris) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) ขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nycticebus coucang

ลักษณะ[แก้]

มีรูปร่างอ้วนกลมคล้ายตุ๊กตา ตากลมโต หูมีขนาดเล็กและสั้น แขนขาค่อนข้างสั้น นิ้วที่สองจะมีเล็บที่ยาวและงองุ้มเข้าหาตัว หางสั้นมากจนแทบไม่มีหาง มีสีขนที่หลากหลาย ขนนุ่มละเอียด สั้น เหมือนกำมะหยี่ บางตัวอาจมีสีเทา บางตัวอาจมีสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเหลืองนวล ๆ หรือบางตัวอาจมีสีดำ สันหลังมีเส้นสีเข้มลากยาวลงมาจากหัวถึงกลางหลัง มีความยาวลำตัวและหัว 30-38 เซนติเมตร ความยาวหาง 1-2 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม

แหล่งที่อยู่[แก้]

มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย และ เกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย

ลิงลมใต้ สามารถปรับตัวให้อยู่ในป่าทุกสภาพ แม้แต่ป่าที่ถูกแผ้วถางแล้ว มักเคลื่อนย้ายไปมาบนยอดไม้ หากินในเวลากลางคืน นอนหลับพักผ่อนในเวลากลางวัน โดยอาหารหลัก คือ แมลง และสัตว์เลื้อยคลาน มีพืชและผลไม้เป็นอาหารเสริม ตัวผู้จะดื่มน้ำในปริมาณมากและปัสสาวะรดไว้ตามต้นไม้ เพื่อประกาศอาณาเขต ปกติเคลื่อนตัวอย่างเชื่องช้า แต่สามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็วยามจับแมลงกิน และเคลื่อนไหวได้รวดมากเป็นพิเศษเมื่อถูกลมพัดแรง ๆ เวลาตกใจหรือถูกจับได้จะชอบซุกหน้าไว้ในแวงแขน ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ใช้เวลาตั้งท้อง 90 วัน และมีระยะเวลาให้นมลูกประมาณ 193 วัน

ในอดีตพบบ่อย ตามชายป่า แต่ในปัจจุบัน ลดปริมาณลงมาก เนื่องจากถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยงและถูกล่าเพื่อปรุงยาสมุนไพร รวมทั้งเป็นอาหารของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณชายป่าด้วย[3]

หมายเหตุ[แก้]

โดยลิงลมใต้ เดิมเคยเชื่อว่าเป็นลิงลมเพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันได้มีการจำแนกออกเป็นชนิดใหม่ คือ ลิงลมเหนือ (N. bengalensis) จึงได้ชื่อใหม่เป็น "ลิงลมใต้" [4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Nekaris, A. & Streicher, U. (2008). "Nycticebus coucang". IUCN Red List of Threatened Species. Version Vulnerable A2cd ver 3.1. สืบค้นเมื่อ 30 June 2008.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Table 2 b: taxonomic names and synonyms used by several authors: genus, species, subspecies, populations" (PDF). Loris and potto conservation database. loris-conservation.org. 4 February 2003. p. 3. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
  3. กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. ISBN 978-9749-906-651
  4. การจำแนกลิงลมในประเทศไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nycticebus coucang ที่วิกิสปีชีส์