ลายใบอะแคนทัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลายแกะสลักใบอะแคนทัสแบบนอร์ดิก
ลายอะแคนทัสออกแบบโดยวิลเลียม มอร์ริส

ลายใบอะแคนทัส (อังกฤษ: acanthus) เป็นลวดลายการตกแต่งทางศิลปะที่เป็นมักจะเห็นกันเสมอที่เป็นการตกแต่งด้วยใบไม้[1] ในงานสถาปัตยกรรมจะเป็นประติมากรรมที่แกะหินหรือไม้ออกมาเป็นใบไม้ตามลักษณะของใบอะแคนทัสจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่มีลักษณะคล้ายใบทิสเซิล, ต้นฝิ่น หรือพาร์สลีย์

ลายอะแคนทัสเป็นลายที่พบเสมอในการแกะหัวเสาแบบคอรินเทียนและแบบผสม (Composite order) และใช้ในการตกแต่งเป็นบัวนูน (frieze) รอบตอนบนของสิ่งก่อสร้างเป็นต้น กรีกโบราณเป็นชนกลุ่มแรกที่ใช้ลายใบอะแคนทัสในการตกแต่งและมาวิวัฒนาการให้วิจิตรขึ้นโดยการม้วนปลายใบโดยโรมัน ลายนี้ก็ยังคงนิยมใช้กันต่อมาถึงสมัยไบแซนไทน์, โรมาเนสก์ และกอทิก และมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

ลายอะแคนทัสใช้ในการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคาร ภายในอาคารก็ใช้ตกแต่งเป็นบัวประกบ (crown molding) ที่ใช้ในตกแต่งส่วนบนเช่นตอนบนของหัวเสาอิงหรือตอนบนของตู้ นอกจากนั้นก็ยังใช้ในงานศิลปะของยุคกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาโดยเฉพาะในงานประติมากรรม งานแกะสลักไม้ และงานบัวนูน

ความสัมพันธ์ระหว่างใบอะแคนทัสที่เป็นเครื่องตกแต่งกับใบอะแคนทัสที่เป็นพันธุ์ไม้เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันมานาน นักประวัติศาสตร์ศิลปะอาโลอิส รีเกิล (Alois Riegl) โต้ไว้ในหนังสือ "Stilfragen" ว่าอะแคนทัสที่เป็นเครื่องตกแต่งที่วิวัฒนาการมาจากลายใบปาล์ม (palmette) และมาละม้ายใบอะแคนทัส (Acanthus spinosus) เอาทีหลัง[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Philippa Lewis & Gillian Darley, Dictionary of Ornament (1986) Pantheon: NY
  2. A. Riegl, tr. E. Kain, Problems of style: foundations for a history of ornament (Princeton, 1992), 187-206.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลายใบอะแคนทัส