ลานีญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาวะปกติ
ปรากฏการณ์ลานีญา

ลานีญา (สเปน: La Niña) เป็นปรากฏการณ์บรรยากาศมหาสมุทรคู่กันซึ่งเกิดขึ้นคู่กับเอลนีโญอันเป็นส่วนหนึ่งของเอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ ในช่วงที่เกิดลานีญา อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางตะวันออกแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ 3-5 °C ชื่อลานีญามาจากภาษาสเปน หมายถึง "เด็กหญิง" คล้ายกับเอลนีโญที่หมายถึง "เด็กชาย"

ลานีญา หรือที่บางทีเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "แอนติเอลนีโญ" เป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญนี้จะเป็นช่วงที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 0.5 °C และผลกระทบของลานีญามักจะตรงกันข้ามกับของเอลนีโญ เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่มีชื่อเสียงเนื่องจากสามารถมีผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพอากาศของทั้งชายฝั่งชิลี เปรูและออสเตรเลีย รวมทั้งอีกหลายประเทศ ลานีญามักเกิดขึ้นหลังปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง

ผลกระทบ[แก้]

ผลกระทบของลานีญาในแต่ละภูมิภาคของโลก

ผลกระทบของลานีญาส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับของเอลนีโญ ตัวอย่างเช่น เอลนีโญจะทำให้เกิดช่วงฝนตกในแถบสหรัฐอเมริกาตอนกลางตะวันตก ขณะที่ลานีญาจะทำให้เกิดช่วงแห้งแล้งในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ลานีญาทำให้เกิดฝนตกหนัก สำหรับอินเดีย เอลนีโญมักเป็นสาเหตุของความกังวลเพราะผลของมันที่ตรงกันข้ามกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเคยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2552 แต่ลานีญา มักเป็นประโยชน์สำหรับฤดูมรสุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลัง แต่ลานีญาซึ่งปรากฏในมหาสมุทรแปซิฟิกยังอาจทำให้ฝนตกหนักในออสเตรเลีย ซึ่งเกิดเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งโดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐควีนส์แลนด์จมอยู่ใต้น้ำจากอุทกภัยอันเกิดจากสัดส่วนผิดปกติหรือถูกพายุหมุนเขตร้อนพัดถล่ม ซึ่งรวมไปถึงพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 ไซโคลนยาซี่ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความหายนะแบบเดียวกันในบราซิลตะวันออกเฉียงใต้และมีส่วนทำให้เกิดฝนตกหนักและอุทกภัยตามมาในศรีลังกา

การเกิดล่าสุด[แก้]

ความผิดปกติของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 แสดงปรากฏการณ์ลานีญา

มีช่วงลานีญาเกิดขึ้นรุนแรงระหว่าง ลานีญาจะส่งผลกระทบรุนแรงพ.ศ. 2531-2532 ลานีญายังได้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2538 และใน พ.ศ. 2542-2543 ลานีญาไม่รุนแรงนักเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2543-2544 ลานีญาซึ่งเกิดขึ้นในกลาง พ.ศ. 2550 และเกิดขึ้นจนถึงต้น พ.ศ. 2552 นั้น เป็นลานีญาความรุนแรงปานกลาง NOAA คาดว่าลานีญาความรุนแรงปานกลางที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นต่อไปจนถึง พ.ศ. 2551 ตามข้อมูลของ NOAA "ผลกระทบของลานีญาที่คาดการณ์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม รวมถึงการดำเนินไปของหยาดน้ำฟ้าสูงกว่าปกติเหนืออินโดนีเซีย และหยาดน้ำฟ้าต่ำกว่าปกติเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางแถบเส้นศูนย์สูตร สำหรับสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นรวมไปถึงหยาดน้ำฟ้ามากกว่าปกติทางเหนือของเทือกเขาร็อกกี แคลิฟอร์เนียเหนือ และในภูมิภาคใต้และตะวันตกของแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าทางใต้จะมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่าปกติลดหลั่นลงมาทางใต้ โดยเฉพาะในรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้"[1]

อย่างไรก็ตาม เอลนีโญย้อนกลับมาเกิดอีกในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งดำเนินไปกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ผลกระทบของเอลนีโญเห็นได้ชัดในช่วงฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2552 เมื่อพายุหมุนเขตร้อน ไอดา เพิ่มกำลังแรงขึ้นเป็นพายุชายฝั่งอันรุนแรง[2][3]

ช่วงลานีญาใหม่เกิดขึ้นค่อนข้างรวดเร็วในแปซิฟิกตะวันออกและกลางเขตร้อนในกลาง พ.ศ. 2553[4] และคงอยู่ถึงต้น พ.ศ. 2554[1] ลานีญานี้ ประกอบกับอุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นปัจจัยสำคัญในอุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์ พ.ศ. 2553-2554[5] และพายุหิมะรุนแรงในทวีปอเมริกาเหนือที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เหตุการณ์ลานีญาเดียวกันนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะทำให้เกิดพายุหมุนทอร์นาโดหลายลูกที่มีความรุนแรงสูงผิดปกติซึ่งพัดถล่มสหรัฐอเมริกาตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2554[6]

เหตุการณ์ลานีญาระหว่าง พ.ศ. 2493 และ 2554 มีดังนี้[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Climate Prediction Center: ENSO Diagnostic Discussion เก็บถาวร 2014-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cpc.noaa.gov. Retrieved on 2011-01-10.
  2. NOAA - National Oceanic and Atmospheric Administration - El Niño Arrives; Expected to Persist through Winter 2009-10 เก็บถาวร 2011-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Noaanews.noaa.gov. Retrieved on 2011-01-10.
  3. Ida now a coastal low assaulting the Mid-Atlantic. Eurekalert.org (2009-11-12). Retrieved on 2011-01-10.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-30. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  5. "Why is Queensland flooded?". BBC News. 2011-01-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-16. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  6. Tornadoes whipped up by wind, not climate: officials. www.physorg.com. Retrieved on 2011-04-30.
  7. "Cold and warm episodes by season". Climate Prediction Center NOAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-30. สืบค้นเมื่อ 12 January 2011.