ลักษณะแอลบีโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวอังคารเมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์

ลักษณะแอลบีโด (อังกฤษ: albedo feature) หมายถึง พื้นที่ขนาดใหญ่บนพื้นผิวของดาวเคราะห์ (หรือวัตถุในระบบสุริยะอื่นๆ) ซึ่งมีความสว่างหรือความมืดตัดกับบริเวณรอบข้างอย่างชัดเจน

ตามประวัติศาสตร์ ลักษณะแอลบีโดเป็นลักษณะแรกของดาวอังคารและดาวพุธที่ถูกค้นพบและตั้งชื่อ แผนที่ฉบับแรกๆ (เช่น แผนที่ของจิโอวานนี่ สเคียปาเรลลี[1] และยูจีน แอนโตเนียดี) ก็แสดงเพียงแค่ลักษณะแอลบีโดเท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนายานสำรวจอวกาศขึ้น ลักษณะพื้นผิวอื่นๆเช่น หลุมอุกกาบาต จึงถูกค้นพบ

ลักษณะนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า เรจิโอ บนที่อื่นๆนอกเหนือไปจากบนดาวอังคารและดาวพุธ

เราไม่สามารถมองเห็นลักษณะแอลบีโดที่โดดเด่นผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ได้บนวัตถุที่ถูกปกคลุมไปด้วยชั้นบรรยากาศที่หนามาก เช่น บนดาวศุกร์หรือดวงจันทร์ไททัน เนื่องจากพื้นผิวจะถูกกลุ่มเมฆและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศต่างๆบดบังอยู่ตลอดเวลา

ลักษณะแอลบีโดที่ถูกค้นพบเป็นลักษณะแรกบนดาวเคราะห์ดวงอื่นคือ ซีร์ทิส เมเจอร์ บนดาวอังคารเมื่อศตวรรษที่ 17[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ley, Willy and von Braun, Wernher The Exploration of Mars New York:1956 The Viking Press Pages 70-71 Schiaparelli's original map of Mars
  2. Morton, Oliver (2002). Mapping Mars: Science, Imagination, and the Birth of a World. New York: Picador USA. pp. 14–15. ISBN 0-312-24551-3.
  3. William Sheehan. "The Planet Mars: A History of Observation and Discovery - Chapter 4: Areographers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.