ฤทัย ใจจงรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤทัย ใจจงรัก
เกิด17 มกราคม พ.ศ. 2478
ฤทัย ใจจงรัก
อาชีพศิลปิน, สถาปนิก
ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ - ศิลปะสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2543

รองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2478 เป็นสถาปนิกชาวไทย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ประจำปีพุทธศักราช 2543

ประวัติ[แก้]

รองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก เกิดที่ ตำบลมหานาค อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยศิลปากร ประกาศนียบัตรชั้นสูงสถาปัตยกรรมไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากที่สำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้เริ่มปฏิบัติงานด้านสถาปัตยกรรมในปี พ.ศ. 2507 โดยทดลองปฏิบัติราชการในตำแหน่งอาจารย์โท คณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ปฏิบัติราชการมาตลอดจนได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ภาควิชาศิลปะสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลงานทางวิชาการของรองศาสตราจารย์ ฤทัย ที่ทำมาตลอด มีทั้งงานด้านการวิจัย งานเรียบเรียงเอกสารทางวิชาการ งานเขียนบทความทางวิชาการ ฯลฯ ส่วนผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมนั้น รองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก ได้ออกบแบบงานทางสถาปัตยกรรม ที่มีเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยอันสมบูรณ์ทั้งด้านความงามและประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น

นอกจากนั้นรองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก ยังได้รับเกียรติเป็นวิทยากรเป็นอนุกรรมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นในด้านการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทยประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2539 และประเภทบุคคลดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2540 วันอนุรักษ์มรดกไทย นับเป็นผู้หนึ่งที่สร้างคุณประโยชน์ต่อการศึกษาศิลปะสถาปัตยกรรม

และยังได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2540 รางวัลบุคคลตัวอย่างการส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลงานสถาปัตยกรรมที่ได้สร้างสรรค์นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตน มีการออกแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยเดิมและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

รองศาสตราจารย์ ฤทัย ใจจงรัก จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ประจำปีพุทธศักราช 2543

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗๐, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓