ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2555–2556

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2555–2556
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว{{{ระบบแรกก่อตัว}}}
ระบบสุดท้ายสลายตัว{{{ระบบสุดท้ายสลายตัว}}}
สถิติฤดูกาล
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดไม่ทราบ
ความเสียหายทั้งหมดไม่ทราบ
Related articles
ฤดู

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2555-2556 เป็นฤดูกาลปัจจุบันซึ่งยังมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน โดยจะเริ่มนับในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

แผนปฏิบัติงานพายุไซโคลนเขตร้อนในภูมิภาคถูกกำหนดเป็น "ปีพายุหมุนเขตร้อน" แยกจาก "ฤดูพายุหมุนเขตร้อน" โดย "ปีพายุหมุนเขตร้อน" เริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556[1]

ขอบเขตของภูมิภาคออสเตรเลียจะอยู่ที่พิ้นที่ตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตร ทางตะวันออก 90°ตะวันออก และทางตะวันตกของ 160°ตะวันออก ซึ่งครอบคลุมออสเตรเลีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน, ติมอร์-เลสเต และภาคใต้ของอินโดนีเซีย[1]

พายุหมุนเขตร้อนในบริเวณนี้จะถูกตรวจสอบโดย ศูนย์เตือนภัยไซโคลนเขตร้อน (TCWCs) : ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลียในเพิร์ท, ดาร์วิน และบริสเบน ; TCWC จาการ์ตาในอินโดนีเซีย ; TCWC พอร์ตมอร์สบีในปาปัวนิวกินี[1] ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น จะใช้การเตือนภัยอย่างไม่เป็นทางการสำหรับภูมิภาค โดยดีเปรสชันเขตร้อนทางตะวันตกของ 145°ตะวันออก จะมีการกำหนดหมายเลข และเติม "S" ต่อท้าย และเติม "P" ต่อท้าย เมื่อมีพายุทางตะวันออกของ 145°ตะวันออก

พายุ[แก้]

ไซโคลนเขตร้อนฟรีด้า[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 December (Entered basin) – 29 December (Exited basin)
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

ไซโคลนเขตร้อนมิทเชล[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 December – 30 December
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

ไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงนาเรล[แก้]

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 5 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 January – 14 January
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน[แก้]

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 12 มกราคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1003 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.62 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุที่เกิดขึ้น[แก้]

TCWC จาการ์ตา[แก้]

TCWC จาการ์ตา จะกำหนดชื่อของพายุไซโคลนเขตร้อนจากเส้นศูนย์สูตรที่ระยะ 11°ใต้ ถึง 135°ตะวันออก เมื่อดีเปรสชันทวีความรุนแรงเป็นไซโคลนเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตา ศูนย์ก็จะเป็นผู้กำหนดชื่อของพายุจากรายการ[1] โดยชื่อต่อไปที่จะถูกใช้ต่อไปคือ บากุง

บากุง (ยังไม่ใช้) เกมปากา (ยังไม่ใช้) ดาฮ์เลีย (ยังไม่ใช้) เฟลมโบยัน (ยังไม่ใช้) เคนันกา (ยังไม่ใช้)
ลีลี (ยังไม่ใช้) มาวาร์ (ยังไม่ใช้) เซโรจา (ยังไม่ใช้) เทราไท (ยังไม่ใช้) อังเกรก (ยังไม่ใช้)

TCWC พอร์ตมอร์สบี[แก้]

ถ้าพายุไซโคลนเขตร้อนพัฒนาขึ้นในตอนเหนือของ 11°ใต้ ระหว่าง 151°ตะวันออกถึง 160°ตะวันออก TCWC พอร์ตมอร์สบี จะเป็นผู้ประกาศใช้ชื่อพายุ โดยพายุบริเวณนี้จะก่อตัวได้ยากมากโดยครั้งล่าสุดที่มีการก่อตัวและพัฒนาของพายุคือเมื่อปี พ.ศ. 2550[2]

อาลู (ยังไม่ใช้) บูรี (ยังไม่ใช้) โดโด (ยังไม่ใช้) เอเมา (ยังไม่ใช้) เฟเร (ยังไม่ใช้) ฮีบู (ยังไม่ใช้) อีลา (ยังไม่ใช้) กามา (ยังไม่ใช้) โลบู (ยังไม่ใช้) มาลีอา (ยังไม่ใช้)

ศูนย์อุตุนิยมวิทยา[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-52 มีเพียงหนึ่งรายชื่อที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาเป็นผู้ประกาศใช้[1] อย่างไรก็ตามศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลียยังคงทำงานอยู่ในเมืองต่างๆ คือ เพิร์ท, ดาร์วิน และบริสเบน โดยมีหน้าที่ตรวจสอบพายุไซโคลนเขตร้อนที่ก่อตัวทั้งหมดในภูมิภาคออสเตรเลีย และออกคำแนะนำพิเศษให้ทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตาหรือ TCWC พอร์ตมอร์สบี โดยชื่อต่อไปที่จะถูกใช้ต่อไปคือ มิทเชล

มิทเชล (ยังไม่ใช้) นาเรล (ยังไม่ใช้) ออสวาล์ด (ยังไม่ใช้) เปตา (ยังไม่ใช้) รูสตี้ (ยังไม่ใช้) แซนดร้า (ยังไม่ใช้) ทิม (ยังไม่ใช้)
วิคตอเรีย (ยังไม่ใช้) ซาเน (ยังไม่ใช้) อาเลสเซีย (ยังไม่ใช้) บรูซ (ยังไม่ใช้) คริสเตียน (ยังไม่ใช้) ดีลัน (ยังไม่ใช้) เอ็ดนา (ยังไม่ใช้)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Tropical Cyclone Operational plan for the South Pacific & Southeast indian Ocean, 2010 Edition" (PDF). WMO. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
  2. Gary Padgett (2008). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary October". Australian Severe Weather. สืบค้นเมื่อ 2012-07-01.[ลิงก์เสีย]