ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัว31 ตุลาคม พ.ศ. 2561
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อไมเคิล
 • ลมแรงสูงสุด160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด919 มิลลิบาร์ (hPa; 27.14 inHg)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด16 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด15 ลูก
พายุเฮอริเคน8 ลูก
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่
(ระดับ 3 ขึ้นไป)
2 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด173 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 5.0205 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2018)
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก
2559, 2560, 2561, 2562, 2563

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561 คือช่วงของฤดูกาลในอดีต ที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นฤดูกาลต่อเนื่องฤดูกาลที่สามแล้วที่มีการก่อตัวของพายุหมุนและสร้างความเสียหายมากกว่าค่าปกติ โดยมีพายุทั้งหมด 15 ลูกพัฒนาขึ้นเป็นถึงพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ ในจำนวนนั้นมี 8 ลูกที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน และในจำนวนนั้นมี 2 ลูกที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นถึงพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ ความเสียหายรวมในฤดูกาลนี้อยู่ที่ 3.33 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2018) ฤดูกาลอย่างเป็นทางการนั้นเริ่มนับในวันที่ 1 มิถุนายน 2561 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 วันเหล่านี้ตามขอบระยะเวลาของแต่ละช่วงฤดูถือเป็นช่วงเวลาที่มีพายุก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแอตแลนติก อย่างไรก็ตามการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ทุกเวลา

พายุลูกแรกก่อตัวขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุโซนร้อน ชื่อ อัลเบร์โต ทำให้ฤดูกาลของปีนี้เริ่มต้นในวันดังกล่าว ซึ่งทำให้มันกลายเป็นฤดูกาลที่สี่ติดต่อกันแล้ว ที่มีพายุลูกแรกก่อตัวขึ้นก่อนวันเริ่มต้นฤดูกาลอย่างเป็นทางการ (1 มิถุนายน) พายุลูกต่อมาคือ เบริล ซึ่งก่อตัวและพัฒนาขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนลูกแรกของฤดูกาลนี้ ทั้งยังเป็นพายุเฮอริเคนลูกแรกที่ก่อตัวขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมของแอตแลนติกตะวันออก นับตั้งแต่พายุเฮอริเคนเบอร์ทาในปี 2551 ต่อมาในวันที่ 10 กรกฎาคม คริส ก็ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนเช่นกัน ทำให้มันกลายเป็นพายุเฮอริเคนที่ก่อตัวเร็วเป็นลูกที่สองของฤดูกาล ตั้งแต่ฤดูกาลปี 2548 ถัดมาในช่วงเดือนสิงหาคมไม่มีพายุเฮอริเคนในแอ่งนี้ จนวันที่ 5 กันยายน ฟลอเรนซ์ ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกแรกของฤดูกาล วันที่ 12 กันยายน จอยซ์ ก่อตัวขึ้น ทำให้ฤดูกาล 2561 นี้เป็นฤดูกาลแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2551 ที่มีพายุก่อตัวขึ้นและได้รับชื่อในเวลาเดียวกันถึง 4 ลูก (อันได้แก่ ฟลอเรนซ์, เฮเลน, ไอแซก และ จอยซ์) วันที่ 9 ตุลาคม ไมเคิล ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่สองของฤดูกาล วันต่อมา มันได้กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนสามอันดับแรกที่ทรงพลังที่สุด ที่พัดขึ้นฝั่งสหรัฐ ในแง่ของความกดอากาศ เป็นรองเหตุการณ์พายุเฮอริเคนวันแรงงาน ค.ศ. 1935 และพายุเฮอริเคนคามิลล์ในฤดูกาล พ.ศ. 2512 ต่อมาจากการก่อตัวของ ออสการ์ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ทำให้ฤดูกาลนี้กลายเป็นฤดูกาลแรกที่พายุก่อตัวขึ้นและไปถึงจุดที่เป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อนในจุดใดจุดหนึ่งของช่วงชีวิตพายุ โดยมีพายุในลักษณะดังกล่าวถึง 7 ลูก ได้แก่ (อัลเบร์โต, เบริล, เดบบี, เอร์เนสโต, จอยซ์, เลซลี และ ออสการ์)

ขณะที่กลุ่มผลการพยากรณ์ส่วนใหญ่จะให้ว่ามีกิจกรรมของพายุหมุนน้อยกว่าค่าปกติ เนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในเขตร้อนของแอตแลนติกที่เย็นกว่าปกติ และการคาดหมายการก่อตัวของเอลนีโญ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงดังกล่าวแล้วเอลนีโญกลับไม่ก่อตัวขึ้นและยับยั้งกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนได้ดังคาด ทำให้กิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนนั้นมากกว่าที่พยากรณ์ไว้ไปมาก

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561 กลายเป็นฤดูที่มีพายุได้รับชื่อในเวลาพร้อม ๆ กันมากที่สุด จากภาพแสดงให้เห็นฟลอเรนซ์ (ทางซ้าย), ไอแซก (ตรงกลางด้านล่าง), เฮเลน (ทางขวาด้านล่าง) และ จอยซ์ (ทางขาวด้านบน) เมื่อวันที่ 12 กันยายน

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก (SSHWS)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)

พายุ[แก้]

พายุโซนร้อนอัลเบร์โต[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 31 พฤษภาคม
ความรุนแรง 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที)
990 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลแคริบเบียน ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาระหว่างความกดอากาศต่ำระดับบน (Upper-level low) และร่องพื้นผิวกำลังอ่อน[1] โดยหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันตกอย่างช้า ๆ ก่อนแล้วจึงเบนไปทางเหนือ และเริ่มมีการจัดระบบขึ้นภายในทะเลแคริบเบียน
  • วันที่ 25 พฤษภาคม เวลา 15:00 UTC (22:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ระบบมีความเพียงพอที่จะได้รับการจัดความรุนแรงเป็นพายุกึ่งโซนร้อน และได้ชื่อว่า อัลเบร์โต (Alberto) ขณะที่มันอยู่ห่างจากเกาะโกซูเมล รัฐกินตานาโร ประเทศเม็กซิโกไปทางใต้ประมาณ 90 กิโลเมตร[2] ทำให้ในฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่สี่ติดต่อกันแล้ว ที่มีพายุก่อตัวก่อนวันที่ฤดูกาลอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายน
  • วันที่ 26 พฤษภาคม หลังจากที่พายุเกือบไม่เคลื่อนตัวมาเกือบหนึ่งวัน อัลเบร์โตได้เริ่มเคลื่อนตัวไปทางเหนือเข้าสู่อ่าวเม็กซิโก ซึ่งมีลมเฉือนลดน้อยลงและมีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้อัลเบร์โตเริ่มทวีกำลังแรงขึ้น
  • วันที่ 28 พฤษภาคม อัลเบร์โตเปลี่ยนผ่านตัวเองมาเป็นพายุโซนร้อนโดยสมบูรณ์ และมีกำลังสูงสุดที่ความเร็วลมต่อเนื่อง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) หลังจากนั้น เนื่องจากพายุมีปฏิกิริยากับอากาศแห้ง ทำให้พายุอัลเบร์โตอ่อนกำลังลงใกล้กับชายฝั่งด้านอ่าวเม็กซิโกของสหรัฐ ก่อนจะพัดขึ้นฝั่งใกล้กับเมืองลากูนาบีช รัฐฟลอริดา สหรัฐ ในเวลาประมาณ 21:00 UTC (04:00 น. ของวันที่ 29 พฤษภาคมตามเวลาในประเทศไทย) ด้วยความเร็วลม 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.)[3] หลังจากพัดขึ้นฝั่งได้ไม่นานพายุก็อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 31 พฤษภาคม อัลเบร์โตได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นลักษณะพายุหมุนหลังเขตร้อนในที่สุด ขณะที่ปกคลุมอยู่ทางตอนเหนือของรัฐมิชิแกน โดยหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือนั้นถูกดูดซึมไปโดยระบบของแนวปะทะอากาศที่ปกคลุมอยู่เหนือรัฐออนแทรีโอในวันถัดไป[4]

พายุเฮอริเคนเบริล[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 16 กรกฎาคม
ความรุนแรง 80 ไมล์/ชม. (130 กม./ชม.) (1 นาที)
991 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.26 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 3 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มติดตามเส้นทางเดินของคลื่นเขตร้อนเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกด้านตะวันออก ซึ่งมีโอกาสจะพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้ คลื่นเขตร้อนมีการรวมตัวอย่างรวดเร็วในขณะที่กำลังเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก
  • วันที่ 5 กรกฎาคม เวลา 15:00 UTC (22:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ระบบได้รวมตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนขณะที่อยู่บริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก[5] สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้ออำนวยให้ระบบขนาดเล็กทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ เบริล (Beryl) ในเวลา 18:30 UTC (01:30 น. ของวันที่ 6 กรกฎาคม ตามเวลาในประเทศไทย)[6]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม เวลา 06:00 UTC (13:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) เบริลได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 โดยรูตาขนาดเล็กปรากฏให้เห็นเด่นชัด[7] เมื่อมันถูกกำหนดให้เป็นพายุเฮอริเคน มันจึงกลายเป็นพายุที่กลายเป็นพายุเฮอริเคนเร็วที่เป็นลำดับที่สอง ในพื้นที่พัฒนาหลัก (ทางใต้ของเส้นขนานที่ 20 องศาเหนือ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันตก ถึง เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก) เป็นรองจากพายุเฮอริเคนลูกที่สองเมื่อปี 2476[8] การทวีกำลังนี้เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น เนื่องจากการไหลเวียนระดับต่ำไปเร่งให้เกิดการเฉือนบนพายุหมุน และเป็นเหตุให้อ่อนกำลังลง
  • วันที่ 7 กรกฎาคม เบริลอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในเวลา 15:00 UTC (22:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)[9]
  • วันที่ 8 กรกฎาคม อากาศยานลาดตระเวนของกองทัพอากาศสหรัฐได้บินสืบสำรวจพายุในช่วงรุ่งเช้าของวัน และพบว่าเบริลอ่อนกำลังลงเป็นร่องเปิด (Open trough) ส่วนศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้ปรับลดความรุนแรงของเบริลเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลา 21:00 UTC (04:00 น. ของวันที่ 9 กรกฎาคม ตามเวลาในประเทศไทย)[10] โดยส่วนที่หลงเหลือของเบริลยังถูกติดตามอยู่หลายวันนับจากนั้น แม้ว่าจะเกิดการจัดระบบเพียงเล็กน้อยในเวลานั้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทำให้มีการพัฒนาของพายุใหม่อีกครั้ง
  • วันที่ 14 กรกฎาคม เวลา 17:00 UTC (00:00 น. ของวันที่ 15 กรกฎาคม ตามเวลาในประเทศไทย) เบริลถูกจัดให้เป็นพายุกึ่งโซนร้อนอีกครั้งในขณะที่อยู่ใกล้กับเกาะเบอร์มิวดา โดยพายุที่เพิ่งฟื้นตัวเริ่มที่จะสูญเสียการพาความร้อนไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอากาศแห้งที่แทรกซึมเข้าไปในระบบพายุ
  • วันที่ 16 กรกฎาคม เวลา 03:00 UTC (10:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) เบริลอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลืออีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ตัวพายุขาดการจัดการพาความร้อนไปมากกว่าสิบสองชั่วโมง[11]

พายุเฮอริเคนคริส[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 12 กรกฎาคม
ความรุนแรง 105 ไมล์/ชม. (165 กม./ชม.) (1 นาที)
970 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.64 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มติดตามระบบที่มีศักยภาพพัฒนาของบริเวณความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นใกล้กับเบอร์มิวดาในการหมุนเวียนของความกดอากาศต่ำ[12]
  • วันที่ 3 กรกฎาคม มีความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนก่อตัวขึ้นห่างจากเมอร์มิวดาไปทางใต้ประมาณ 100 ไมล์[13] มีฝนตกและพายุฟ้าคะนองและมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่กัลฟ์สตรีม
  • วันที่ 6 กรกฎาคม เวลา 21:00 UTC หย่อมความกดอากาศต่ำจัดระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนสาม ขณะที่มันอยู่นอกชายฝั่งของรัฐนอร์ทแคโรไลนา การทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันนี้ช้า เนื่องจากการหมุนเวียนนั้นยืดขยายออก[14]
  • วันที่ 8 กรกฎาคม แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลา 09:00 UTC พายุดีเปรสชันเขตร้อนสาม ถูกปรับเพิ่มความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ คริส (Chris)[15] แม้ว่าการพยากรณ์จะบอกว่า คริสจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนในวันรุ่งขึ้น แต่เนื่องจากการล่วงล้ำของอากาศแห้งและการลอยตัว เป็นผลให้พายุมีการทวีกำลังแรงขึ้นเพียงเล็กน้อยในระหว่างวัน
  • วันที่ 9 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม คริสสามารถนำอากาศแห้งออกจากการหมุนเวียนของมันได้ โดยการเพิ่มความเร็วการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่พื้นที่ที่มีน้ำอุ่นขึ้น โดยมีตาแจ่มชัดและปรากฏให้เห็นอย่างน่าทึ่งผ่านภาพถ่ายดาวเทียน
  • วันที่ 10 กรกฎาคม เวลา 21:00 UTC ในที่สุด คริสก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน[16]
  • วันที่ 11 กรกฎาคม เวลา 03:00 UTC คริสได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 โดยแถบการพาความร้อนภายในแกนเปลี่ยนผ่านไปเป็นกำแพงตาอย่างเต็มรูปแบบ[17] อย่างไรก็ตาม ตาของพายุเฮอริเคนเริ่มที่จะรุ่งริ่งในภายหลังและไม่แจ่มชัด ทำให้มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 ในเวลา 21:00 UTC[18]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม ในขณะที่พายุเคลื่อนที่ข้ามกัลฟ์สตรีมต่อเนื่อง คริสได้อ่อนกำลังลงโดยมีความรุนแรงต่ำกว่าพายุเฮอริเคนในเวลา 09:00 UTC[19] ในเวลานี้ คริสได้เริ่มกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และยังเกิดการขยายออกของสนามลมอีกด้วย คริสได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และรวมเข้ากับระบบแนวปะทะอากาศในอีกหกชั่วโมงต่อมา[20]

ในวันที่ 7 มีผู้ชายคนหนึ่งเสียชีวิตจากการจมน้ำในทะเลที่มีพายุรุนแรง โดยคาดว่าเป็นพายุที่เมืองคิลเดวิลฮีลส์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา[21] ตัวพายุหมุนนอกเขตร้อนทำให้เกิดฝนตกหนักและลมกระโชกแรงในท้องที่นิวฟันด์แลนด์และลาบราดอร์ ในเมืองแกนเดอร์ วัดปริมาณน่ำฝนสูงสุดที่ 3.0 นิ้ว (76 มม.) ขณะที่ในเมืองเฟอร์รีแลนด์ วัดความเร็วลมได้ถึง 60 ไมล์/ชม. (96 กม./ชม.)[22] ปริมาณน้ำฝนสะสมสูงสุดในเกาะแซเบิลวัดได้ที่ 4.39 นิ้ว (111.6 มม.)[23]

พายุโซนร้อนเดบบี[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 4 สิงหาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อน ในมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน[24] ในขั้นแรก การพาความร้อนยังมีอยู่ในระดับที่จำกัด โดยระบบส่วนมากมีการพาความร้อนที่น้อยหมุนรอบทำปฏิกิริยากับความกดอากาศต่ำชั้นบน
  • วันที่ 7 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม ระบบเข้าสู่บริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมมากขึ้น โดยเริ่มมีคุณลักษณะแบบกึ่งเขตร้อนขึ้น เวลา 15:00 UTC หย่อมความกดอากาศต่ำพัฒนาตัวขึ่น โดยมีการพาความร้อนและถูกจัดให้เป็นพายุกึ่งโซนร้อน เดบบี (Debby)[25] โดยระบบพายุเริ่มมีลักษณะของพายุหมุนเขตร้อนมากขึ้น ในขณะที่มันเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ
  • วันที่ 8 สิงหาคม เวลา 09:00 UTC เดบบีกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ โดยมีความเร็วลมสูงสุดเพิ่มขึ้นไปที่ 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.)[26] แม้ว่าอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรจะไม่สูงก็ตาม เดบบียังคงทวีกำลังแรงขึ้น โดยมีความรุนแรงสูงสุดที่ความเร็วลม 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.)[27] จากนั้นมาเดบบีจึงอ่อนกำลังลง
  • วันที่ 9 สิงหาคม เดบบีอ่อนกำลังลงและเริ่มสูญเสียคุณลักษณะของเขตร้อนไป ในเวลา 21:00 UTC เดบบีอ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนหลังเขตร้อน ในขณะที่มันเคลื่อนที่เร่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ นำหน้าร่องคลื่นสั้นไป[28]

พายุโซนร้อนเอร์เนสโต[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
999 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.5 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 12 สิงหาคม ระบบหย่อมความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนที่ซับซ้อนก่อตัวขึ้นบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ[29]
  • วันที่ 14 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงใต้และอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ และมีหย่อมความกดอากาศต่ำหย่อมใหม่ก่อตัวขึ้น ทางด้านตะวันออกของหย่อมเดิม[30]
  • วันที่ 15 สิงหาคม เวลา 09:00 UTC หย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นนั้น มีการจัดระบบเพียงพอที่จะถูกจัดเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อนได้[31] ต่อมาในเวลา 15:00 UTC พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุกึ่งโซนร้อน และได้รับชื่อว่า เอร์เนสโต (Ernesto)[32]
  • วันที่ 16 สิงหาคม พายุหมุนกึ่งเขตร้อนเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ โดยมีการพาความร้อนเริ่มต้นขึ้นใกล้กับศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม ไม่นานนักมันได้สลายตัวไป[33] แต่กระนั้น ได้มีพลังลมฉับพลัน (burst) ของการพาความร้อนอีกระบบก่อตัวขึ้นใกล้กับศูนย์กลางภายในเวลาไม่กี่ขั่วโมงนับจากนั้น[34]
  • วันที่ 17 สิงหาคม เอร์เนสโตเริ่มเร่งความเร็วไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และระบบได้เข้าไปพัวพันอยู่ในลมกรด
  • วันที่ 18 สิงหาคม พายุได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[35]
  • วันที่ 19 สิงหาคม เศษที่หลงเหลือของเอร์เนสโตส่งผลกระทบกับประเทศไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร[36][37]

พายุเฮอริเคนฟลอเรนซ์[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 31 สิงหาคม – 17 กันยายน
ความรุนแรง 140 ไมล์/ชม. (220 กม./ชม.) (1 นาที)
939 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.73 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 28 สิงหาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มกล่าวถึง ความเป็นไปได้ว่าจะก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อนจากคลื่นเขตร้อน ที่ปรากฏขึ้นทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา[38]
  • วันที่ 30 สิงหาคม คลื่นเขตร้อนเคลื่อนตัวออกจากชายฝั่งของประเทศเซเนกัล พร้อมกับพายุฝนฟ้าคะนองที่ไม่เป็นระเบียบ[39] และหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปรากฏขึ้นอย่างแจ่มชัด[40] เนื่องจากระบบได้คุกคามหมู่เกาะกาบูเวร์ดี ทำให้ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้ริเริ่มออกคำแนะนำกับ หย่อมความกดอากาศต่ำที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้ ลูกที่ 6 ในเวลา 15:00 UTC[41]
  • วันที่ 31 สิงหาคม เวลา 21:00 UTC ระบบได้จัดระบบจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 6[42]
  • วันที่ 1 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 6 ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ฟลอเรนซ์ (Florence) โดยมีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเฉเหนือ ข้ามผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลาง
  • วันที่ 4 กันยายน เวลา 15:00 UTC ฟลอเรนซ์ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนลูกที่สามของฤดูกาล[43]
  • วันที่ 5 กันยายน ฟลอเรนซ์เผชิญกับการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วแบบกะทันหัน กลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3[44] การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 21:00 UTC โดยฟลอเรนซ์มีความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 ที่ 22°24′N 46°12′W / 22.4°N 46.2°W / 22.4; -46.2 (ฟลอเรนซ์)[45] นับเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 ที่อยู่ไกลไปทางตะวันออกมากกว่าพายุระดับ 4 ลูกอื่นในยุคดาวเทียมของมหาสมุทรแอตแลนติก[46] อย่างไรก็ตาม การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้พายุที่ทรงพลังเบนทิศทางออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่พื้นที่ของลมเฉือนแนวตั้งขนาดใหญ่[47]
  • วันที่ 7 กันยายน ผ่านมากว่า 30 ชั่วโมง ฟลอเรนซ์ได้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเป็นพายุโซนร้อน เนื่องจากลมเฉือนที่มีกำลังแรง พร้อมกับรูปแบบเมฆของพายุที่เริ่มบิดเบี้ยวไป[48]
  • วันที่ 9 กันยายน ต่อมาฟลอเรนซ์ได้เข้าสู่พื้นที่ของลมเฉือนที่น้อยลง และเข้าสู่บริเวณที่มีน้ำอบอุ่นกว่า ทำให้ฟลอเรนซ์กลับมาทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนได้อีกครั้ง[49]
  • วันที่ 10 กันยายน ฟลอเรนซ์เผชิญกับการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วครั้งที่สอง และมีกำลังเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่อีกครั้ง[50] เวลา 16:00 UTC ฟลอเรนซ์ทวีกำลังกลับเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4[51]
  • วันที่ 13 กันยายน ฟลอเรนซ์ส่งผลกระทบกับชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม ฟลอเรนซ์ได้เผชิญกับวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาและประสบกับลมเฉือนกำลังปานกลางโดยบังเอิญ ทำให้มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2[52]
  • วันที่ 16 กันยายน เมื่อพายุขึ้นฝั่งแล้ว ฟลอเรนซ์อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอย่างรวดเร็วบนแผ่นดิน โดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้ออกคำแนะนำสุดท้ายในเวลา 10:00 UTC ผ่านความรับผิดชอบของศูนย์พยากรณ์อากาศ ในขณะนั้น ฟลอเรนซ์ได้เริ่มเร่งทิศทางไปทางตะวันตกอย่างค่อยเป็นค่อยไป[53]
  • วันที่ 17 กันยายน ฟลอเรนซ์เลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ พร้อมทั้งอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดฟลอเรนซ์ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ บริเวณรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐ[54] โดยฟลอเรนซ์ยังคงคุกคามแผ่นดินต่อไป โดยทิ้งฝนปริมาณมหาศาลในอีสเทิร์นซีบอร์ด
  • วันที่ 19 กันยายน ระบบสลายตัวไปอย่างสมบูรณ์ในพื้นที่เปิดของมหาสมุทรแอตแลนติด[55]

ฟลอเรนซ์เป็นภัยคุกคามขนาดใหญ่กับชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐนอร์ทแคโรไลนาและรัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในหลายรัฐ รวมถึงรัฐเวอร์จิเนีย รัฐแมริแลนด์[56]และ วอชิงตัน ดี.ซี.ด้วย[57] ส่วนศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้ประกาศให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังพายุเฮอริเคนในเวลา 09:00 UTC ของวันที่ 11 กันยายน[58]

พายุโซนร้อนกอร์ดอน[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 8 กันยายน
ความรุนแรง 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (1 นาที)
997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 30 สิงหาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ก่อตัวขึ้นอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของแคริบเบียน และให้หย่อมดังกล่าวมีโอกาสพัฒนาขึ้น 30% ภายใน 5 วัน[59] การจัดระบบของหย่อมค่อย ๆ ดำเนินไปเรื่อย ๆ ในขณะที่มันเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ มุ่งหน้าสู่ประเทศบาฮามาส
  • วันที่ 2 กันยายน เวลา 18:00 UTC หย่อมความกดอากาศต่ำถูกปรับให้เป็นระบบที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนหมายเลขเจ็ด (Potential Tropical Cyclone Seven) และได้พยากรณ์ว่ามันจะส่งผลกระทบกับแผ่นดินในฐานะพายุโซนร้อนภายในสองวัน[60]
  • วันที่ 3 กันยายน เวลา 12:05 UTC ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ กอร์ดอน (Gordon) ขณะที่ระบบพายุกำลังเคลื่อนตัวอยู่เหนือฟลอริดาคีย์[61] แม้ว่าพายุจะทวีกำลังแรงขึ้นอีกเล็กน้อย ขณะเคลื่อนตัวปกคลุมอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดา แต่แกนกลางของพายุนั้นถูกรบกวน และการพาความร้อนที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุเริ่มที่จะไม่เป็นระบบ[62] ต่อมาพายุได้เคลื่อนตัวลงสู่อ่าวเม็กซิโกในช่วงปลายของวัน ทำให้พายุกอร์ดอนเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง และเริ่มมีการจัดระบบที่มากขึ้น โดยมีแถบของการพาความร้อนอย่างรวดเร็ว (deep convection) ก่อตัวขึ้นใกล้กับศูนย์กลางขนาดเล็กขอระบบพายุ
  • วันที่ 4 กันยายน พายุกอร์ดอนถึงความรุนแรงสูงสุด โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยต่อเนื่องใน 1 นาทีที่ 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) และเพียงไม่นานนักก็ได้พัดขึ้นฝั่งทางตะวันตกของรอยต่อระหว่างรัฐแอละแบมากับรัฐมิสซิสซิปปี[63] หลังจากพัดขึ้นฝั่งแล้ว กอร์ดอน ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 5 กันยายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติออกคำแนะนำสุดท้ายกับระบบพายุกอร์ดอนในเวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (CDT) ตัวพายุเคลื่อนตัวต่อไปในแผ่นดิน และอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และไปเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ เหนือภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ เป็นเวลาถึง 2 วัน
  • วันที่ 8 กันยายน พายุได้สลายตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ (remnant low) อย่างสมบูรณ์ โดยเศษที่หลงเหลือนี้เคลื่อนตัวต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทิ้งปริมาณน้ำฝนไว้เป็นจำนวนมาก
  • วันที่ 12 กันยายน เศษที่หลงเหลือจากพายุถูกดูดซึมไปโดยหน้าปะทะอากาศบริเวณนิวอิงแลนด์[64]

พายุเฮอริเคนเฮเลน[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 16 กันยายน
ความรุนแรง 110 ไมล์/ชม. (175 กม./ชม.) (1 นาที)
967 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.56 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 7 กันยายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ใกล้กับประเทศเซเนกัล ซึ่งเป็นหย่อมที่ก่อตัวขึ้นมาจากคลื่นในเขตร้อน ที่เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลบริเวณชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก โดยมีการพยากรณ์ว่าระบบจะพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันถัดไป[65] ระบบมีการจัดระบบอย่างรวดเร็ว ใกล้กับชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา และถูกปรับให้เป็นระบบที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนหมายเลขแปด ต่อมาในเวลา 12:00 UTC ระบบได้เคลื่อนตัวออกมาจากชายฝั่งของทวีปแอฟริกา และส่งผลกระทบต่อหมู่เกาะกาบูเวร์ดี[66] ระบบยังคงจัดระบบต่อไป และพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนแปด และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน โดยได้รับชื่อ เฮเลน (Helene) ในวันเดียวกันนั้น
  • วันที่ 9 กันยายน พายุโซนร้อนเฮเลนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 ด้วยความเร็วลม 85 ไมล์/ชม. (140 กม./ชม.) ณ 13°54′N 27°12′W / 13.9°N 27.2°W / 13.9; -27.2 (เฮเลน)[67] ตามรอยพายุเฮอริเคนเฟรดเมื่อปี 2558 ที่ก่อตัวเป็นพายุเฮอริเคนทางฝั่งตะวันออกที่สุดของบริเวณพัฒนาหลัก (Main development region หรือ MDR) ในช่วงยุคดาวเทียม[68]
  • วันที่ 10 กันยายน เวลา 15:00 UTC เฮเลนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2[69]
  • วันที่ 13 กันยายน เวลา 15:00 UTC เฮเลนอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนอย่างรวดเร็ว โดยในเวลา 21:00 UTC มีการประกาศการเฝ้าระวังพายุโซนร้อน (Tropical storm watches) ในพื้นที่อะโซร์ส
  • วันที่ 14 กันยายน เวลา 09:00 UTC มีการยกระดับการเฝ้าระวังในพื้นที่ดังกล่าวขึ้นเป็นการเตือนภัย โดยตั้งแต่เมื่อวานนี้ พายุเฮเลนมีปฏิสัมพันธ์กับพายุโซนร้อนจอยซ์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอยู่ทางตะวันตก อันเป็นผลมาจากปรากฏการณ์ฟูจิวาระ ทำให้การเคลื่อนตัวของพายุจอยซ์เกิดการหมุนทวนเข็มนาฬิการอบพายุเฮเลน[70] โดยในภายหลัง เฮเลยได้เริ่มเคลื่อนตัวเร่งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 15 กันยายน พายุเฮเลนเคลื่อนตัวผ่านบริเวณอะโซร์ส[71]
  • วันที่ 16 กันยายน พายุเฮเลนเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางบริติชไอลส์[72] และกลายเป็นชื่อของพายุลูกแรกในฤดูพายุลมทวีปยุโรป พ.ศ. 2561–2562[73]
  • วันที่ 18 กันยายน เฮเลนเคลื่อนตัวผ่านชายขอบทางตอนเหนือของประเทศไอร์แลนด์[74] ก่อนจะเลี้ยวเข้าสู่ทะเลนอร์วีเจียน[75]
  • วันที่ 22 กันยายน เศษที่หลงเหลือของเฮเลนถูกดูดซึมไปโดยพายุนอกเขตร้อนลูกอื่น[76]

ฝนที่ตกอย่างหนักจากเซลล์ตั้งต้นของคลื่นในเขตร้อนในประเทศกินี ทำให้เกิดอุทกภัยขึ้น ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 คนที่เมืองโดโกในวันที่ 6 กัรยายน[77] เมื่อเป็นพายุหมุนเขตร้อน ในวันที่ 15 กันยายน เฮเลนเคลื่อนตัวผ่านเข้าใกล้เกาะฟลอเรสในอะโซร์ส ด้วยความเร็วลมสูงสุด 62 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) หลังจากที่เปลี่ยนผ่านเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนโดยสมบูรณ์แล้ว อดีตพายุเฮอริเคนเฮเลนได้เคลื่อนตัวต่อไปส่งผลกระทบกับประเทศไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร โดยมีการเตือนภัยลมฟ้าอากาศในพื้นที่ภาคใต้และตะวันตกของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีการพยากรณ์ว่าจะมีลมพัดเร็วสูงสุด 105 กม./ชม.[78] อย่างไรก็ตาม เฮเลนอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่เกาะอังกฤษ การเตือนภัยลมฟ้าอากาศทั้งหมดจึงยุติลงในวันที่ 18 กันยายน โดยเฮเลนเคลื่อนตัวผ่านนอร์เทิร์นอิงแลนด์ และสร้างความเสียหายขึ้นเพียงเล็กน้อย

พายุเฮอริเคนไอแซก[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 15 กันยายน
ความรุนแรง 75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (1 นาที)
993 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.32 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 กันยายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มติดตามคลื่นในเขตร้อนที่อยู่บริเวณแอฟริกาตะวันตก[79]
  • วันที่ 7 กันยายน การพยากรณ์บ่งชี้ว่าคลื่นในเขตร้อนนี้มีโอกาสถึง 90% ที่จะพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนภายในไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งต่อมาในวันเดียวกันนี้ ระบบดังกล่าวที่ก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนแปด[80]
  • วันที่ 8 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า ไอแซก (Isaac)[81]
  • วันที่ 10 กันยายน พายุโซนร้อนไอแซกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 ต่อจากพายุเฮเลน โดยมีข้อสังเกตว่าระบบดังกล่าวนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก[82]
  • วันที่ 11 กันยายน เวลา 03:00 UTC พายุเฮอริเคนไอแซกอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 14 กันยายน เวลา 09:00 UTC พายุโซนร้อนไอแซกอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[83] อย่างไรก็ตาม ในเวลา 21:00 UTC ไอแซกได้กลับทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้งเป็นเวลาสั้น ๆ ก่อนจะอ่อนกำลังกลับไปเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนดังเดิมอีกครั้ง
  • วันที่ 15 กันยายน เวลา 10:00 UTC พายุดีเปรสชันเขตร้อนไอแซกสลายตัวไป โดยถูกยึดออกเป็นร่อง (trough)[84]

พายุโซนร้อนจอยซ์[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 19 กันยายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 11 กันยายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้เริ่มติดตามหย่อมความกดาอากาศต่ำนอกเขตร้อน ที่ทอดตัวอยู่ในแนวของร่องความกดอากาศต่ำ[85] ระบบมีการพัฒนาตรงกันข้ามกับการพยากรณ์ โดยหย่อมความกดอากาศต่ำมีลักษณะแบบกึ่งเขตร้อนอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 12 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุกึ่งโซนร้อน และได้รับชื่อว่า จอยซ์ (Joyce)[86]
  • วันที่ 13 กันยายน พายุจอยซ์มีปฏิสัมพันธ์กับพายุเฮอริเคนเฮเลนที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยเป็นผลมาจากปรากฏการณ์ฟูจิวาระ ทำให้จอยซ์เริ่มเคลื่อนตัวแบบหมุนทวนเข็มนาฬิการอบพายุเฮเลน[70]
  • วันที่ 14 กันยายน เวลา 03:00 UTC จอยซ์เปลี่ยนผ่านมาเป็นพายุโซนร้อน[87] และเริ่มเคลื่อนตัวไปทางตะวันออก[88] ในช่วงปลายของวัน พายุจอยซ์มีกำลังสูงสุด โดยปรากฏการจัดระบบที่มากขึ้นในภาพถ่ายดาวเทียม[89] หลังจากนั้น พายุจอยซ์จึงเริ่มอ่อนกำลังลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของลมเฉือน
  • วันที่ 16 กันยายน เวลา 15:00 UTC จอยซ์อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[90]
  • วันที่ 19 กันยายน เวลา 03:00 UTC จอยซ์อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติจึงได้ออกคำแนะนำฉบับสุดท้ายกับระบบ[91]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่เจ็ด[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 23 กันยายน
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 14 กันยายน คลื่นในเขตร้อนเคลื่อนตัวออกจากชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา พร้อมกับสัญญาณที่แสดงถึงการหมุนเวียน เมื่อคลื่นดังกล่าวเคลื่อนตัวเข้ามาในเขตร้อนของแอตแลนติกแล้ว การหมุนเวียนดังกล่าวได้อ่อนกำลังลงไปเล็กน้อย โดยตัวคลื่นมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก พร้อมกับพัฒนาการพาความร้อนและการจัดระบบที่ดีขึ้น[92]
  • วันที่ 18 กันยายน พื้นที่ขนาดใหญ่ของลมฟ้าอากาศแปรปรวนอันเกี่ยวเนื่องกับคลื่นในเขตร้อน ก่อตัวขึ้นห่างไกลจากเลสเซอร์แอนทิลลีสไปทางตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออก[93]
  • วันที่ 20 กันยายน ในขั้นเริ่มแรก ระบบขาดการหมุนเวียนที่พื้นผิว แม้ว่าจะมีการหมุนเวียนกำลังอ่อนเกิดขึ้น อีกทั้งยังคาดว่าจะมีลมระดับสูงกำลังแรง และอากาศแห้งเข้ามาจำกัดการพัฒนาของพายุด้วย[94]
  • วันที่ 22 กันยายน การพาความร้อนอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะถูกพัดให้เคลื่อนไปอยู่ด้านตะวันออกของศูนย์กลางก็ตาม ทำให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในเวลา 03:00 UTC[95]
  • วันที่ 23 กันยายน อย่างไรก็ตาม พายุดีเปรสชันล้มเหลวในการทวีกำลังแรงขึ้น ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดูเป็นมิตรกับพายุมากขึ้น ทำให้มันสลายตัวโดยถูกยึดออกเป็นส่วนหนึ่งของร่อง[96]

พายุโซนร้อนเคิร์ก[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 29 กันยายน
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
998 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 กันยายน คลื่นในเขตร้อนเคลื่อนตัวออกมาจากชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ใกล้กับประเทศเซียร์ราลีโอน[97] ตรงกันข้ามกับการพยากรณ์ที่บอกว่ามันจะมีการจัดระบบอย่างข้า ๆ โดยตัวคลื่นมีการจัดระบบอย่างรวดเร็วภายในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ในขณะที่มันเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกอย่างรวดเร็วผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกด้านตะวันออก
  • วันที่ 22 กันยายน เวลา 15:00 UTC คลื่นในเขตร้อนมีการจัดระบบอย่างเพียงพอที่จะถูกจัดให้เป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า เคิร์ก (Kirk)[98] เคิร์กเป็นพายุที่ได้รับชื่อ ณ พิกัดที่ 8.3 องศาเหนือ ทำให้มันกลายเป็นพายุที่อยู่ในละติจูดต่ำที่สุดที่เป็นพายุโซนร้อนในแอ่งแอตแลนติกเหนือ นับตั้งแต่พายุเฮอริเคนไม่มีชื่อในปี 2445[99] เมื่อเปรียบเทียบในแง่ของการก่อตัวในละติจูดต่ำที่สุดในความรุนแรงระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อน ของแอ่งแอตแลนติกเหนือนั้นตำแหน่งนี้เป็นของพายุเฮอริเคนอิซิดอร์ เมื่อปี 2533 ซึ่งก่อตัวขึ้นที่ละติจูด 7.2 องศาเหนือ[100]
  • วันที่ 24 กันยายน มีการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงเล็กน้อยเกิดขึ้น ในขณะที่เคิร์กกำลังเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วข้ามเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก และอาจเพราะความเร็วในการเคลื่อนตัวของมัน ทำให้มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[101] ก่อนสลายตัวเป็นร่องเปิด (open trough) ในเวลา 15:00 UTC[102]
  • วันที่ 26 กันยายน เศษที่เหลือของพายุยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดระบบขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว กระทั่งในเวลา 09:00 UTC เศษที่หลงเหลือของเคิร์กมีการไหลเวียนที่ดี ทำให้มันถูกจัดให้เป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง[103] และมีการประกาศใช้การเฝ้าระวังและเตือนภัยพายุโซนร้อน[104][105] ระบบพายุที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่เริ่มทวีกำลังแรงขึ้น จนในเวลา 18:00 UTC เคิร์กมีความรุนแรงสูงสุดโดยมีความเร็วลม 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.)[106] และด้วยลมเฉือนที่มีกำลังแรงทำให้มันอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ในขณะที่มันเคลื่อนตัวถึงเลสเซอร์แอนทิลลีส
  • วันที่ 28 กันยายน เวลาประมาณ 00:30 UTC เคิร์กได้พัดขึ้นฝั่งในประเทศเซนต์ลูเชีย[107] และอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่องในขณะเคลื่อนตัวไปทางทะเลแคริบเบียน โดยการไหลเวียนที่พื้นผิวเริ่มเปิดออกไปทางตะวันตกของการพาความร้อนหลัก[108]
  • วันที่ 29 กันยายน เคิร์กสลายตัวไปเป็นคลื่นในเขตร้อนเหนือด้านตะวันออกของทะเลแคริบเบียน[109]

พายุเฮอริเคนเลซลี[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 กันยายน – 13 ตุลาคม
ความรุนแรง 90 ไมล์/ชม. (150 กม./ชม.) (1 นาที)
969 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.61 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 19 กันยายน ในช่วงกลายเดือนกันยายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้เริ่มเฝ้าระวังหย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอะโซร์ส ที่อาจก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือพายุหมุนกึ่งเขตร้อนได้ในช่วงเวลานั้น[110]
  • วันที่ 22 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นนอกเขตร้อน[111]
  • วันที่ 23 กันยายน หย่อมดังกล่าวเปลี่ยนสถานะเป็นพายุเป็นพายุกึ่งโซนร้อนอย่างรวดเร็ว และได้รับชื่อจากศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติว่า เลซลี (Leslie)[112]
  • วันที่ 25 กันยายน หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงเล็กน้อยเกิดขึ้นในระยะเวลาสองวัน เลซลีก็เริ่มอ่อนกำลังลง ในขั้นแรกอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน[113] ก่อนจะกลับมาเป็นพายุหลังเขตร้อน (post-tropical) ในช่วงปลายของวัน ในขณะที่ระบบเริ่มรวมตัวเข้ากับระบบที่อยู่ข้างหน้า[114] เลซลีได้ควบรวมกับระบบข้างหน้าดังกล่าว และเริ่มเกิดวังวนพายุหมุน (Cyclonic loop) ไปทางตะวันตก รวมทั้งเกิดการทวีกำลังขึ้นในช่วงนี้ด้วย
  • วันที่ 27 กันยายน เลซลีกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่มีแรงลมระดับพายุเฮอริเคน[115]
  • วันที่ 28 กันยายน หลังจากถึงความรุนแรงสูงสุดของตัวเลซลีที่เป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแล้ว เลซลีค่อย ๆ อ่อนกำลังลง และเริ่มสูญเสียโครงสร้างแบบฟรอนทัลไป อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกันเลซลีจึงเริ่มเกิดคุณลักษณะแบบกึ่งเขตร้อนขึ้น โดยในเวลา 21:00 UTC เลซลีได้กลายเป็นพายุกึ่งโซนร้อนอีกครั้ง[116]
  • วันที่ 29 กันยายน หลังจากกลับมาทวีกำลังอีกครั้ง เลซลีได้กลายมาเป็นพายุหมุนเขตร้อนโดยสมบูรณ์[117]
  • วันที่ 3 ตุลาคม เลซลีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 และกลายเป็นพายุเฮอริเคนลูกที่หกของฤดูกาล[118] อย่างไรก็ตามพายุเลซลีได้อ่อนกำลังลงกลับไปเป็นพายุโซนร้อนในช่วงปลายของวัน โดยภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า เลซลีอาจจะกำลังอยู่ในภาวะวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา แม้ว่ามันจะมีตาพายุที่มีขนาดใหญ่มาก[119]
  • วันที่ 7 ตุลาคม เลซลีเริ่มหันทิศทางมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออก[120]
  • วันที่ 8 ตุลาคม หลังจากพ้นช่วงอ่อนกำลังลงไปแล้ว เลซลีได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนอีกครั้งในช่วงปลายของวัน[121]
  • วันที่ 10 ตุลาคม เลซลีมีความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 เป็นครั้งที่สอง[122]
  • วันที่ 13 ตุลาคม เลซลีเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่มีกำลัง ขณะที่อยู่ห่างจากลิสบอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเฉตะวันตก 190 กิโลเมตร

ในวันที่ 11 ตุลาคม มีการประกาศเตือนภัยพายุโซนร้อนในภูมิภาคปกครองตนเองมาเดรา นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเกาะ และพายุเลซลีถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่พัดเข้าใกล้หมู่เกาะในระยะ 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการบันทึกในฤดูกาล 2349 โดยก่อนหน้าพายุเลซลี คือพายุเฮอร์ริเคตวินซ์ในฤดูกาล 2548 ที่พัดเข้าใกล้หมู่เกาะมากกว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกใด[123]

ทางการของมาเดราประกาศปิดชายหาดและสวนสาธารณะ[124] เนื่องจากพายุทำให้มีเที่ยวบินของแปดสายการบินถูกยกเลิกเที่ยวบินที่บินไปยังมาเดรา การแข่งขันกีฬากว่า 180 การแข่งขันถูกยกเลิก[125]

พายุเฮอริเคนไมเคิล[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 12 ตุลาคม
ความรุนแรง 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.) (1 นาที)
919 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.14 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 ตุลาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มเฝ้าระวังหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นเหนือด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลแคริบเบียน[126] ขณะที่ลมระดับบนที่พัดแรงได้เริ่มยับยั้งการพัฒนาตัวของระบบ ความแปรปรวนของสภาพอากาศได้มีการจัดระบบที่ดีขึ้นในขณะที่มันเคลื่อนที่เลี้ยวโค้งไปทางเหนือ และจากนั้นไปทางตะวันออกตามแนวของคาบสมุทรยูกาตัน
  • วันที่ 6 ตุลาคม ระบบมีการจัดระบบเบียบทางเพียงพอที่จะประกาศให้เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้ (Potential tropical cyclone) และศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติจึงได้ออกคำแนะนำกับระบบที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนหมายเลขสิบสี่ (Potential Tropical Cyclone Fourteen)[127][128]
  • วันที่ 7 ตุลาคม ระบบพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน[129] ก่อนที่จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ไมเคิล (Michael) ในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา[130]
  • วันที่ 8 ตุลาคม พายุไมเคิลทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนอย่างรวดเร็ว[131]
  • วันที่ 9 ตุลาคม ในขณะที่พายุเฮอริเคนไมเคิลอยู่ในแนวใกล้ประชิดชายฝั่งด้านอ่าวของสหรัฐ ไมเคิลได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ โดยบรรลุความเร็วลมที่ 120 ไมล์ต่อชั่วโมง ทำให้มันกลายเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่สองของฤดูกาล[132] อย่างไรก็ตาม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้พยากรณ์ว่าพายุเฮอริเคนลูกนี้จะขึ้นฝั่งสหรัฐด้วยความเร็วลม 125 ไมล์ต่อชั่วโมง
  • วันที่ 10 ตุลาคม ข้อมูลจากเฮอริเคนฮันเตอร์ยังแสดงให้เห็นว่าพายุไมเคิลนั้นทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นพายุระดับ 4 ในเวลา เวลา 06:00 UTC มีความเร็วลม 130 ไมล์ต่อชั่วโมง[133] เวลา 18:00 UTC ไมเคิลพัดขึ้นฝั่งเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 ด้วยความเร็วลมต่อเนื่องที่ 160 ไมล์ต่อชั่วโมง (250 กม./ชม.) และมีความกดอากาศต่ำที่สุด 919 มิลลิบาร์ (27.1 นิ้วปรอท) กลายเป็นพายุที่ทรงพลัง (มีความรุนแรง) ที่สุดในฤดูกาล และยังเป็นพายุที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่สาม ในบรรดาพายุเฮอริเคนที่พัดขึ้นฝั่งสหรัฐ ในแง่ความกดอากาศที่ศูนย์กลาง[134]
  • วันที่ 12 ตุลาคม หลังจากที่พายุไมเคิลเคลื่อนที่ผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ ตัวพายุได้กลับทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากผลของแรงบารอคลินิก (Baroclinic forcing) อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นเพียงไม่นาน ระบบพายุได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[135]

หย่อมความกดอากาศต่ำที่จะพัฒนาตัวขึ้นเป็นพายุไมเคิล และหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของทวีปอเมริกากลาง ทำให้เกิดอุทกภัยในทวีปอเมริกากลาง[136] บ้านเรือนเกือบ 2,000 หลังในประเทศนิการากัวได้รับความเสียหาย ประชาชน 1,115 คนถูกอพยพ บ้านเรือนประชาชนในประเทศเอลซัลวาดอร์และฮอนดูรัสก็ได้รับความเสียหาย 253 และ 180 หลังตามลำดับ ประชาชนในทั้งสามประเทศดังกล่าวกว่า 22,700 คนได้รับผลกระทบโดยตรงจากพายุ[137] ในสหรัฐ ความเสียหายระดับมหันตภัยเกิดขึ้นในเมืองเม็กซิโกบีช รัฐฟลอริดา เนื่องจากเป็นบริเวณที่พายุพัดขึ้นฝั่งขณะมีกำลังสูงที่สุด[138] พายุไมเคิลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 60 ราย โดยอย่างน้อย 15 รายในทวีปอเมริกากลาง แบ่งเป็น ในประเทศฮอนดูรัส 8 คน[139] ประเทศนิการากัว 4 ราย และประเทศเอลซัลวาดอร์ 3 ราย[136][137] ส่วนในสหรัฐ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 57 รายทั่วรัฐฟลอริดา รัฐจอร์เจีย รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐเวอร์จิเนีย โดยส่วยมากอยู่ในรัฐฟลอริดา[140][141][142] ไมเคิลทำให้เกิดความเสียหายขึ้นอย่างน้อย 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.83 แสนล้านบาท) ในสหรัฐ[143] และยังมีความเสียหายเพิ่มเติมอีก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในทวีปอเมริกากลาง[144]

พายุโซนร้อนนาดีน[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 12 ตุลาคม
ความรุนแรง 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที)
997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 7 ตุลาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้เริ่มเฝ้าระวังหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีความเกี่ยวข้องกับคลื่นในเขตร้อนปลายฤดูกาล ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่เกาะกาบูเวร์ดีไปทางใต้หลายร้อยไมล์ โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน[145] หย่อมความกดอากาศต่ำนั้นยังคงจัดระเบียบตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ภาพรวมของระบบกำลังเคลื่นที่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเฉตะวันตก ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออก
  • วันที่ 9 ตุลาคม ระบบมีศูนย์กลางการหมุนเวียนที่ชัดเจน จึงได้รับการประกาศให้เป็นพายุดีเปรสชัน[146] อีกห้าชั่วโมงต่อมา พายุดีเปรสชันดังกล่าวได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ นาดีน (Nadine)[147] เมื่อถูกกำหนดว่าเป็นพายุโซนร้อนตั้งแต่อยู่ที่เส้นเมริเดียนที่ 30 องศาตะวันตก นาดีนจึงกลายเป็นพายุที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดที่ถูกตั้งชื่อในแอ่งแอตแลนติก ในช่วงปลายของปีปฏิทิน[148]
  • วันที่ 10 ตุลาคม การทวีกำลังเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเกิดขึ้นในขณะที่พายุนาดีนกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และถึงจุดที่มีความรุนแรงสูงสุดในฐานะพายุโซนร้อนที่ความเร็วลม 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) และมีคุณลักษณะของตาในระดับกลางที่ดีปรากฏขึ้น[149] อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนลูกเล็กนี้ได้พบกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยมากขึ้น และเริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อศูนย์กลางระดับต่ำ เริ่มถูกเปิดออกจากผลของลมเฉือนตะวันตกกำลังแรง[150]
  • วันที่ 13 ตุลาคม เวลา 03:00 UTC นาดีนสลายตัวลงไปเป็นคลื่นในเขตร้อน และยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกในแนวเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกต่อไป[151]

พายุเฮอริเคนออสการ์[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 – 31 ตุลาคม
ความรุนแรง 105 ไมล์/ชม. (165 กม./ชม.) (1 นาที)
970 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.64 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 23 ตุลาคม ศูนย์เฮอริเคนกลางเริ่มพยากรณ์บริเวณที่มีศักยภาพก่อตัวเป็นพายุเขตร้อนหรือนอกเขตร้อน บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกกลาง[152] บริเวณขนาดใหญ่ของพื้นที่อากาศแปรปรวนนั้นมีความเกี่ยวข้องกันกับการก่อตัวของร่องความกดอากาศต่ำที่พื้นผิว[153]
  • วันที่ 26 ตุลาคม การจัดระบบเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นผลมาจากการที่หย่อมความกดอากาศต่ำเบี่ยงเส้นทางไปทางทิศเหนือ พร้อมด้วยการมีฝนตกและพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งเป็นความหมายที่ดี แม้ว่ามันจะยังขาดการไหลเวียนที่ชัดเจนที่พื้นผิวก็ตาม[154]
  • วันที่ 27 ตุลาคม อย่างไรก็ตาม การไหลเวียนของหย่อมความกดต่ำอย่างหลวม ได้มีขึ้นอย่างเพียงพอที่จะจัดให้ระบบเป็นพายุกึ่งโซนร้อน และได้ชื่อว่า ออสการ์ (Oscar)[155]
  • วันที่ 28 ตุลาคม ออสการ์ยังคงทวีกำลังขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มันเร่งความเร็วไปทางใต้ในบริเวณด้านเหนือของความกดอากาศต่ำระดับกลางถึงบน และเปลี่ยนผ่านมาเป็นพายุโซนร้อนในเวลา 05:00 UTC[156] ตาพายุขนาดเล็กปรากฏให้เห็นชัดในภาพถ่ายดาวเทียม และต่อมาออสการ์ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 ในเวลา 21:00 UTC
  • วันที่ 30 ตุลาคม ออสการ์ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 ในเวลา 03:00 UTC[157] อย่างไรก็ตาม ระบบพายุได้อ่อนกำลังลงไปเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 ตามเดิมในเวลา 21:00 UTC ในขณะที่มันเดินทางมุ่งหน้าไปทางเหนือ[158]
  • วันที่ 31 ตุลาคม ออสการ์เกิดการ "เปลี่ยนแปลงคอสตูม" อย่างรวดเร็ว[159] ในขณะที่มันเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และกระบวนการสมบูรณ์ในเวลา 21:00 UTC[160]

รายชื่อพายุ[แก้]

รายชื่อต่อไปนี้จะใช้สำหรับพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในปี พ.ศ. 2561 หากมีชื่อที่ถูกปลด จะมีการประกาศโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2562 และชื่อที่ไม่ได้ถูกปลดจากรายการนี้จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2567 โดยรายการที่ใช้ในปีนี้เป็นรายการเดียวกับที่ใช้ในฤดูกาล พ.ศ. 2555 เว้นชื่อ ซารา ซึ่งถูกนำมาใช้แทนที่ แซนดี

  • อัลเบร์โต
  • เบริล
  • คริส
  • เดบบี
  • เอร์เนสโต
  • ฟลอเรนซ์
  • กอร์ดอน
  • เฮเลน
  • ไอแซก
  • จอยซ์
  • เคิร์ก
  • เลซลี
  • ไมเคิล
  • นาดีน
  • ออสการ์
  • แพตตี (ไม่ถูกใช้)
  • ราฟาเอล (ไม่ถูกใช้)
  • ซารา (ไม่ถูกใช้)
  • โทนี (ไม่ถูกใช้)
  • วาเลรี (ไม่ถูกใช้)
  • วิลเลียม (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ[แก้]

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562 การประชุมครั้งที่ 41 ของคณะกรรมการเฮอริเคนภูมิภาคสี่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้ถอนชื่อ ฟลอเรนซ์ (Florence) และ ไมเคิล (Michael) ออกจากชุดรายชื่อเนื่องจากสร้างความเสียหายและทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งชื่อทั้งสองจะไม่ถูกนำกลับมาใช้อีกในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก โดยคณะกรรมการฯ ได้เลือกชื่อ แฟรนซีน (Francine) และ มิลตัน (Milton) ขึ้นมาทดแทนตามลำดับ และจะเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวในฤดูกาล 2567[161]

ผลกระทบ[แก้]

ตารางนี้แสดงพายุทั้งหมดที่ก่อตัวในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561 ประกอบด้วยชื่อพายุ ระยะเวลา พื้นที่ขึ้นฝั่งได้รับผลกระทบ ความเสียหาย และจำนวนผู้เลียชีวิตทั้งหมด ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตในวงเล็บคือการเสียชีวิตเพิ่มเติมและการเสียชีวิตโดยทางอ้อม (เช่นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน) แต่ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับพายุหมุนเขตร้อนอยู่ ความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นจะรวมไปจนถึงขณะที่พายุกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน คลื่นในเขตร้อน หรือ บริเวณความกดอากาศต่ำด้วย ความเสียหายทั้งหมดอยู่ในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

สถิติของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ พ.ศ. 2561
ชื่อ
พายุ
วันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีความรุนแรงสูงสุด
ลมสูงสุด
1-นาที
ไมล์/ชม. (กม./ชม.)
ความกดอากาศ
(มิลลิบาร์)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(ดอลลาร์สหรัฐ)
เสียชีวิต อ้างอิง


อัลเบร์โต 25 – 31 พฤษภาคม พายุโซนร้อน 65 (100) 990 เม็กซิโก เม็กซิโก (—คาบสมุทรยูกาตัน)
หมู่เกาะเคย์แมน หมู่เกาะเคย์แมน
คิวบา คิวบา
สหรัฐ สหรัฐ
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ
ตอนกลางด้านตะวันตกของสหรัฐ
รัฐออนแทรีโอ
&0000000125000000000000125 ล้าน 18 [162][163]
เบริล 4 – 16 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 1 80 (130) 991 เลสเซอร์แอนทิลลีส
เฮติดอมินีกา เกาะฮิสปันโยลา
ปวยร์โตรีโก ปวยร์โตรีโก
คิวบา ภาคตะวันออกของคิวบา
ประเทศบาฮามาส บาฮามาส
เบอร์มิวดา เบอร์มิวดา
แคนาดา แคนาดา (—แอตแลนติกแคนาดา)
เล็กน้อย ไม่มี
คริส 6 – 12 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 2 105 (165) 970 เบอร์มิวดา เบอร์มิวดา
สหรัฐ สหรัฐ (—ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ)
แคนาดา แคนาดา (—แอตแลนติกแคนาดา)
ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์
เล็กน้อย 1
เดบบี 7 – 9 สิงหาคม พายุโซนร้อน 50 (85) 1000 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เอร์เนสโต 15 – 18 สิงหาคม พายุโซนร้อน 45 (75) 999 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ไม่มี ไม่มี
ฟลอเรนซ์ 31 สิงหาคม – 17 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 4 140 (220) 939 แอฟริกาตะวันตก
กาบูเวร์ดี กาบูเวร์ดี
เบอร์มิวดา เบอร์มิวดา
สหรัฐ สหรัฐ
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ
—โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดอะแคโรไลนาส
รัฐมิดแอตแลนติก
แคนาดา แคนาดา (—แอตแลนติกแคนาดา)
>2.4 หมื่นล้าน 24 (30) [164][143]
กอร์ดอน 3 – 8 กันยายน พายุโซนร้อน 70 (110) 997 เกรตเตอร์แอนทิลลีส
เบอร์มิวดา เบอร์มิวดา
ประเทศบาฮามาส บาฮามาส
สหรัฐ สหรัฐ
รัฐฟลอริดา
ชายฝั่งด้านอ่าวของสหรัฐ
—ภาคตะวันออกของสหรัฐ
รัฐออนแทรีโอ
200 ล้าน 3 (1) [165]
เฮเลน 7 – 16 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 2 110 (175) 966 แอฟริกาตะวันตก
กาบูเวร์ดี กาบูเวร์ดี
อะโซร์ส อะโซร์ส
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
นอร์เวย์ นอร์เวย์
ไม่ทราบ 3
ไอแซก 7 – 15 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 1 75 (120) 993 แอฟริกาตะวันตก, เลสเซอร์แอนทิลลีส
เฮติ เฮติ
จาเมกา จาเมกา
หมู่เกาะเคย์แมน หมู่เกาะเคย์แมน
คิวบา คิวบา
เล็กน้อย ไม่มี
จอยซ์ 12 – 19 กันยายน พายุโซนร้อน 50 (85) 997 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ลูกที่เจ็ด 22 – 23 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35 (55) 1007 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เคิร์ก 22 – 29 กันยายน พายุโซนร้อน 60 (95) 998 เลสเซอร์แอนทิลลีส 4.44 แสน 2 [166][167]
เลซลี 23 กันยายน – 13 ตุลาคม พายุเฮอริเคนระดับ 1 90 (150) 969 อะโซร์ส อะโซร์ส
เบอร์มิวดา เบอร์มิวดา
โปรตุเกส โปรตุเกส (—มาเดรา)
คาบสมุทรไอบีเรีย
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
≥500 ล้าน 2 (15)
ไมเคิล 7  – 12 ตุลาคม พายุเฮอริเคนระดับ 5 160 (260) 919 อเมริกากลาง
เม็กซิโก เม็กซิโก (—คาบสมุทรยูกาตัน)
หมู่เกาะเคย์แมน หมู่เกาะเคย์แมน
คิวบา คิวบา
สหรัฐ สหรัฐ
—ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ
—โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้ามกระทะฟลอริดา
ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ
แคนาดา แคนาดา (—แอตแลนติกแคนาดา)
คาบสมุทรไอบีเรีย
>2.51 หมื่นล้าน 31 (43) [140][141][143][144]
นาดีน 9 – 13 ตุลาคม พายุโซนร้อน 65 (100) 997 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ออสการ์ 27 – 31 ตุลาคม พายุเฮอริเคนระดับ 2 105 (165) 970 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
16 ลูก 25 พฤษภาคม – 31 ตุลาคม   160 (260) 919 >5.2 หมื่นล้าน 84 (89)  

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Eric S. Blake (May 21, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 25, 2018.
  2. Stacy R. Stewart (May 25, 2018). "Subtropical Storm Alberto Advisory Number 1". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 25, 2018.
  3. Daniel P. Brown (May 28, 2018). "Subtropical Storm Alberto Public Advisory Number 15". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 28, 2018.
  4. "Post-Tropical Cyclone Alberto Advisory Number 25". Weather Prediction Center. May 31, 2018. สืบค้นเมื่อ May 31, 2018.
  5. Stacy R. Stewart (July 5, 2018). "Tropical Depression Two Discussion Number 1". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2018.
  6. Michael Brennan; Robbie Berg (July 5, 2018). Tropical Storm Beryl Tropical Cyclone Update (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 5, 2018.
  7. Daniel P. Brown (July 6, 2018). Hurricane Beryl Discussion Number 4 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
  8. Marshall Shepherd (July 6, 2018). "Beryl Is The First Atlantic Hurricane Of 2018 - But Keep An Eye On The Carolinas Too". Forbes. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
  9. Robbie J. Berg (July 7, 2018). "Tropical Storm Beryl Discussion Number 9". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 8, 2018.
  10. Stacy R. Stewart (July 8, 2018). "Remnants of Beryl Discussion Number 14". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 8, 2018.
  11. Daniel P. Brown (July 16, 2018). Post-Tropical Cyclone Beryl Discussion Number 22 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 16, 2018.
  12. Stacy R. Stewart (July 2, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
  13. Daniel P. Brown (July 3, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
  14. Avila, Lixion. "Tropical Depression THREE Discussion Number 5". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  15. Zelinsky, David. "Tropical Storm CHRIS". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  16. Stacy R. Stewart (July 10, 2018). "Hurricane Chris Advisory Number 17". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 10, 2018.
  17. John L. Beven (July 10, 2018). "Hurricane Chris Discussion Number 18". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ July 10, 2018.
  18. "Hurricane Chris Advisory Number 21". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
  19. "Tropical Storm CHRIS". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
  20. Stacy R. Stewart (July 12, 2018). "Post-Tropical Cyclone Chris Forecast Discussion Number 34". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
  21. Kory, Melissa. "Man Drowns in Rough Surf as Tropical Storm Chris Spins Off North Carolina Coast". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  22. "Post-tropical storm Chris veers west, drenching Gander". CBC. July 13, 2018. สืบค้นเมื่อ July 14, 2018.
  23. Canada, Environment and Climate Change. "Daily Data Report for July 2018 - Climate - Environment and Climate Change Canada". climate.weather.gc.ca (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-21.
  24. Stacy R. Stewart (August 4, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 7, 2018.
  25. Lixion Avila (August 7, 2018). "Subtropical Storm Debby Advisory Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  26. Stacy R. Stewart (August 7, 2018). "Tropical Storm Debby Advisory Number 4". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  27. John P. Cangialosi (August 8, 2018). "Tropical Storm Debby Discussion Number 7". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  28. David Zelinsky (August 9, 2018). "Tropical Storm Debby Discussion Number 10". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  29. Robbie Berg (August 12, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 15, 2018.
  30. Lixion Avila (August 14, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 15, 2018.
  31. John P. Cangialosi (August 15, 2018). "Subtropical Depression Five Advisory Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  32. Daniel P. Brown (August 15, 2018). "Subtropical Storm Ernesto Advisory Number 2". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  33. Brown, Daniel. "Subtropical Storm ERNESTO Discussion Number 6". www.nhc.noaa.gov. National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  34. Brown, Daniel. "Tropical Storm ERNESTO". www.nhc.noaa.gov. National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  35. Avila, Lixion. "Post-Tropical Cyclone ERNESTO". www.nhc.noaa.gov. National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  36. "Britain to bake in 28C as the heatwave returns after tropical Storm Ernesto batters the country". Tariq Tahir. 18 August 2018.
  37. "Storm Ernesto on course for the UK and Ireland this weekend".
  38. Robbie Berg (August 28, 2018). "Tropical Weather Outlook" (TXT). National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 30, 2018.
  39. Robbie Berg (August 30, 2018). "Tropical Weather Outlook" (TXT). National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 30, 2018.
  40. Lixion Avila (August 30, 2018). "Tropical Weather Outlook" (TXT). National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 30, 2018.
  41. Lixion Avila (August 30, 2018). "Potential Tropical Cyclone Six Discussion Number 1". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 30, 2018.
  42. Lixion Avila (August 31, 2018). "Tropical Depression Six Discussion Number 4". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ August 31, 2018.
  43. Robbie Berg (September 4, 2018). "Hurricane Florence Discussion Number 21". National Hurricane Center.
  44. Berg, Robbie (2018-09-05). "Hurricane Florence Discussion Number 25".
  45. "Hurricane FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-05.
  46. Sam Lillo [@splillo] (5 September 2018). "Intensity at 18z has been increased to 115kt -- Florence is officially a category 4 hurricane. At 22.4N / 46.2W, this also makes Florence the furthest north category 4 hurricane east of 50W ever recorded in the Atlantic" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 5 September 2018 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  47. "Hurricane FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-06.
  48. "Hurricane FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-07.
  49. "Hurricane Florence Discussion Number 41". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-08.
  50. "Hurricane Florence Public Advisory Number 45". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-10.
  51. "Hurricane FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-10.
  52. "Hurricane FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-13.
  53. "Tropical Depression FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-17.
  54. David Roth (September 17, 2018). "Post-Tropical Cyclone Florence Advisory Number 74". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
  55. "Post-Tropical Cyclone FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-19.
  56. Croft, Jay; Jason, Hanna (9 September 2018). "Florence upgraded to hurricane, could threaten East Coast this week". CNN. สืบค้นเมื่อ 9 September 2018.
  57. "Mayor Bowser Declares State of Emergency Ahead of Hurricane Florence". mayor.dc.gov. สืบค้นเมื่อ September 12, 2018.
  58. "Hurricane FLORENCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-11.
  59. Michael Brennan (August 30, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2018.
  60. Stacy R. Stewart (September 2, 2018). "Potential Tropical Cyclone Seven Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2018.
  61. Stacy R. Stewart (September 3, 2018). "Tropical Storm Gordon Special Discussion Number 4". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  62. Daniel P. Brown (September 4, 2018). "Tropical Storm Gordon Discussion Number 7". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  63. Daniel P. Brown (September 5, 2018). "Tropical Storm Gordon Discussion Number 11". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 7, 2018.
  64. "earth 2️⃣ a global map of wind, weather, and ocean conditions". earth.nullschool.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-12.
  65. "Potential Tropical Cyclone EIGHT". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-07.
  66. "NHC Graphical Outlook Archive". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-07.
  67. "Hurricane Helene Advisory Number 11". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
  68. Philip Klotzbach [@philklotzbach] (9 September 2018). "Helene now has max winds of 85 mph at 27.2°W. In the satellite era (since 1966), the only Atlantic hurricane further east to be this strong in the tropics (south of 23.5°N) is Fred (2015)" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 10 September 2018 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  69. Michael Brennan (September 10, 2018). "Hurricane Helen Tropical Cyclone Update". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 11, 2018.
  70. 70.0 70.1 Daniel Brown (September 14, 2018). "Tropical Storm Joyce Discussion Number 7". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
  71. John L. Beven (September 15, 2018). "Tropical Storm Helene Discussion Number 34". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
  72. Daniel Brown (September 16, 2018). "Post-Tropical Cyclone Helene Advisory Number 37". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.
  73. "Met Éireann briefing on Ex Tropical Storm Helene 4pm Monday 17th September – Met Éireann – The Irish Meteorological Service". www.met.ie (ภาษาอังกฤษ). Met Éireann. 17 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
  74. "Europe Weather Analysis on 2018-9-18". Free University of Berlin. September 18, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ September 24, 2018.
  75. "Europe Weather Analysis on 2018-9-21". Free University of Berlin. September 21, 2018. สืบค้นเมื่อ September 24, 2018.[ลิงก์เสีย]
  76. "Europe Weather Analysis on 2018-9-22". Free University of Berlin. September 22, 2018. สืบค้นเมื่อ September 24, 2018.[ลิงก์เสีย]
  77. Mohamed Moro Sacko (September 6, 2018). "Siguiri : Trois morts suite à des pluies duliviennnes à Doko" (ภาษาฝรั่งเศส). Guinea News. สืบค้นเมื่อ September 8, 2018.
  78. Will tropical storm affect the UK?, metoffice.gov.uk
  79. Eric Blake (September 2, 2018). "Atlantic 2-Day Graphical Tropical Weather Outlook - 200 PM EDT Sat Sept 8 2018". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 8, 2018.
  80. "Tropical Depression Nine Discussion Number 1". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-07.
  81. "Tropical Storm Isaac Discussion Number 5". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-08.
  82. "Hurricane Isaac Forecast Discussion Number 10". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-08.
  83. Daniel Brown (September 14, 2018). "Tropical Depression Isaac Discussion Number 27". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2018.
  84. Eric Blake (September 14, 2018). "Tropical Storm Isaac Discussion Number 29". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2018.
  85. John P. Cangialosi (September 11, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 13, 2018.
  86. Lixion Avila (September 12, 2018). "Subtropical Storm Joyce Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 13, 2018.
  87. David Zelinsky (September 14, 2018). "Tropical Storm Joyce Discussion Number 6". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2018.
  88. John L. Beven (September 14, 2018). "Tropical Storm Joyce Wind Speed Probabilities Number 9". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 14, 2018.
  89. David Zelinskly (September 14, 2018). "Tropical Storm Joyce Discussion Number 10". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
  90. John Cangialosi (September 16, 2018). "Tropical Depression Joyce Discussion Number 16". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 16, 2018.
  91. "Post-Tropical Cyclone JOYCE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-19.
  92. Avila, Lixion (November 9, 2018). "Tropical Cyclone Report, Tropical Depression Eleven" (PDF).
  93. Stacy R. Stewart (September 18, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 22, 2018.
  94. Amy Campbell; Eric S. Blake (September 21, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". College Park, Maryland: Weather Prediction Center. สืบค้นเมื่อ September 22, 2018.
  95. David A. Zelinsky (September 21, 2018). Tropical Depression Eleven-E Discussion Number 1 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 22, 2018.
  96. Lixion A. Avila (September 23, 2018). Remnants Of Eleven Discussion Number 7 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
  97. Stacy R. Stewart (September 21, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 22, 2018.
  98. Michael J. Brennan (September 22, 2018). "Tropical Storm Kirk Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  99. Klotzbach, Philip. "Kirk has formed in the eastern tropical Atlantic at 8.3°N". Twitter. สืบค้นเมื่อ 22 September 2018.
  100. Bahm, Daulton. "Tropical Storm Bret becomes earliest named storm in Atlantic MDR, Potential Tropical Cyclone Three a threat to Gulf Coast". Cyclonic Fury. สืบค้นเมื่อ 22 September 2018.
  101. David Zelinsky (September 23, 2018). "Tropical Depression Kirk Discussion Number 7". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
  102. Richard Pasch (September 24, 2018). "Remnants Of Kirk Discussion Number 9". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 24, 2018.
  103. Stacy R. Stewart (September 26, 2018). "Tropical Storm Kirk Discussion Number 10". Miami, Florida: National Hurricane Center.
  104. "Tropical Storm KIRK". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
  105. "Tropical Storm KIRK". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
  106. "Tropical Storm KIRK". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
  107. "Tropical Storm Kirk Forecast Discussion". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-28.
  108. "Tropical Storm Kirk Discussion Number 19". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-09-28.
  109. Robbie Berg (September 29, 2018). "Remnants Of Kirk Discussion Number 20". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 29, 2018.
  110. Lixion A. Avila (September 19, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
  111. Robbie J. Berg (September 22, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
  112. Lixion A. Avila (September 23, 2018). Subtropical Storm Leslie Public Advisory Number 1 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 23, 2018.
  113. John Cangialosi (September 25, 2018). "Subtropical Depression Leslie Public Advisory Number 8". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 25, 2018.
  114. Dave Roberts (September 25, 2018). "Post-Tropical Cyclone Leslie Discussion Number 9". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 25, 2018.
  115. John Cangialosi (September 27, 2018). "Two-Day Graphical Tropical Weather Outlook - 2:00 AM EDT Thu Sept 27 2018". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 27, 2018.
  116. Jack Beven (September 28, 2018). "Subtropical Storm Leslie Advisory Number 10". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  117. Zelinsky, David. "Tropical Storm Leslie Forecast Discussion". www.nhc.noaa.gov. National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 29 September 2018.
  118. Daniel Brown (October 3, 2018). "Hurricane Leslie Discussion Number 28". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 3, 2018.
  119. John L. Beven (October 4, 2018). "Tropical Storm Leslie Discussion Number 34". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  120. David Zelinsky (October 7, 2018). "Tropical Storm Leslie Discussion Number 45". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  121. "Tropical Storm LESLIE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
  122. "Hurricane LESLIE". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-10-10.
  123. Blake, Eric. "Hurricane Leslie Discussion Number 63". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018.
  124. "Arquipélago da Madeira em "alerta máximo" devido ao furacão Leslie" (ภาษาโปรตุเกส). Diário de Notícias. October 12, 2018. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.
  125. "Furacão Leslie: mais de 180 jogos cancelados na Madeira e duas exceções nas modalidades" (ภาษาโปรตุเกส). O Jogo. October 12, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-13. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.
  126. Stacy R. Stewart (October 2, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  127. Jack Beven (October 6, 2018). "Potential Tropical Cyclone Fourteen Advisory Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  128. John L. Beven (October 6, 2018). "Potential Tropical Cyclone Fourteen Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 6, 2018.
  129. Robbie Berg (October 7, 2018). "Tropical Depression Fourteen Discussion Number 3". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  130. Daniel P. Brown (October 7, 2018). "Tropical Storm Michael Tropical Cyclone Update". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  131. "Hurricane MICHAEL". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
  132. "Hurricane MICHAEL". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
  133. Beven, Jack. "Hurricane MICHAEL". www.nhc.noaa.gov. National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
  134. Daniel P. Brown (October 10, 2018). "Hurricane Michael Discussion 17". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 11, 2018.
  135. "Post-Tropical Cyclone MICHAEL". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-10-12.
  136. 136.0 136.1 "Tres muertos y más de 1900 viviendas afectadas por lluvias". Confidencial (ภาษาสเปน). October 6, 2018. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  137. 137.0 137.1 "Al menos 9 muertos y miles de afectados por un temporal en Centroamérica" (ภาษาสเปน). October 7, 2018. สืบค้นเมื่อ October 7, 2018.
  138. Wright, Pam (October 13, 2018). "Michael Death Toll Climbs to 18; Search Continues for Missing". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ October 14, 2018.
  139. "Sube a ocho el número de muertos por las lluvias en Honduras". El Nuevo Diario (ภาษาสเปน). October 10, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-13. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.
  140. 140.0 140.1 "Hurricane Michael Death Toll Now at 35 in Florida, 45 Total". Insurance Journal. October 30, 2018. สืบค้นเมื่อ February 2, 2019.
  141. 141.0 141.1 "Hurricane Michael death toll continues to rise". WJHG-TV. January 11, 2019. สืบค้นเมื่อ February 2, 2019.
  142. Breslin, Sean (October 17, 2018). "Hurricane Michael Death Toll Rises to 35 as Mexico Beach Residents Return to Survey Damage". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ October 19, 2018.
  143. 143.0 143.1 143.2 "Assessing the U.S. Climate in 2018 Warm temperatures and significant precipitation round out 2018". NOAA. National Center for Environmental Information. February 6, 2019. สืบค้นเมื่อ February 9, 2019.
  144. 144.0 144.1 Global Catastrophe Recap October 2018 (PDF). AON (Report). AON. November 7, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ November 19, 2018.
  145. Lixion Avila (October 7, 2018). "NHC Graphical Tropical Weather Outlook Archive". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 9, 2018.
  146. John P. Cangialosi (October 9, 2018). "Tropical Depression Fifteen Discussion Number 1". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 9, 2018.
  147. Michael J. Brennan (October 9, 2018). "Tropical Storm Nadine Discussion Number 2". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 9, 2018.
  148. Klotzbach, Philip. "#Nadine has formed in the eastern tropical Atlantic". Twitter. สืบค้นเมื่อ October 10, 2018.
  149. David Zelinsky (October 10, 2018). "Tropical Storm Nadine Advisory Number 6". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 11, 2018.
  150. David Zelinsky (October 10, 2018). "Tropical Storm Nadine Discussion Number 7". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 11, 2018.
  151. Eric S. Blake (October 13, 2018). "Tropical Storm Nadine Discussion Number 16". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 13, 2018.
  152. Robbie J. Berg (October 23, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 26, 2018.
  153. Eric S. Blake (October 23, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 26, 2018.
  154. John P. Cangialosi (October 26, 2018). "Graphical Tropical Weather Outlook". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 26, 2018.
  155. John L. Beven II (October 26, 2018). Subtropical Storm Oscar Discussion Number 1 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 26, 2018.
  156. John L. Beven II (October 28, 2018). Tropical Storm Oscar Discussion Number 5 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 28, 2018.
  157. Stacy R. Stewart (October 28, 2018). Hurricane Oscar Discussion Number 8 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 28, 2018.
  158. "Hurricane OSCAR". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-10-30.
  159. Robbie J. Berg (October 31, 2018). Hurricane Oscar Advisory Number 19 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 31, 2018.
  160. John L. Beven (October 31, 2018). Post-Tropical Cyclone Oscar Discussion Number 20 (Report). Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 31, 2018.
  161. Florence and Michael retired by the World Meteorological Organization (Report). National Oceanic and Atmospheric Administration. March 20, 2019. สืบค้นเมื่อ March 20, 2019.
  162. AON Benfield. "Global Catastrophe Recap June 2018" (PDF). p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ July 15, 2018.
  163. Robbie Berg (October 17, 2018). Tropical Storm Alberto Tropical Cyclone Report (PDF) (Report). National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ October 21, 2018.
  164. "Cooper puts Hurricane Florence damage at $13 billion". WITN. Associated Press. October 10, 2018. สืบค้นเมื่อ October 14, 2018.
  165. "Global Catstrophe Recap - September 2018" (PDF). Aon Benfield. October 9, 2018. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ October 10, 2018.
  166. RA IV Hurricane Committee Members (February 12, 2019). Country Report: Saint Lucia (pdf) (Report). สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
  167. British Caribbean Territories (February 14, 2019). Country Report: British Caribbean Territories (pdf) (Report). สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.