ร็อคแมน เดอะพาวเวอร์แบทเทิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร็อคแมน เดอะพาวเวอร์แบทเทิล
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
แต่งเพลงเซตสึโอะ ยามาโมโต้
ฮิเดกิ โอคุกาว่า
ชุดร็อคแมนซีรีส์
เครื่องเล่นอาเขต
วางจำหน่ายอาเขต
  • JP: ตุลาคม ค.ศ. 1995
GameTap
  • NA: กรกฎาคม ค.ศ. 2006[1]
แนวเกมต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นสองคน

ร็อคแมน เดอะพาวเวอร์แบทเทิล (ญี่ปุ่น: ロックマン・ザ・パワーバトル) หรือ เมก้าแมน เดอะพาวเวอร์แบทเทิล (อังกฤษ: Mega Man: The Power Battle) เป็นเกมร็อคแมนซีรีส์แรกในระบบเกมตู้ ซึ่งจัดวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นปีค.ศ. 1995 และตามด้วยร็อคแมน 2 เดอะพาวเวอร์ไฟท์เตอร์ในปีต่อมา โดยทั้งสองภาคนี้ได้รับการจัดทำเป็นเกมคอนโซลประจำบ้านในอเมริกาเหนือช่วงปีค.ศ. 2004 สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 2 กับเกมคิวบ์ และในปีเดียวกันนี้ได้จัดทำเป็นเวอร์ชันญี่ปุ่นโดยใช้ชื่อว่า ร็อคแมน พาวเวอร์แบทเทิลไฟท์เตอร์ (ญี่ปุ่น: ロックマン パワーバトルファイターズ) สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 2[2][3][4] รวมทั้งดัดแปลงลงสู่ระบบนีโอจีโอพอกเก็ตคัลเลอร์โดยให้ชื่อเกมชุดนี้ว่า ร็อคแมนแบทเทิล & ไฟท์เตอร์ส (ญี่ปุ่น: ロックマン バトル&ファイターズ) ด้วยเช่นกัน[5]

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

ร็อคแมน เดอะพาวเวอร์แบทเทิล เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงดร.ไวลี่ นักประดิษฐ์หุ่นยนต์ผู้ชั่วร้ายได้ทำการสร้างโรบอทมาสเตอร์ขึ้นมาใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะยึดครองโลก ร็อคแมน, บลูส์ และฟอร์เต้ จึงร่วมกันหาทางหยุดยั้งวายร้ายรายนี้ดังเช่นที่ผ่านมา

รูปแบบการเล่น[แก้]

ร็อคแมน เดอะพาวเวอร์แบทเทิล สามารถเลือกตัวละครอย่าง ร็อคแมน, บลูส์ และฟอร์เต้ขึ้นมาเล่นได้ และสามารถเล่นได้พร้อมกันสองคนโดยเลือกตัวละครดังกล่าวที่ไม่ซ้ำกันขึ้นเพื่อร่วมมือในการกำจัดบอส

รูปแบบการเล่นมีลักษณะที่คล้ายกับการเล่นเกมร็อคแมนภาคอื่นๆ คือมีการกดปุ่มเพื่อกระโดดหลบ และสามารถยิงอาวุธออกจากปืนที่อยู่ตรงแขน ซึ่งสามารถกดค้างเพื่อชาร์จพลังก่อนการโจมตีที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้ และหากกดปุ่มลงพร้อมกับปุ่มกระโดดตัวละครจะทำการเคลื่อนที่แดชไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วในรูปแบบที่แตกต่างกัน

ตัวละคร[แก้]

  • ร็อคแมน (ロックマン)
  • บลูส์ (ブルース)
  • ฟอร์เต้ (フォルテ)
  • ดร.ไวลี่ (Dr.ワイリー)
  • ดร.ไรท์ (Dr.ライト)
  • รัช (ラッシュ)
  • โรล (ロール)

ตัวละครบอส[แก้]

บอสที่มีพลังพิเศษ[แก้]

ร็อคแมน 1-2[แก้]
  • คัทแมน (カットマン)
  • กัตซ์แมน (ガッツマン)
  • ไอซ์แมน (アイスマン)
  • แครชแมน (クラッシュマン)
  • ฮีทแมน (ヒートマン)
  • วูดแมน (ウッドマン)
ร็อคแมน 3-6[แก้]
  • แม็กเน็ตแมน (マグネットマン)
  • เจมินี่แมน (ジェミニマン)
  • ดัสท์แมน (ダストマン)
  • ไจโรแมน (ジャイロマン)
  • นาปาล์มแมน (ナパームマン)
  • แพลนท์แมน (プラントマン)

บอสในปราสาท ดร.ไวลี่[แก้]

การตอบรับ[แก้]

ผู้ให้สัมภาษณ์สี่รายจากนิตยสารฟามิซือของญี่ปุ่น ให้คะแนนเกมระบบเพลย์สเตชัน 2 ด้วยคะแนน 22 คะแนนจากคะแนนเต็ม 40 คะแนน[6]

อ้างอิง[แก้]

  • นิตยสารเกมแมคออนไลน์ (สนพ.อนิเมทกรุ๊ป)
  • นิตยสารเมก้า (สนพ.วิบูลย์กิจ)
  1. Carless, Simon (August 7, 2006). "GameTap Goes Ninja, Gets Into Space Combat". GameSetWatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-08. สืบค้นเมื่อ 2010-06-11.
  2. Navarro, Alex (June 21, 2004). "Mega Man Anniversary Collection Review for PlayStation 2". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  3. Navarro, Alex (June 21, 2004). "Mega Man Anniversary Collection Review for Xbox". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  4. "1本で2度おいしい!? 『ロックマン パワーバトルファイターズ』" (ภาษาญี่ปุ่น). Famitsu. สืบค้นเมื่อ 2010-06-11.
  5. "ロックマン バトル&ファイターズ" (ภาษาญี่ปุ่น). Capcom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2010-06-11.
  6. "Mega Man Battle Fighters Cheats, Reviews, News". GameStats. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-02. สืบค้นเมื่อ 2010-07-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]