รุ่งธรรม พุ่มสีนิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่งธรรม พุ่มสีนิล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
การศึกษาปริญญาตรี สาขาการละคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพกรรมการผู้จัดการ
องค์การบริษัท มีมิติ จำกัด
คู่สมรสสนันนาถ เกตุตรีกร

รุ่งธรรม พุ่มสีนิล (เกิด 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513) เป็นนักคิดนักสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ ในรูปแบบเกมโชว์ ควิซโชว์ และเรียลลิตี้ อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ (Managing Director) ของ บริษัท มีมิติ จำกัด ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เนื่องจากก่อนหน้านี้เป็นผู้อำนวยการสายงานโปรแกรมและผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31 โดยได้รางวัลจากรายการต่าง ๆ มากมายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะรายการแฟนพันธุ์แท้ ของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งรุ่งธรรมเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในบริษัทดังกล่าว

ประวัติ[แก้]

รุ่งธรรม พุ่มสีนิล หรือ รุ่ง เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2513 จบการศึกษาปริญญาตรีจากสาขาการละคร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รุ่งธรรมสมรสกับสนันนาถ เกตุตรีกร ปัจจุบันมีบุตรสองคน[1]

เข้าทำงานกับเวิร์คพอยท์[แก้]

หลังจากเรียนจบ รุ่งธรรมเข้าทำงานที่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในตำแหน่ง ผู้กำกับเวที, ผู้ช่วยควบคุมการผลิต และผู้ควบคุมการผลิตตามลำดับ และเริ่มต้นทำรายการแฟนพันธุ์แท้ เมื่อ พ.ศ. 2543 ซึ่งถือเป็นรายการแรกที่รุ่งธรรมให้กำเนิดและกลายเป็นรายการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในระดับตำนานรายการหนึ่งของเขา ต่อจากนั้นก็เป็นรายการที่สร้างความฮือฮาทั้งในด้านรายได้และเรตติ้ง นั่นก็คือรายการ เกมทศกัณฐ์ ที่สร้างประวัติศาสตร์ว่าเป็นเกมโชว์ที่เรตติ้งสูงที่สุด เรียกได้ว่าสูสีกับละครหลังข่าวเลยทีเดียว

รุ่งธรรมดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายผลิต (Vice President Production) จนถึงปี พ.ศ. 2552 โดยเป็นผู้กำหนดทิศทางและควบคุมการผลิตรายการโทรทัศน์ที่เป็นรูปแบบ เกมโชว์ ควิซโชว์และเรียลลิตี้โชว์ ของเวิร์คพอยท์ โดยเป็นผู้รับผิดชอบสร้างสรรค์และให้กำเนิดรายการที่มีชื่อเสียงหลายรายการ จึงถือได้ว่าเขาคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังคำว่า "เจ้าพ่อเกมโชว์" ของเวิร์คพอยท์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั่นเอง

นอกจากนี้รุ่งธรรมยังเป็นผู้คิด รหัสลับอัจฉริยะ ซึ่งเป็นเกมในรายการอัจฉริยะข้ามคืน อีกด้วย โดยเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าได้แนวคิดของเกมนี้มาจากความเชื่อของคนไทยในเรื่องการตีเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลจากความฝัน[2] และยังเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดและตั้งชื่อรายการ SME ตีแตก อีกด้วย

ก่อตั้งเซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์[แก้]

ปี พ.ศ. 2553 รุ่งธรรมก่อตั้ง บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ร่วมกับ วราวุธ เจนธนากุล โดย ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์ คือรายการแรกที่เซ้นส์ผลิต ซึ่งมีเรียลลิตี้ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ ช่วง will you marry me หรือ แต่งงานกันเถอะ ต่อมาบริษัทได้ผลิตรายการเพิ่มอีก 2 รายการ คือ 5 มหานิยม และ เกมเนรมิต ซึ่งทั้งหมดออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และหลังจากนั้นได้ขยายการผลิตรายการต่าง ๆ เป็นจำนวนกว่า 20 รายการ

ก่อตั้งมีมิติและเข้าร่วมบริหารช่องวัน[แก้]

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 รุ่งธรรมได้แยกออกมาร่วมทุนกับบริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด ก่อตั้ง บริษัท มีมิติ จำกัด ขึ้น[3][4][5] มีจุดประสงค์ที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับวงการโทรทัศน์ไทย โดยเฉพาะการผลิตรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ และเรียลลิตี้ จากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสายงานโปรแกรมและผลิตรายการ (Programming & Production Management Director) ของช่องวัน 31[6] หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 จีเอ็มเอ็มทีวีจึงได้โอนหุ้นในมีมิติให้บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด บริษัทแม่ของช่องวัน 31 ถือหุ้นแทน[7] ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 รุ่งธรรมได้ลาออกจากตำแหน่งเดิมในช่องวัน 31 พร้อมทั้งรับโอนหุ้นมีมิติจากเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มาเพิ่ม และเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทย่อย[8] เนื่องจากการปรับโครงสร้างธุรกิจของเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ที่ต้องการให้ช่องวัน 31 มุ่งเน้นการผลิตละครเป็นหลัก[9]

ผลงาน (ไม่รวมผลงานในนามมีมิติ)[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คอลัมน์ a day with a view นิตยสารอะเดย์ ฉบับที่ 72
  2. "อัจฉริยะข้ามคืน เกมของคนช่างคิด". kapook.com. 16 Jul 2007.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ข้อมูล บริษัท มีมิติ จำกัด". thaicorporates.com. สืบค้นเมื่อ 17 Dec 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "แจ้งการลงทุนของบริษัทย่อย" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. เฟื่องวัฒนานนท์, สุรเชษฐ์ (2013). GRAMMY: Annual Report 2012. p. 50. สืบค้นเมื่อ 25 Jul 2020.
  6. "10 เรื่องที่น่าสนใจของ "เสือติดปีก" รายการทีวี ที่ "ตัน" เล่นเอง และจ่ายเอง". Brand Buffet. 2016-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (24 Jun 2015). "ที่ GRAMMY 017/2558" (PDF). grammy.listedcompany.com. สืบค้นเมื่อ 25 Jul 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "รายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับ รายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน กรณีการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด" (PDF). เจดี พาร์ทเนอร์. 2017-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]