รายชื่อนางสาวไทยและรองนางสาวไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายนามนางสาวไทยและรองนางสาวไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนถึงปัจจุบัน (ชื่อในสูจิบัตรการประกวดนางสาวไทย)

  • หมายเหตุ: จนถึงปี 2481 ใช้ชื่อตำแหน่งว่า "นางสาวสยาม"
ที่ ปี พ.ศ. (ค.ศ.) นางสาวไทย รองอันดับ 1 รองอันดับ 2 รองอันดับ 3 รองอันดับ 4 วันที่รับตำแหน่ง รายละเอียด
55. 2567 (2024) พนิดา เขื่อนจินดา
เชียงใหม่
พรศิริกุล พั่วทา
ประจวบคีรีขันธ์
อาทิติยา เบ็ญจะปัก
นครราชสีมา
สุกัญญา วงศ์ปัญญาดี
นนทบุรี
น้ำหนึ่ง แวนเดอเวน
อุตรดิตถ์
25 กุมภาพันธ์ 2567
54. 2566(2023) ชนนิกานต์ สุพิทยาพร
เชียงใหม่
มาริษา พลธิราช
สกลนคร
อะราเบล่า สิตานัน เกรโกรี่
พัทลุง
กนกพร พยุงวงษ์
พระนครศรีอยุธยา
สุพรรษา วัฒนานุสิทธิ์
อำนาจเจริญ
19 มีนาคม 2566
53. 2565 (2022) มานิตา ดวงคำ ฟาร์เมอร์
ภูเก็ต
อัญพัชร์ ปิติประจักษ์วัชร
นครปฐม
วนิดา ดอกกุหลาบ
กรุงเทพมหานคร
อธิชา เรนนี่
กาญจนบุรี
ศรณ์ศรฏฐ์ วิทยาเรืองสุข
กรุงเทพมหานคร
6 กุมภาพันธ์ 2565
จัดการประกวด ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด "Revival of the Original" กำเนิดใหม่ไปด้วยกัน โดยย้ายมาถ่ายทอดสดทางช่องทรูโฟร์ยู รวมถึงมีการถ่ายทอดสดทางช่องยูทูบของกองประกวด ด้วยอัตราเฟรมสูงสุด 60 ภาพต่อวินาที เป็นครั้งแรก
2564 (2021) งดจัดการประกวด เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
52. 2563 (2020) ณัฐพัชร พงษ์ประพันธ์
นครปฐม
ณิษฐกาณต์ อักษรวรรณ
นครศรีธรรมราช
สุพรรณิการ์ นพรัตน์
ตรัง
กมลพร ทองพล
สุราษฎร์ธานี
ปทิตตา สันติวิชช์
ปทุมธานี
13 ธันวาคม 2563
จัดการประกวด ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2554 จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี ที่จัดการประกวดนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้แนวคิด "Authentic Empowering Beauty งามอย่างแตกต่างและมีคุณค่า" นอกจากนี้ยังย้ายมาถ่ายทอดการประกวดทางช่อง 7 เอชดี อีกด้วย
51. 2562 (2019) สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์
กรุงเทพมหานคร
รองนางสาวไทย 26 กันยายน 2562
จัดการประกวด ณ โรงละครอักษรา คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ ภายใต้แนวคิด "Iconic Beauty นางสาวไทย งามสง่า สู่สากล" โดยได้ย้ายมาถ่ายทอดสดทางเอ็มคอตเอชดีอีกครั้งในรอบ 5 ปี และผู้ที่ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยในครั้งนี้จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการประกวดนางงามนานาชาติ 2019 ที่ประเทศญี่ปุ่น[1]
สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์ ได้ตำแหน่งนางงามนานาชาติ 2019 และรางวัลราชินีแห่งทวีปเอเชีย ในการประกวดที่ญี่ปุ่น เมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ริศา พงศ์พฤกษทล (สละตำแหน่ง)
สุพรรณบุรี
พรนัชชา อารยะสัจพงษ์
เพชรบุรี
มนชนิตว์ ช่วยบุญ †
มหาสารคาม
สุภางค์ พานทอง
สุโขทัย
2560–2561 (2017–2018) งดจัดการประกวด เนื่องจากไม่สามารถหาผู้จัดรายใหม่ได้
50. 2559 (2016) ธนพร ศรีวิราช
พะเยา
ปิ่นทิพย์ อรชร
นครศรีธรรมราช
สุปภาดา ภูรีพงศ์
พิษณุโลก
ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 31 สิงหาคม 2559
จัดประกวด ณ เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยได้ย้ายมาถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7อีกครั้ง ในปีนี้ได้ปรับรูปแบบเป็นการประกวดกึ่งเรียลลิตี้โชว์ และมีการเพิ่มมงกุฎให้แก่รองนางสาวไทยทั้งสองอันดับด้วย
2558 (2015) งดจัดการประกวด เนื่องจากกองประกวดหมดสัญญากับ อสมท. แล้วไม่สามารถหาผู้จัดรายใหม่ได้[2]
49. 2557 (2014) วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ พิมพ์ชนก จิตชู เสาวลักษม์ ไชยศิริธัญญา พัชรวรรณ หุตะเศรณี อาทิมา เนตรทิพย์ 22 พฤศจิกายน 2557
จัดการประกวด ณ โรงละครอักษรา คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ ซอยรางน้ำ ภายใต้แนวคิด "8 ทศวรรษแห่งตำนาน ความงดงามคู่แผ่นดิน" (INFINITY OF BEAUTY) เพื่อฉลอง 80 ปี การประกวดนางสาวไทย โดย โมเดิร์นไนน์ทีวี ถ่ายทอดสดการประกวด[1]
พิมพ์ชนก จิตชู ได้ตำแหน่งรองอันดับ 4 มิสทัวริซึมควีนอินเตอร์เนชันแนล 2559 ในการประกวดที่จีน เมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2559
48. 2556 (2013) อัจฉราภรณ์ กนกนทีสวัสดิ์ ปวีณสุดา แซ่ตั่น ดุษฎี อารีย์ทาน ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 19 ธันวาคม 2556
จัดการประกวด ณ โรงละครอักษรา ชั้น 3 คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ ซอยรางน้ำ ภายใต้แนวคิด “The Wonder of Miss Thailand สวยสง่า ทันสมัย มีความสามารถ” โดย โมเดิร์นไนน์ทีวี ถ่ายทอดสดการประกวด
อัจฉราภรณ์ กนกนทีสวัสดิ์ เป็นน้องสาวของ อรวิภา กนกนทีสวัสดิ์ นางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2552 ซึ่งจัดประกวดในสถานที่เดียวกัน
47. 2555 (2012) ปริศนา กัมพูสิริ ปุณณิศา ศิริสังข์ ณัฐอร โสภณ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2555
จัดการประกวด ณ แจ้งวัฒนะฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ
2554 (2011) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 และมีการไว้ทุกข์การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
46. 2553 (2010) กฤชภร หอมบุญญาศักดิ์ วรรัตน์ นิยมเดช สิริมา อรชร ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 21 ตุลาคม 2553
จัดการประกวด ณ โรงละครอักษรา ภายใต้แนวคิด "งามอย่างยั่งยืน" ความพิเศษของปีนี้คือผู้เข้าประกวดจะได้เดินทางตามรอยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจังหวัดนครปฐม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี การสถาปนาวชิราวุธวิทยาลัย และนางสาวไทยปีนี้จะได้เป็นทูตทางการค้าเพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งด้วย
45. 2552 (2009) อรวิภา กนกนทีสวัสดิ์ กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี วรวิตา จันทร์หุ่น ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 28 ตุลาคม 2552
จัดการประกวด ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด "ทอแสงงามแห่งจิตใจ" โดยโมเดิร์นไนน์ทีวี ถ่ายทอดสดการประกวด, เพลงที่ใช้ในการประกวดในปีนี้คือเพลง "จากฟากฟ้า สู่นางสาวไทย"
44. 2551 (2008) พรรณประภา ยงค์ตระกูล ชโลธร ชัยชมภู วรรณกร กองเมือง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน 2551
จัดการประกวด ณ รอยัลพารากอนฮออล์ สยามพารากอน เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด "ประกายงามแห่งปัญญา" โดยโมเดิร์นไนน์ทีวี ถ่ายทอดสดการประกวด
43. 2550 (2007) อังคณา ตรีรัตนาทิพย์ ภัทรา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ชมพูนุช ลออวรรณากร ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 27 ตุลาคม 2550
จัดการประกวดที่ ห้องรอยัล จูบิลลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด "งามล้ำค่า กัลยาเทอดแผ่นดิน"
น.ส.ชมพูนุช ลออวรรณากร ไม่สบายกะทันหันและไม่สามารถออกมาตอบคำถามบนเวทีภายหลังจากได้รับการประกาศชื่อให้เข้ารอบ 3 คน และได้ขอสละสิทธิ์ ทำให้ได้ตำแหน่งรองอันดับ 2
42. 2549 (2006) ลลนา ก้องธรนินทร์ สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร พรรณนภา ปราบภัย ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 3 กันยายน 2549
จัดการประกวดที่ โรงละคร ไทยอลังการ เมืองพัทยา ชลบุรี ภายใต้แนวคิด "เพชรงามสยามประเทศ"
2548 (2005) งดจัดการประกวด เนื่องจากเหตุกบฏไอทีวี
41. 2547 (2004) สิรินทร์ยา สัตยาศัย แสงธรรม ชูมีชัย ปรัชนันท์ ลิ้มรัตน์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 30 ตุลาคม 2547
จัดการประกวดที่ เวทีใหม่ สวนอัมพร ภายใต้แนวคิด "กุหลาบงามสยามนคร"
ในปีนี้ ได้เชิญอดีตนางสาวไทยหลายสมัยมาร่วมแสดงในชุด "กุหลาบงามสยามนคร" และที่เป็นที่น่าสนใจที่สุดคือการเชิญ คุณมยุรี วิชัยวัฒนะ(เจริญศิลป์) นางสาวสยาม พ.ศ. 2480 ร่วมแสดงบนเวทีด้วย (ในปี พ.ศ. 2547 นี้ คุณมยุรี มีอายุ 83 ปี)
40. 2546 (2003) ชาลิสา บุญครองทรัพย์ สุภิญญา ฉายะภูติ เอกจิตรา คำมีศรีสุข กนิษฐา เหลืองอรุณเลิศ อุรัจฉทา ณ นคร 10 พฤษภาคม 2546
จัดการประกวดที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด "นางสาวสยาม งามสคราญกุลสตรีไทย"
ในปีนี้เป็นปีครบรอบ 70 ปีนางสาวไทย ได้มีการจัดนิทรรศการภาพเขียนอดีตนางสาวไทย โดยศิลปิน วิศเวท วัฒนสุข รวมทั้งได้เชิญอดีตนางสาวสยามและนางสาวไทย รวม 17 คน มาร่วมในงานด้วย และตำแหน่งรองนางสาวไทยปีนี้จัดให้มี 4 ตำแหน่ง
39. 2545 (2002) ปฏิพร สิทธิพงศ์ สิริพรรณ หลิมวิจิตร นพพร ชุ่มใจ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 11 พฤษภาคม 2545
38. 2544 (2001) สุจิรา อรุณพิพัฒน์ ณฐิกา ประกอบบุญ กิตติมา วัฒนะนุพงษ์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 12 พฤษภาคม 2544
37. 2543 (2000) ปนัดดา วงศ์ผู้ดี สวรส ศรีประทุม กุณฑีรา สัตตบงกช ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 13 พฤษภาคม 2543
จัดการประกวดที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นางสาวไทยตั้งแต่ปีนี้ไม่ได้สิทธิ์ไปประกวดนางงามจักรวาล แต่ทำหน้าที่ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี รับช่วงในการถ่ายทอดเป็นปีแรก
36. 2542 (1999) อภิสมัย ศรีรังสรรค์ นฤมล จินะแก้ว พรพิมล นิยมวานิช ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 27 มีนาคม 2542
จัดการประกวดที่ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
อภิสมัย ศรีรังสรรค์ เป็นแพทย์คนแรกที่ได้ตำแหน่งนางสาวไทย
เป็นนางสาวไทยคนสุดท้ายที่ได้ไปประกวดนางงามจักรวาล
35. 2541 (1998) ชลิดา เถาว์ชาลี สิริดา ชุณหชาติ มัณฑนา โห่ศิริ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 28 มีนาคม 2541
จัดการประกวดที่ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
นางงามจักรวาล 1998 จัดประกวดที่ ฮาวาย สหรัฐอเมริกา
34. 2540 (1997) สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ ณาตยา พิมลพันธุ์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 29 มีนาคม 2540
จัดการประกวดที่ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ ได้ตำแหน่ง มิสเอเชียแปซิฟิก 1997 ในการประกวดที่เมืองดาวาว ประเทศฟิลิปปินส์
2539 (1996) งดจัดการประกวด เนื่องจากการสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
33. 2538 (1995) ภาวดี วิเชียรรัตน์ น้ำทิพย์ วีระขจร จิตรานุช ธรรมมงคล ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 1 เมษายน 2538
จัดการประกวดที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ภาวดี วิเชียรรัตน์ ได้คะแนนเป็นอันดับ 14 ในการประกวดนางงามจักรวาล 1995 และต่อมาได้ตำแหน่ง มิสซีสเวิลด์ 2003 (Mrs. World) ที่สหรัฐอเมริกา
32. 2537 (1994) อารียา สิริโสภา
ปรารถนา ไชยโรจน์
อารีวรรณ จตุทอง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 26 มีนาคม 2537
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
อารียา สิริโสภา ถูกจัดให้เป็นตัวเก็งในการประกวดนางงามจักรวาล 1994 แต่ตกรอบ 10 คนอย่างน่าเสียดาย โดยได้คะแนนเป็นอันดับ 13 ได้รางวัล Miss Kodak Smaile หรือ นางงามยิ้มสวย ในการประกวดนางงามจักรวาล 1994 ที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
31. 2536 (1993) ฉัตฑริกา อุบลศิริ มาริสา ทิพย์วังเมฆ กชกร นิมากรณ์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 27 มีนาคม 2536
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
ปีนี้ตำแหน่งรองนางสาวไทยเหลือเพียง 2 ตำแหน่ง และเป็นปีแรกที่นางสาวไทยสวมมงกุฎในชุดราตรี
30. 2535 (1992) อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ จิดาภา ณ ลำเลียง นารถวลี ศรีสกุล ฟ้ารุ่ง ชารีรักษ์ อลิสา สุวรรณวงศ์ 28 มีนาคม 2535
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
ในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประกวดนางงามจักรวาล 1992 จัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, นารถวลี ศรีสกุล ได้รองอันดับที่ 1 จากเวที มิสเอเชียแปซิฟิก 1992 ที่ฟิลิปปินส์
29. 2534 (1991) จิระประภา เศวตนันทน์ วรรณิดา กุญชร อภัสนันท์ สุทธิกุล ศิรินทรา ไสยประจำ วัชรารัศมี สุนทรพนาเวช 30 มีนาคม 2534
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
จิระประภา เศวตนันทน์ เป็นหลานสาวของ จีรนันทน์ เศวตนันทน์ นางสาวไทย พ.ศ. 2508
นางงามจักรวาลในปีนี้ จัดการประกวดที่ ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา
28. 2533 (1990) ภัสราภรณ์ ชัยมงคล เบญจมาภรณ์ เดชสุภา วิภาวรรณ จันทรวงค์ ภัชธีญา กลิ่นสนิท ทิพย์สุดา วัฒนศฤงคาร 3 มีนาคม 2533
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
ภัสราภรณ์ ชัยมงคล ได้ตำแหน่ง Miss Photogenic (ขวัญใจช่างภาพ)ในการประกวดนางงามจักรวาล 1990 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2533 (ก่อนการตัดสินนางงามจักรวาล 1 วัน)
เบญจมาภรณ์ เดชสุภา ได้ตำแหน่ง มิสเอเชีย จากเวที เวิลด์มิสยูนิเวอร์ซิตี้ 1990 (World Miss University)
27. 2532 (1989) ยลดา รองหานาม เพชรรัตน์ สีแก้ว รักษ์สุดา สินวัฒนา จริญญา หาญณรงค์ ทิพาพร เพชรรัตน์ 1 เมษายน 2532
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
นางงามจักรวาล 1989 ในปีนี้ จัดการประกวดที่เม็กซิโก
เพชรรัตน์ สีแก้วได้ตำแหน่งรองอันดับ 4 จากเวที มิสเอเชียแปซิฟิก 1989 ที่ฮ่องกง
รักษ์สุดา สินวัฒนา ได้รับตำแหน่งรองอันดับ 2 มิสฟลาวเวอร์ 1989 (Miss Flower Queen) ประเทศญี่ปุ่น
26. 2531 (1988) ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ปรียานุช ปานประดับ พิมพิไล ไชยโย ศุภรานันทน์ พันธ์ชูจิต อิสราภรณ์ จงเจริญ 2 เมษายน 2531
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ได้ตำแหน่งนางงามจักรวาล 1988 และรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ในการประกวดที่ไต้หวัน เมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
ปรียานุช ปานประดับ ได้ตำแหน่งมิสเอเชียแปซิฟิก 1988 และรางวัลขวัญใจช่างภาพ ชุดประจำชาติ และนางงามบุคลิกภาพ เมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ในการประกวดที่ฮ่องกง
ภัสสร บุณยเกียรติ ได้ตำแหน่งขวัญใจช่างภาพจากเวทีนางงามนานาชาติ 1988ที่ญี่ปุ่น
นับเป็นปีทองฝังเพชรของนางงามไทยที่แท้จริง (ไม่นับรวมวริศรา ลี้ธีรกุล ที่ได้ตำแหน่งมิสเอเชีย 1988 (Miss Asia) ในปีเดียวกัน)
25. 2530 (1987) ชุติมา นัยนา ดวงเดือน จิไธสงค์ ศิริกัลยา โชติมณีพันธ์ มัลลิกา เกรียงไกร ดาริน กรสกุล
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
นางงามจักรวาลปีนี้ จัดการประกวดที่สิงคโปร์
24. 2529 (1986) ทวีพร คลังพลอย สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ สุมิตรา กิจประเสริฐ วรินทรา วิริยาภรณ์ พัชรีภรณ์ จันทร์สว่าง 4 เมษายน 2529
จัดการประกวดที่ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว (ปัจจุบัน คือ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพ)เป็นปีแรก
ปีนี้นางงามจักรวาลจัดการประกวดที่ปานามา
สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ ได้ตำแหน่งรองอันดับที่ 2 มิสเอเชียแปซิฟิก ที่ฮ่องกง
23. 2528 (1985) ธารทิพย์ พงษ์สุข ลีลาวดี วัชโรบล ศศิมาภรณ์ ไชยโกมล สุจิตรา รัตนประยูร ดวงหทัย กุญชร ณ อยุธยา 16 พฤษภาคม 2528
จัดการประกวดที่ เวทีกลางแจ้ง หน้าโรงแรมแกรนด์พาเลซ พัทยา จ.ชลบุรี, รองอันดับ 1 คือ วรัญญา วรากรณ์ ควบตำแหน่งขวัญใจช่างภาพ ส่วนอีก 3 คนเป็นรองนางสาวไทยตำแหน่งเท่ากัน เรียงตามลำดับประกาศผล
22. 2527 (1984) สาวิณี ปะการะนัง วรัญญา วรากรณ์ วาสิฏฐี ศรีโลฟุ้ง ประทุมทิพย์ ฉันทะ พิศเพลิน พงษ์เจริญ 6 เมษายน 2527
สาวิณี ประการะนัง ติดอันดับ 1 ใน 10 ได้อันดับที่ 6 จากการประกวดนางงามจักรวาล 1984 ที่ไมแอมีบีช, รัฐฟลอริดา, สหรัฐ, เพลงที่ใช้ในการประกวดนางสาวไทยในปีนี้แต่งขึ้นใหม่คือเพลง "นางสาวไทย" แต่งโดยเรวัติ พุฒินันทน์
2516–2526 (1973–1983) งดจัดการประกวด เนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลา วิกฤตการณ์การเมือง
21. 2515 (1972) กนกอร บุญมา แสงอรุณ จิตต์ใจ สุดเฉลียว รอดบุญธรรม ปริศนา โลหะนันท์ สุดสวาท สมโนทัย
20. 2514 (1971) นิภาภัทร สุดศิริ สรินยา ทัตตวร เปรมฤดี เสริมสิริ ศรัญญา ทองขจร เยาวเรศ ภูมิศิลป์
2513 (1970) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดเหตุการณ์สงครามอินโดจีน
19. 2512 (1969) วารุณี แสงศิรินาวิน พนารัตน์ พิสุทธิศักดิ์ ลัดดาวัลย์ ยิ่งยง บุษราภรณ์ ธีระทรัพย์ ปริยา ศรีวิชัย
18. 2511 (1968) แสงเดือน แม้นวงศ์ มิตทีรา ภัทรนาวิก ศรีมาย ทิพย์มณฑา เนตรทราย ชลาธาร จันทพร สุรินทร์เปาว์
แสงเดือน แม้นวงศ์ ได้ตำแหน่งชุดประจำชาติยอดเยี่ยม การประกวดนางงามจักรวาล
17. 2510 (1967) อภันตรี ประยุทธเสนีย์ รุ่งทิพย์ ภิญโญ พัชรินทร์ ไพรอุดม บุญตา ศรีแผ้ว พินนะรัฐ ทนันไชย
อภันตรี ประยุทธเสนีย์ ติดอันดับ 1 ใน 15 การประกวดนางงามจักรวาล 1968 ได้ตำแหน่งชุดว่ายน้ำยอดเยี่ยม, รุ่งทิพย์ ภิญโญ ได้รองอันดับที่ 4 และขวัญใจช่างภาพจากการประกวดนางงามนานาชาติ 1968ที่ญี่ปุ่น, พินนะรัฐได้เป็นหญิงไทยคนแรกที่ไปประกวดมิสเวิลด์ 1968 โดยพินนะรัฐสามารถเข้ารอบ 15 คนสุดท้าย
16. 2509 (1966) ประภัสสร พานิชกุล อุไรวรรณ งามบุญสืบ ณาตยา นิยมพงษ์ ภาสวรรณ พหุลรัตน์ สุภาภรณ์ นิลเสรี
ประภัสสร พานิชกุล ไม่ได้เข้าร่วมประกวดนางงามจักรวาลเนื่องจากอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ จึงได้ไปประกวด มิสควีนออฟเดอะแปซิฟิค 1966 (Miss Queen of the Pacific) แทนที่ออสเตรเลีย
15. 2508 (1965) จีรนันทน์ เศวตนันทน์ ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ สุทิศา พัฒนุช มลุลี เอี่ยมศิริรักษ์ กิ่งกมล อุบลรัตน์
จีรนันทน์ เศวตนันทน์ได้ตำแหน่งรองอันดับสอง การประกวดนางงามจักรวาล 1966 ในการประกวดที่สหรัฐอเมริกา
14. 2507 (1964) อาภัสรา หงสกุล อรัญญา นามวงษ์ เนาวรัตน์ วัชรา เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล ละอองดาว กิริยา
เปลี่ยนชื่อตำแหน่งมาจาก นางงามวชิราวุธ
อาภัสรา หงสกุล ได้ตำแหน่งนางงามจักรวาล 1965 เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ในการประกวดที่สหรัฐอเมริกา
2498–2506 (1955–1963) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย
13. 2497 (1954) สุชีลา ศรีสมบูรณ์ จงดี วิเศษฤทธิ์ อุทัยวรรณ เทพจินดา ระเบียบ อาชนะโยธิน วาสนา รอดศิริ ธันวาคม 2497
จัดการประกวดที่สวนลุมพินี
12. 2496 (1953) อนงค์ อัชชวัฒนา นวลสวาท ลังการ์พินธุ์ เลิศลักษณ์ สิริวิเศษ อมรา อัศวนนท์ มารศรี ยุวนากร 12 ธันวาคม 2496
จัดการประกวดที่สวนลุมพินี เพลง "นางฟ้าจำแลง" ประพันธ์โดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้บรรเลงเป็นครั้งแรก ในคืนตัดสินการประกวดนางสาวไทย คืนวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 โดยครูเอื้อ ประพันธ์เพื่อต้อนรับนางสาวไทยคนใหม่ และถือเป็นเพลงประจำของการประกวดนางสาวไทยตั้งแต่นั้นมา
อมรา อัศวนนท์ เป็นตัวแทนไทยคนแรกที่เข้าประกวดนางงามจักรวาล เนื่องจากภาษาอังกฤษดี
11. 2495 (1952) ประชิตร์ ทองอุไร ดวงจันทร์ บุญศรี วิจิตรา วัลลิสุต พยุงศรี สาคริกานนท์ นัยนา ไชยสุต ธันวาคม 2495
เนื่องจากบริเวณสวนอัมพรมีพื้นที่คับแคบ ผู้คนต้องเบียดเสียดกัน ปีนี้จึงย้ายมาจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญที่สวนลุมพินี เพราะมีพื้นที่กว้างขวาง โดยจัดประกวดนางสาวไทยบนเกาะลอย กลางสวนลุมพินี
10. 2494 (1951) อุษณีย์ ทองเนื้อดี เปล่งศรี โสภาวรรณ สุวรรณา กังสดาร สุภัทรา ทวิติยานนท์ บุหงา วัชโรทัย ธันวาคม 2494
9. 2493 (1950) อัมพร บุรารักษ์ ศรีสมร อรรถไกวัลวที วีณา มหานนท์ โสภิตสุดา วรประเสริฐ พรทิพย์ จันทรโมกข์ ธันวาคม 2493
ปีแรกที่มีการสวมชุดว่ายน้ำเข้าประกวด แต่เนื่องจากเป็นช่วงหน้าหนาว จึงมีเสื้อคลุมให้กับผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยด้วย
2492 (1949) งดจัดการประกวด เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงครามออกคำสั่งยกเลิกการประกวดนางสาวไทย เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
8. 2491 (1948) ลัดดา สุวรรณสุภา ลักษมี กรรณสูต อุษา วีระวรรธนะ เรณู พิบูลภานุวัฒน์ ปราณี มาลีพันธุ์สกุล ธันวาคม 2491
รัฐบาลเริ่มจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง เพื่อบำรุงขวัญประชาชนหลังสงคราม โดยจัดที่สวนอัมพร ในปีนี้ มงกุฎจะมีตรารัฐธรรมนูญอยู่ด้านหน้า และในส่วนของเงินรางวัลถึง 8,000 บาท หรือ 100 ชั่ง นางสาวไทยปีนี้จึงถูกเรียกว่า "สาวน้อยร้อยชั่ง", วิไลวรรณ วัฒนพานิช เข้าร่วมประกวดในปีนี้ [3]
2484–2490 (1941–1947) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
7. 2483 (1940) สว่างจิตต์ คฤหานนท์ สมจิตต์ ลิ้มไพบูลย์ อารี ปิ่นแสง สอาด ลิ่มสวัสดิ์ ประชัญ ศิวเสน ธันวาคม 2483
ปีแรกที่มีการสวมชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขน เข้าประกวด
6. 2482 (1939) เรียม เพศยนาวิน มาลี พันธุมจินดา เทียมจันทร์ วานิชขจร เจริญศรี ปาศะบุตร ลำยอง สู่พานิช ธันวาคม 2482
ปีแรกที่ใช้ชื่อว่า นางสาวไทย และย้ายมาจัดที่สวนอัมพร
นางสาวสยาม
5. 2481 (1938) พิสมัย โชติวุฒิ † เสริมสุข จันทรเวคิน ลำดวน ดับทุกข์รัฎฐ์ สันธนา ลิ้มปิติ สุคนธ์ นาวารัตน์ ธันวาคม 2481
เนื่องจากในปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครเข้าประกวดกันน้อย เพื่อเป็นการจูงใจให้มีผู้เข้าร่วมประกวดมากขึ้น รัฐบาลจึงเพิ่มตำแหน่งรองนางสาวสยามอีก 4 ตำแหน่ง
4. 2480 (1937) มยุรี วิชัยวัฒนะ † ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ธันวาคม 2480
เนื่องจากยังไม่มีข้อกำหนดไว้ว่า ผู้ที่ได้รับตำแหน่งแล้ว จะไม่สามารถเข้าประกวดได้อีก และในปีนี้การจัดงานค่อนข้างกระชั้นชิด มีผู้สนใจสมัครประกวดกันน้อย คณะราษฎร์จึงได้ขอให้ วณี เลาหเกียรติ นางสาวสยาม พ.ศ. 2478 และ วงเดือน ภูมิรัตน์ นางสาวสยาม พ.ศ. 2479 เข้าร่วมประกวดด้วยอีกครั้ง ด้วยคำขอของคณะราษฎร์ที่ว่า เพื่อเป็นการช่วยชาติ แต่เป็นการร่วมประกวดเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับงานเท่านั้น จะไม่ได้รับตำแหน่งอีก
3. 2479 (1936) วงเดือน ภูมิรัตน์ † ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ธันวาคม 2479
2. 2478 (1935) วณี เลาหเกียรติ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 12 ธันวาคม 2478
1. 2477 (1934) กันยา เทียนสว่าง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง 12 ธันวาคม 2477
จัดการประกวดเนื่องในงานฉลองรัฐธรรมนูญ บริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ โดยใช้หลักเกณฑ์แต่ละจังหวัด ส่งสาวงามเป็นตัวแทนเข้ามาประกวด โดย กันยา เทียนสว่างเป็นนางงามจังหวัดพระนคร เริ่มประกวดในคืนวันที่ 10 ธันวาคม 2477

แกลอรี่ผู้ชนะ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "เริ่มแล้ว นางสาวไทย'62 เฟ้นหาที่สุดสาวงาม 77 จว. ประกวด มิสอินเตอร์ฯ ญี่ปุ่น". มติชน. 29 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. “นางสาวไทย” ที่โลกลืมคืนชีพแล้ว ย้ายจาก ช่อง 9 อสมท. กลับไปตายรังเดิม ช่อง 7
  3. แท้ ประกาศวุฒิสารสุภาพบุรุษเสือแท้. กรุงเทพ : มูลนิธิหนังไทย, พ.ศ. 2544. 368 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-88613-8-4 หน้า 157

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]