100 หนังสือดีวิทยาศาสตร์ไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงการ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2537-2548) เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ประกาศยกย่อง หนังสือวิทยาศาสตร์ไทย 88 เล่ม[1] ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 16 เดือน มี ร.ศ. ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล เป็นหัวหน้าโครงการ

โครงการต่อเนื่องนี้ มีเป้าหมายคือ กระตุ้นและส่งเสริมให้มีการผลิตและพัฒนา หนังสือ ที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม เนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่เป็นภาษาไทย เขียนโดยชาวไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2537 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งประกอบด้วยหนังสือวิทยาศาสตร์ และหนังสือประเภทอื่น ๆ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาเชิงวิทยาศาสตร์หรือส่งเสริมวิทยาศาสตร์ของผู้เขียน หนังสือแบบเรียนที่เหมาะสำหรับผู้อ่านทั่วไปก็ถูกจัดรวมอยู่ด้วย แต่ยกเว้นหนังสือคู่มือแปลหรือตำราระดับสูงเฉพาะด้าน

ผลการพิจารณาของโครงการ ได้ประกาศยกย่อง โดยแยกพิจารณาออกเป็น 2 ประเภท คือ

ผลงานสุดท้ายเป็นหนังสือ ปริทัศน์ 100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

  • รายชื่อหนังสือวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ระหว่าง 1 มกราคม 2537 - 31 ธันวาคม 2548 ที่สมบรูณ์ที่สุดที่โครงการรวบรวมได้
  • บทวิเคราะห์ วิจารณ์ แนะนำหนังสือ และประวัติผู้เขียน ตามรายชื่อหนังสือดีวิทยาศาสตร์ ทั้ง 100 เล่ม

โครงการได้รับการสนับสนุนงบดำเนินงานจาก 4 แหล่งได้แก่

บันเทิงคดี[แก้]

สารคดีและความรู้ทั่วไป[แก้]

ปกหนังสือ รู้ลึกโรคภูมิแพ้

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปริทัศน์หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม. รศ. ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล และคณะ. สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์, 2545

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]