รายชื่อธงในกองทัพไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตารางเบื้องล่างต่อไปนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับธงต่างๆ ที่ใช้อยู่ในกองทัพไทยอย่างสังเขป

ธงที่มีความหมายถึงชาติ[แก้]

ธงชัยเฉลิมพล[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2496 ธงชัยเฉลิมพลทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่กว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 105 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 52.5 เซนติเมตร ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาคันธง ผืนธงมุมบนด้านที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีเหลือง และมีชื่อหน่วยทหารสีเหลืองเป็นแถวโค้งโอบใต้พระปรมาภิไธยย่อ และมีขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลืองกว้าง 2 เซนติเมตร ซึ่งใช้พระราชทานครั้งแรกแก่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรารักษาพระองค์ ในวันราชวัลลภ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 รับรองเป็นธงในพระราชบัญญัติเมื่อ พ.ศ. 2522 )
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงชัยเฉลิมพลทหารบก ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 70 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีอุณาโลมทหารบกและมีชื่อหน่วยทหารสีแดงขลิบริมสีเหลือง เป็นแถวโค้งโอบใต้อุณาโลมทหารบก ผืนธงมุมบนด้านที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีแดงขลิบริมสีเหลืองรัศมีสีฟ้า ขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลือง กว้าง 2 เซนติเมตร ซึ่งก่อนหน้า พ.ศ. 2500 ใช้ตราอุณาโลมทหารบกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีคำขวัญจารึกไว้ว่า "สละชีพเพื่อชาติ" แบบธงปัจจุบันเป็นแบบตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522.
ธงชัยเฉลิมพลทหารเรือ ลักษณะเหมือนกันเกือบทุกประการกับธงฉานของกองทัพเรือไทยแต่มีขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลือง กว้าง 2 เซนติเมตร.
ธงชัยเฉลิมพลทหารอากาศ ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 70 เซนติเมตร ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีฟ้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 2 ใน 3 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในดวงกลมมีอุณาโลมทหารอากาศ และมีชื่อหน่วยทหารสีแดงขลิบริมสีเหลืองเป็นแถวโค้งโอบใต้ดวงกลมสีฟ้า ผืนธงมุมด้านบนที่ติดกับคันธงมีรูปพระมหามงกุฎและเลขหมายประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานเป็นตัวเลขไทยสีเหลือง ภายใต้พระมหามงกุฎมีพระปรมาภิไธยย่อสีแดงขลิบริมสีเหลืองรัศมีสีฟ้า และมีขอบธงด้านที่ติดกับคันธงสีแดงเข้มมีเกลียวเชือกสีแดงสลับน้ำเงิน ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลืองกว้าง 2 เซนติเมตร ซึ่งแบบธงปัจจุบันเป็นแบบตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522.

ธงในราชการทหารเรือ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ธงราชนาวี คล้ายธงราชทูต แต่ดวงกลมหลังรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเป็นสีแดง
ธงฉาน คล้ายธงไตรรงค์ แต่ตรงกลางมีเครื่องหมายกองทัพเรือไทยเป็นสีเหลือง

ธงในราชการทหารอากาศ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงแสดงหน่วยที่เป็นส่วนกำลังรบตั้งแต่ระดับฝูงบินหรือกองพันขึ้นไป มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีฟ้า ตรงกลางของผืนธงมีรูปเครื่องหมายกองทัพอากาศเป็นสีเหลือง และมีชื่อหน่วยทหารนั้น ๆ เป็นสีน้ำเงินดำเป็นแถวโค้งโอบใต้รูปเครื่องหมายกองทัพอากาศ
ธงแสดงหน่วยแยกอิสระที่เป็นส่วนกำลังรบ มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงแสดงหน่วยที่เป็นส่วนกำลังรบตั้งแต่ระดับฝูงบินหรือกองพันขึ้นไป

กระทรวงกลาโหม[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักรสีแดง 8 แฉก และมีสมอสีขาบสอดวงจักร ด้านซ้ายและด้านขวาของรูปจักรมีรูปปีกนกกางเป็นสีฟ้า อยู่ภายใต้พระมหามงกุฎสีเหลือง

กองบัญชาการทหารสูงสุด[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงประจำกองบัญชาการกองทัพไทย ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านยาวของผืนธงแบ่งเป็นสามตอนเท่ากัน ตอนต้นของผืนธงสีแดง ตอนกลางสีขาบ และตอนปลายสีฟ้า ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักรแปดแฉก แฉกของจักรเวียนไปทางขวา และมีสมอสอดวงจักร ด้านซ้ายและด้านขวาของรูปจักรมีรูปปีกนกกางล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ .
ธงผู้บัญชาการทหารสูงสุด ลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพไทย แต่มีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวงโค้งอยู่ข้างล่าง.

ธงกองทัพ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงประจำกองทัพบก ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีแดง ตรงกลางของผืนธงมีรูปเครื่องหมายกองทัพบกเป็นสีเหลือง
ธงประจำกองทัพเรือ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน พื้นธงสีขาบ ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีขาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 4 ใน 6 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในวงกลมมีรูปเครื่องหมายกองทัพเรือไทย ซึ่งเดิมเรียกชื่อว่า "ธงประจำกระทรวงทหารเรือ" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธงประจำกองทัพเรือ หลังมีการยุบกระทรวงทหารเรือและแปรสภาพหน่วยเป็น "กองทัพเรือ"
ธงประจำกองทัพอากาศ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีฟ้า ตรงกลางของผืนธงมีรูปเครื่องหมายกองทัพอากาศเป็นสีเหลือง
ไม่ปรากฏข้อมูล ธงประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงสีแดงเลือดหมู ตรงกลางของผืนธงมีรูปเครื่องหมายรูปพระแสงดาบเขนและโล่ ซึ่งเป็นรูปวงกลมเส้นคู่สองชั้น วงนอกเป็นลายพรรณพฤกษา วงในเป็นลายใบเทศผูกลายเป็นรูปหน้าสิงห์ เป็นสีเงิน

ธงผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุด[แก้]

ผู้บังคับบัญชาทหารบก[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงผู้บัญชาการทหารบก ลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพบก แต่มีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวงโค้งอยู่ข้างล่าง.
ธงแม่ทัพ ลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงผู้บัญชาการทหารบก เว้นแต่มีรูปดาวห้าแฉก 3 ดวง อยู่ตรงกลางภายใต้เครื่องหมายกองทัพบก 1 ดวง และอยู่ทางซ้ายและขวาของเครื่องหมายนั้นข้างละ 1 ดวง.
ธงผู้บัญชาการกองพล ลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงผู้บัญชาการทหารบก เว้นแต่มีรูปดาวห้าแฉก 2 ดวง อยู่ทางซ้ายและขวาของเครื่องหมายกองทัพบกข้างละ 1 ดวง.

ผู้บังคับบัญชาทหารเรือ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2440 ธงผู้บัญชาการทหารเรือ ลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพเรือ แต่ภายนอกตราของกองทัพเรือไม่มีวงกลม ซึ่งเดิมเรียกชื่อว่า "ธงเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นธงผู้บัญชาการทหารเรือ หลังมีการยุบกระทรวงทหารเรือและแปรสภาพหน่วยเป็น "กองทัพเรือ".
ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ธงผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงผู้บัญชาการทหารเรือ แต่ตอนต้น 2 ใน 3 ส่วนของความยาวมีรูปจักรแปดแฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้าย และมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎอยู่ตรงกลาง และปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซวลึก 1 ใน 3 ส่วนของความยาวของผืนธง.
ธงผู้บังคับการกองเรือ ลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ แต่ปลายธงที่เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซวเป็นสีขาว.
ธงผู้บังคับการสถานีทหารเรือ ลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ แต่ปลายธงที่เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซวเป็นสีแดง.
ธงผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ แต่ปลายธงที่เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซวเป็นสีเหลือง.

ผู้บังคับบัญชาทหารอากาศ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงผู้บัญชาการทหารอากาศ ลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพอากาศ แต่ระหว่างหัวปีกมีรูปธงชาติเฉียงอยู่ในอาร์มและตัวเลข ๙ ไทยที่อยู่ในพระมหามงกุฏสีเหลืองเป็นสีขาว

ธงหมายยศนายพล[แก้]

ทหารบก[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงหมายยศจอมพล รูปคทากับกระบี่ไขว้เหนือช่อชัยพฤกษ์อยู่ตรงกลางของกลุ่มดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ตรงกลางของผืนธง ให้ด้านหนึ่งของรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ด้านล่างขนานกับขอบล่างของผืนธง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง.
ธงหมายยศพลเอก รูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 4 ดวง เรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนอยู่ตรงกลางของผืนธง ให้มุมแหลมวางตามความยาวของผืนธง.
ธงหมายยศพลโท ดาวห้าแฉกสีเหลือง 3 ดวง เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ตรงกลางของผืนธง ให้ด้านฐานของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ด้านล่างขนานกับขอบล่างของผืนธง.
ธงหมายยศพลตรี ดาวห้าแฉกสีเหลือง 2 ดวง เรียงตามความยาวอยู่ตรงกลางของผืนธง.
ธงหมายยศพลจัตวา ดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง อยู่ตรงกลางของผืนธง.

ทหารเรือ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงหมายยศจอมพลเรือ จักร 5 จักร อยู่ที่มุมธงทั้งสี่มุม มุมละ 1 จักร และ อยู่ตรงกลางของผืนธงอีก 1 จักร.
ธงหมายยศพลเรือเอก จักร 4 จักร อยู่ที่มุมธงทั้งสี่มุม มุมละ 1 จักร.
ธงหมายยศพลเรือโท จักร 3 จักร เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ตรง.
ธงหมายยศพลเรือตรี จักร 2 จักร เรียงกันในแนวดิ่งอยู่ตรงกลางของผืนธง.
ธงหมายยศพลเรือจัตวา จักร 1 จักร อยู่ตรงกลางของผืนธง.

ทหารอากาศ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงหมายยศจอมพลอากาศ รูปคทากับกระบี่ไขว้เหนือช่อชัยพฤกษ์อยู่ตรงกลางของกลุ่มดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ตรงกลางของผืนธง ให้ด้านหนึ่งของรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ด้านล่างขนานกับขอบล่างของผืนธง รูปเหล่านี้เป็นสีขาว.
ธงหมายยศพลอากาศเอก ดาวห้าแฉกสีขาว 4 ดวง เรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนอยู่ตรงกลางของผืนธง ให้มุมแหลมวางตามความยาวของผืนธง.
ธงหมายยศพลอากาศโท ดาวห้าแฉกสีขาว 3 ดวง เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าอยู่ตรงก.
ธงหมายยศพลอากาศตรี ดาวห้าแฉกสีขาว 2 ดวง เรียงตามความยาวอยู่ตรงกลางของผืน.
ธงหมายยศพลอากาศจัตวา ดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง อยู่ตรงกลางของผืนธง.

ตำรวจ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ไม่ปรากฏข้อมูล ธงหมายยศพลตำรวจเอก ดาวแปดแฉกสีขาว 4 ดวง เรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนใต้พระมหาพิชัยมงกุฎรองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์อยู่ตรงกลางของผืนธง
ธงหมายยศพลตำรวจโท ดาวแปดแฉกสีขาว 3 ดวง เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎรองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์อยู่ตรงกลางของผืนธง
ธงหมายยศพลตำรวจตรี ดาวแปดแฉกสีขาว 2 ดวง เรียงตามความยาวภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎรองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์อยู่ตรงกลางของผืนธง

ธงประจำหน่วยทหารบก[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ธงประจำกองทัพน้อย ธงสีแดง-บานเย็น แบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบกและดาวห้าแฉกสามดวงเรียงตามแนวนอน
ธงประจำกองพลและมณฑลทหารบก ธงสีแดง-บานเย็น แบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบกและดาวห้าแฉกสองดวงเรียงตามแนวนอน
ธงประจำกรมทหารบก ธงสีแดง-บานเย็น แบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกรมนักเรียนนายร้อย ธงสีแดง-เหลืองแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายประจำโรงเรียนนายร้อยเป็นภาพสี
ธงประจำหน่วยรบพิเศษ ธงสีแดง-บานเย็น แบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก และที่กลางพื้นสีบานเย็นมีเครื่องหมายหน่วยรบพิเศษ
ธงประจำหน่วยบินทหารบก ธงสีแดง-บานเย็น แบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก และที่กลางพื้นสีบานเย็นมีเครื่องหมายหน่วยบินทหารบก
ธงประจำกองพันทหารราบ ธงสีแดง-ขาว แบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน และมีเส้นสีแดงพาดทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันรบพิเศษ ธงสีแดง-ขาว แบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน และมีเส้นสีแดงพาดทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก และมีเครื่องหมายหน่วยรบพิเศษอยู่บริเวณกึ่งกลางธงภายในมุมบนของสามเหลี่ยม
ธงประจำกองพันทหารปืนใหญ่ ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีเหลืองและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันนักเรียนนายร้อย ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีเหลืองและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายประจำโรงเรียนนายร้อยเป็นภาพสี
ธงประจำกองพันทหารช่าง ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีดำและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันทหารสื่อสาร ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีม่วงและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันทหารขนส่ง ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีน้ำตาลและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันทหารเสนารักษ์ ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีเขียวและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันทหารสารวัตร ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีน้ำเงินและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันทหารสรรพาวุธ ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีส้มและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก
ธงประจำกองพันบินทหารบก ธงสีแดงแบ่งครึ่งตามแนวทะแยงจากทางขวาบน ครึ่งขวาล่างแบ่งครึ่งอีกตามแนวทะแยงจากกึ่งกลางลงไปทางล่างขวา โดยด้านล่างเป็นสีฟ้าและด้านบนเป็นสีขาว ที่มุมซ้ายบนบนพื้นสีแดงมีเครื่องหมายกองทัพบก และมีเครื่องหมายหน่วยบินทหารบกอยู่บริเวณกึ่งกลางธงภายในมุมบนของสามเหลี่ยมบนพื้นสีฟ้า

ธงในอดีต[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
พ.ศ. 2428 – 2430 ธงประจำกองทัพบก (ธงจุฑาธุชธิปไตย) เป็นธงพื้นสีแดงขอบมีจักรสีขาวสามด้าน กลางเป็นรูปตราแผ่นดิน โปรดให้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ และได้พระราชทานแก่กองทหารซึ่งมหาอำมาตย์เอก จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เมื่อยังเป็น นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนาถ แม่ทัพ ได้ใช้ธงนี้นำทัพไปปราบฮ่อ ซึ่งเข้ามาก่อการจลาจลในเขตหัวพันห้าพกและสิบสองปันนา ในสงครามปราบฮ่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘.[1][2]
พ.ศ. 2460 – 2461 ธงชัยเฉลิมพลกองทหารอาสาของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ธงด้านหน้า) พื้นธงมีลักษณะอย่างธงราชนาวี แถบสีแดงตอนบนจารึกคาถาว่า “พาหุ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ ครีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ” แถบสีแดงตอนล่างจารึกคาถาว่า “ทานาทิธมฺมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุเต ชยสิทฺธินิจฺจํ” คาถาที่จารึกนี้เรียกว่า “คาถาพุทธชัยมงคล ๘” หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า “พาหุง” ที่ใช้คาถานี้เพราะ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบเทียบว่า ฝ่ายตรงข้ามเหมือนมารหรืออธรรมที่มุ่งมาโจมตีฝ่ายธรรม แต่ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ไป ดุจที่พระพุทธเจ้าทรงมีชัยชนะแก่พระยามารกระนั้น อีกประการหนึ่ง คาถาบทนี้มักใช้สวดในพิธีต่างๆ เป็นการอวยชัยให้พร การจารึกคาถาบนผืนธงจึงเท่ากับการอวยพรและเป็นนิมิตแห่งชัยชนะและสวัสดิภาพของเหล่าทหารไทย.
พ.ศ. 2460 – 2461 ธงชัยเฉลิมพลกองทหารอาสาของไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ธงด้านหลัง) พื้นธงมีลักษณะสีเหมือนธงไตรรงค์ กลางธงด้านหน้าเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ รร. และเลข ๖ ภายใต้พระมหามงกุฎและ รัศมี รูปทั้งหมดอยู่ภายในวงสีแดง ที่แถบสีแดงตอนบนจารึกคาถาว่า “พาหุ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ ครีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ” แถบสีแดงตอนล่างจารึกคาถาว่า “ทานาทิธมฺมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุเต ชยสิทฺธินิจฺจํ”

.

ธงกองทัพบก[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
พ.ศ. 2435 – 2451 ธงประจำกองทหารบก เป็นธงพื้นสีแดง กลางเป็นรูปตราแผ่นดิน.
พ.ศ. 2451- 2479 ธงผู้บัญชาการทหารบก พื้นธงมีลักษณะอย่างธงชาติ กว้าง ๕ ส่วน ยาว ๖ ส่วน ที่ศูนย์กลางมีรูปจักรสีขาว ดวงจักรเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ ๕/๖ ของความกว้างของธง สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ตามความในมาตรา ๑๖ แห่ง พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ .
พ.ศ. 2479 - 2522 พื้นธงมีลักษณะอย่างธงชาติ กว้าง ๕ ส่วน ยาว ๖ ส่วน ที่ศูนย์กลางมีรูปจักรอยู่ภายใต้พระมงกุฎสีเหลือง .

ธงทหารเรือ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
พ.ศ. 2434 - 2441 ธงเรือหลวง ธงแดงมีรูปช้างเผือกยืนแท่นทรงเครื่องหันหน้าเข้าหาเสา ที่มุมซ้ายบนมีจักรสีขาว 1 จักร.
พ.ศ. 2441 - 2455 ธงเรือหลวง (ธงราชการ) ธงแดงมีรูปช้างเผือกยืนแท่นทรงเครื่องหันหน้าเข้าหาเสา.
พ.ศ. 2455 - 2460 ธงทหารเรือ ธงแดงมีรูปช้างเผือกยืนแท่นทรงเครื่องหันหน้าเข้าหาเสา ที่มุมซ้ายบนมีตราราชการกองทัพเรือ.
พ.ศ. 2398 - 2434 ธงฉาน (ธงเกตุ) ธงรูปช้างเผือกหันหน้าเข้าเสาพื้นสีขาบชักไว้ที่หัวเรือหลวง.
พ.ศ. 2434 - 2440 ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นบนพื้นสีขาบ.

ธงทหารอากาศ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
พ.ศ. 2479 - 2522 ธงเจ้ากรมทหารอากาศ (ธงผู้บัญชาการทหารอากาศ) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมสีฟ้า กว้าง ๕ ส่วน ยาว ๖ ส่วน พื้นสีฟ้า ที่ศูนย์กลางธงมีรูปจักรสีเหลือง และมีปีกนกสีเหลืองประกอบข้างละปีก รูปทั้งหมดอยู่ภายใต้พระมหามงกุฎ ธงนี้ภายหลังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ธงผู้บัญชาการทหารอากาศ ตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติธง (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๑ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒.

ธงอื่นๆ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง ชื่อธง คำอธิบาย
พ.ศ. 2481 - 2490 ธงยุวชนทหาร พื้นธงมีลักษณะอย่างธงชาติ ตรงกลางมีขอบสีเหลืองรอบดวงกลมสีแดงมีตราประจำกองยุวชนทหารตรงกึ่งกลางธง ด้านมุมซ้ายบนมีตราพระปรมาภิไธยย่อประจำรัชกาลสีแดงภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎสีทองเปล่งรัศมี และมีชื่อนามหน่วยสีแดงขลิบริมสีเหลืองเป็นแถวโค้งโอบใต้ดวงกลมสีแดง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Chuthathut Thippatai Flag at Flags of the World
  2. "Thai Heritage Treasury, Ministry of Defence of Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-04-04.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]