ราชสกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชนิกูล)

ราชสกุล เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ "นามสกุล" เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดโดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า ราชนิกุล และสกุลอันสืบเนื่องมาจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า บวรราชสกุล

ส่วน ราชินิกุล หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)

ราชตระกูล

ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์ มีดังนี้

สายสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

ราชสกุล ในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มี 6 ราชสกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมันตามราชกิจจานุเบกษา องค์ต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
นรินทรางกูร NarindranKura na Ayudhya สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (พระโสทรเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หม่อมเจ้าชาย 11 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์
เทพหัสดิน Devahastin na Ayudhya สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระโสทรเชษฐภคินีพระองค์เล็ก ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หม่อมเจ้าชาย 6 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์ [1]
มนตรีกุล Montrikul na Ayudhya สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ หม่อมเจ้าชาย 15 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 22 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ [2]
อิศรางกูร Isarānkura na Ayudhya สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ หม่อมเจ้าชาย 26 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 41 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 15 องค์

สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

[3]
เจษฎางกูร Cheshtankura na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา พระราชอนุชา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หม่อมเจ้าชาย 8 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 องค์
นรินทรกุล Narindrakula na Ayudhya พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี พระกนิษฐภคินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์ [4]

ราชสกุล

หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งราชวงศ์จักรีนั้น ราชสกุลมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีก 18 ราชสกุล

สายรัชกาลที่ 1

ราชสกุล ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มี 8 ราชสกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมันตามราชกิจจานุเบกษา องค์ต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
ฉัตรกุล Chhatrakul na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 องค์สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 องค์ [3]
ดวงจักร Duangchakra na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ดารากร Tārākara na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเทพ หม่อมเจ้าชาย 4 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ [1]
ทัพพะกุล Dabbakula na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นจิตรภักดี หม่อมเจ้าชาย 1 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์
พึ่งบุญ Phungbun na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์ [5]
สุทัศน์ Sudasna na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต หม่อมเจ้าชาย 12 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 องค์
สุริยกุล Suriyakul na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร หม่อมเจ้าชาย 11 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 19 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 4 องค์
อินทรางกูร Indrangura na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอินทรพิพิธ หม่อมเจ้าชาย 7 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์

สายรัชกาลที่ 2

ราชสกุล ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มี 20 ราชสกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมันตามราชกิจจานุเบกษา องค์ต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
กปิตถา Kapittha na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์
กล้วยไม้ Kluaymai na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุนทรธิบดี หม่อมเจ้าชาย 8 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 องค์ [3]
กุญชร Kunjara na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ หม่อมเจ้าชาย 11 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ [3]
กุสุมา Kusuma na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเสพสุนทร หม่อมเจ้าชาย 4 องค์
ชุมแสง Xumsaeng na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา หม่อมเจ้าชาย 10 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 องค์
เดชาติวงศ์ Tejativongse na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร หม่อมเจ้าชาย 6 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ทินกร Dinakara na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 15 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 องค์
นิยมิศร Niyamisar na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 องค์
นิลรัตน Nilaratna na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา หม่อมเจ้าชาย 8 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 องค์
ปราโมช Pramoja na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ หม่อมเจ้าชาย 29 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 องค์

สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์

พนมวัน Phanomvan na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ หม่อมเจ้าชาย 6 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 องค์

สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

[1]
ไพฑูรย์ Baidurya na Ayudhy พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 องค์
มรกฎ Marakata na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสถิตย์สถาพร หม่อมเจ้าชาย 4 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 องค์ [6]
มหากุล Mahaku na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 องค์
มาลากุล Mālakul na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 องค์

สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์

[5]
เรณุนันทน์ Renunandana na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 องค์
วัชรีวงศ์ Vajrivansa na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
สนิทวงศ์ Snidvongs na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หม่อมเจ้าชาย 21 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 31 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์ [3][7]
อรุณวงษ์ Arunvongse na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ หม่อมเจ้าชาย 6 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 องค์
อาภรณ์กุล Abharanaku na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ หม่อมเจ้าชาย 7 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 องค์

สายรัชกาลที่ 3

ราชสกุล ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 13 ราชสกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมันตามราชกิจจานุเบกษา องค์ต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
โกเมน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ หม่อมเจ้าชาย 1 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 3 องค์
คเนจร Ganechara na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ หม่อมเจ้าชาย 17 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 องค์ [3]
งอนรถ Ngon-rath na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ หม่อมเจ้าชาย 1 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 องค์ [8]
ชมพูนุท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ชุมสาย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม หม่อมเจ้าชาย 4 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ปิยากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก หม่อมเจ้าชาย 1 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์
ลดาวัลย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี หม่อมเจ้าชาย 14 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 25 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์
ลำยอง Lamyong na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง หม่อมเจ้าชาย 1 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์ [6]
ศิริวงศ์ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์ และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 4 พระองค์

สถาปนาพระอัฐิเป็นสมเด็จพระบรมราชินี 1 พระองค์

สิงหรา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร หม่อมเจ้าชาย 10 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 องค์
สุบรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล หม่อมเจ้าชาย 7 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 องค์
อรรณพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์
อุไรพงศ์ Uraibongs na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ หม่อมเจ้าชาย 8 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ [6]

สายรัชกาลที่ 4

ราชสกุล ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 27 ราชสกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมันตามราชกิจจานุเบกษา องค์ต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
กมลาศน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร หม่อมเจ้าชาย 14 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 องค์
กฤดากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 15 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
เกษมศรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ หม่อมเจ้าชาย 18 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 1 องค์
เกษมสันต์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 43 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 25 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 3 องค์

กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 2 องค์

คัคณางค์ Gaganānga na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์ [6]
จักรพันธุ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ หม่อมเจ้าชาย 7 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 12 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 17 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 6 องค์
[9]
จันทรทัต พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 องค์

กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 1 องค์

จิตรพงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 องค์
ชยางกูร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป หม่อมเจ้าชาย 15 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 2 องค์
ชุมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ หม่อมเจ้าชาย 11 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์
ไชยันต์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ [10]
ดิศกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หม่อมเจ้าชาย 14 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 23 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 1 องค์
ทวีวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 6 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 องค์
ทองแถม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ หม่อมเจ้าชาย 8 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 องค์
ทองใหญ่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม หม่อมเจ้าชาย 11 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 1 องค์
เทวกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หม่อมเจ้าชาย 25 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 23 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
นพวงษ์ Navavongs na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หม่อมเจ้าชาย 15 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์
ชั้นปนัดดา สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า 1 พระองค์
[1]
ภาณุพันธุ์ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 4 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 4 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์

กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 3 องค์

[11]
วรวรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ หม่อมเจ้าชาย 19 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์ และพระนางเธอ 1 พระองค์
กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 2 องค์
วัฒนวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ หม่อมเจ้าชาย 4 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์
ศรีธวัช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 7 องค์
ศุขสวัสดิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช หม่อมเจ้าชาย 23 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
โศภางค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์
สวัสดิกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์
สวัสดิวัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ หม่อมเจ้าชาย 22 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 องค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 1 พระองค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 6 องค์
สุประดิษฐ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
โสณกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา หม่อมเจ้าชาย 8 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
[12]

สายรัชกาลที่ 5

ราชสกุล ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 15 ราชสกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมันตามราชกิจจานุเบกษา องค์ต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
กิติยากร Kitiyākara na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หม่อมเจ้าชาย 13 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ชั้นนัดดา สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง 1 พระองค์
ชั้นปนัดดา สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
[13]
รพีพัฒน์ Rabībadhana na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 6 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 2 องค์ [13]
ประวิตร Pavitra na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 องค์ [13]
จิรประวัติ Chirapravati na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช หม่อมเจ้าชาย 4 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 องค์ [13]
อาภากร Ābhākara na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 3 องค์ [13]
บริพัตร Paribatra na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 4 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์

กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 1 พระองค์

[13]
ฉัตรชัย Chhatr-jaya na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 3 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 3 องค์ [13]
บุรฉัตร Purachatra na Ayudhya พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามราชสกุลบุรฉัตร สำหรับหม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทั้งสองมีพระโอรสบุญธรรม 1 คน [13]
เพ็ญพัฒน์ Beñ-badhana na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 1 องค์ [13]
จักรพงษ์ Chakrabongs na Ayudhya สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หม่อมเจ้าชาย 1 องค์

สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

[13]
ยุคล Yugala na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 7 องค์
[13]
วุฒิชัย Vudhijaya na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร หม่อมเจ้าชาย 5 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 3 องค์ [13]
สุริยง Suriyong na Ayudhya พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส หม่อมเจ้าชาย 9 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 2 องค์ [13]
รังสิต Rangsit na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หม่อมเจ้าชาย 2 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส 1 องค์ [13]
มหิดล Mahitala na Ayudhyaปัจจุบันสะกดด้วยอักษรโรมันเป็น Mahidol na Ayudhya สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 1 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์

เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ และสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าหญิง 1 พระองค์
ชั้นนัดดา เจ้าฟ้าชาย 1 พระองค์ เจ้าฟ้าหญิง 3 พระองค์ เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1 พระองค์ กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ 1 พระองค์
ชั้นปนัดดา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 4 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชาย 1 พระองค์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์ กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ 4 องค์

[13]
จุฑาธุช Chudādhuj na Ayudhya สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย หม่อมเจ้าชาย 1 องค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 องค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์ [13]

สายรัชกาลที่ 7

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 1 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และเป็นพระราชโอรสบุญธรรมใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ทรงสมรสกับหม่อมมณี และเมื่อหม่อมมณีตั้งครรภ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานนาม ศักดิเดชน์ จากพระนามาภิไธย ประชาธิปกศักดิเดชน์ เพื่อใช้เป็นชื่อราชสกุล แต่ทางคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่ยินยอมให้ใช้ โดยอ้างเรื่องสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ จึงมาใช้ "ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์" แทน[14][15]

สายรัชกาลที่ 9

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มี 1 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
วิวัชรวงศ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแด่พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้นดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ประสูติแต่ สุจาริณี วิวัชรวงศ์ หรือเดิมคือ พันตรีหญิง หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา [16]
วชิราลงกรณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแด่พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพลเอกหญิง ท่านผู้หญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา โดยพระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จะสะกดราชสกุลว่า วชิราลงกรณ อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เมื่อครั้งดำรงพระยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงติดป้ายพระนามประจำชุดทหารของพระองค์ว่า สิริวัณณวรีนารีรัตน์ วชิราลงกรณ แต่สำหรับพลเอกหญิง ท่านผู้หญิงสุทิดา (สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี) จะสะกดราชสกุลว่า วชิราลงกรณ์

สายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ราชสกุล ใน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มี 10 สกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมัน
(ตามราชกิจจานุเบกษา)
พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
สินสุข สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ โอรส 2 พระองค์ ธิดา 2 พระองค์ (สายเจ้าพระยายมราช (สุข))
อินทรโยธิน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ โอรส 2 พระองค์ ธิดา 2 พระองค์ (สายคุณชายนุด)
ลักษณะสุต laksanasu'ta พระยาเสนาภิมุข (จง ลักษณะสุต) บุตร 2 คน ธิดา 2 คน [17][18][19][20]
พงษ์สิน สมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงศ์ โอรส 5 พระองค์ ธิดา 11 พระองค์
รุ่งไพโรจน์ สมเด็จเจ้าฟ้าเรนทรราชกุมาร โอรส 8 พระองค์ ธิดา 10 พระองค์
อภัยกุล สมเด็จเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
ศิลานนท์ สมเด็จเจ้าฟ้าศิลา โอรส 1 พระองค์ ธิดา 2 พระองค์
รัตนภาณุ พระองค์เจ้าอรนิกา โอรส 5 พระองค์ ธิดา 1 พระองค์
ณ นคร เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) บุตร 16 คน ธิดา 18 คน
อินทรกำแหง เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) บุตร 28 คน ธิดา 22 คน

ราชสกุลย่อยสายเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)

สกุล ใน เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) มี 2 สกุล
ราชสกุล นามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
จาตุรงคกุล เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) สายพระยาเสน่หามนตรี (น้อยเอียด)
โกมารกุล ณ นคร เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) สายเจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยเมือง)

ราชสกุลย่อยสายเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)

สกุล ใน เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) มี 9 สกุล
ราชสกุล นามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
คชวงศ์ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายคุณหญิงพริ้ง
มหาณรงค์ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายพระมหาณรงค์ (พลาย)
อินทโสฬส เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายพระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ (โสฬส)
อินทนุชิต เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายพระภักดีนุชิต (ทัศ)
เชิญธงไชย เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายพระยาบรมราชบรรหาร (สมบูรณ์)
เนียมสุริยะ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายพระศรีสิทธิสงคราม (ช้าง)
นิลนานนท์ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายพระศรีสิทธิสงคราม (ช้าง)
ศิริพร เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายคุณชายศรีจันทร
ชูกริส เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) สายหลวงเทพภักดี (มั่ง)

บวรราชสกุล

สายวังหน้า

สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มี 4 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
นีรสิงห์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเณร หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ปัทมสิงห์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สังขทัต พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนนรานุชิต หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
อสุนี พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเสนีเทพ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์

สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ มี 10 สกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมัน
(ตามราชกิจจานุเบกษา)
พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
บรรยงกะเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
พยัคฆเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ภุมรินทร์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมริน หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์
ยุคันธร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
รองทรง พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
รังสิเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์
รัชนิกร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนิกร หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สหาวุธ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
สีสังข์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสีสังข์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
อิศรเสนา Israsenā na Ayudhya พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์ [2]

สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ มี 5 สกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมัน
(ตามราชกิจจานุเบกษา)
พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
กำภู Khambhu na Ayudhya พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำภู หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์ [3]
เกสรา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
อิศรศักดิ Israsakdi na Ayudhya พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ หม่อมเจ้าชาย 12 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์ [4]
อนุชะศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุช หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
นันทิศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์

สายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 11 สกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมัน
(ตามราชกิจจานุเบกษา)
พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
สุธารส Sudhārasa na Ayudhya พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุธารส หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์ [6]
วรรัตน์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ภาณุมาศ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุมาศ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
หัสดินทร์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์
นวรัตน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ยุคนธรานนท์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคนธร หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
โตษะณีย์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโตสินี หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
นันทวัน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านันทวัน หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
พรหเมศ Brahmesa na Ayudhya พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรหเมศ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ [6]
จรูญโรจน์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ หม่อมเจ้าชาย 13 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สายสนั่น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนั่น หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์

สายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ มี 9 สกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมัน
(ตามราชกิจจานุเบกษา)
พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
วิไลยวงศ์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
กาญจนะวิชัย พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
กัลยาณะวงศ์ Kalyānavongs na Ayudhya พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
[21]
สุทัศนีย์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
วรวุฒิ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
รุจจวิชัย พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
วิบูลยพรรณ Vipūlyabarna na Ayudhya พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิบูลยพรรณรังษี หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์ [6]
รัชนี Rajanī na Ayudhya พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
[21]
วิสุทธิ Visuddhi na Ayudhya พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์ [6]

สายวังหลัง

สายสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์

บวรราชสกุล ใน วังหลัง-สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ มี 2 สกุล
ราชสกุล สะกดด้วยอักษรโรมัน
(ตามราชกิจจานุเบกษา)
พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม อ้างอิง
ปาลกะวงศ์ Pālakavangsa na Ayudhya พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ หม่อมเจ้าชาย 31 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 พระองค์ [2]
เสนีวงศ์ Senivongse na Ayudhya พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 25 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 พระองค์

ราชินิกุล

สายสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 2 ซึ่งมักเรียกรวม ๆ กันไปว่า ราชินิกุลบางช้าง เพราะนิเวศสถานเดิมอยู่ ตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง (ซึ่งต่อมาจึงยกเป็นเมืองสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ ราชินิกุลก๊กใหญ่ คือ สกุลบุนนาค

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ณ บางช้าง ทอง ณ บางช้าง กับสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี ใช้ในสายเจ้าคุณหญิงแก้ว
ชูโต พระยาสมบัติบาล (เสือ) กับคุณหญิงม่วง คุณหญิงม่วง เป็นบุตรีในเจ้าคุณชายชูโต พระเชษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
สวัสดิ์-ชูโต พระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต) ทายาทเจ้าคุณชายชูโต
แสง-ชูโต พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) บุตรพระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต)
บุนนาค เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล เป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

สายสมเด็จพระศรีสุลาลัย

พระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระศรีสุลาลัยในรัชกาลที่ 2 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 3 ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัย และสายสกุล ศิริสัมพันธ์ สืบมาจากท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาลัย

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุลาลัย
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ศิริสัมพันธ์ ท่านสาด (น้องนางต่างชนนีของพระชนนีเพ็ง) สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมาน ชาห์แห่งสงขลา
ณ พัทลุง พระยาพัทลุง (ทองขาว) สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมาน ชาห์แห่งสงขลา

สายสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 4 ที่เป็นราชินิกูลคือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเพชรบุรี (เรือง) ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าขรัวเงิน แซ่ตันพระชนกของพระองค์ ทั้งสองท่านเป็นชาวจีนเหมือนกัน บุตรพระยาเพชรบุรี (เรือง) คือเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี) เป็นต้นสกุลหลายสกุลด้วยกันจึงถือว่าสกุลเหล่านี้เป็นราชินิกุล

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
บุญ-หลง เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฦๅไชย (บุญมี)
พลางกูร เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทร์ฦๅไชย (บุญมี)

สายสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 5 ราชินิกุลรัชกาลที่ 5 ฝ่ายพระชนนีนั้น เป็นชาวสวนบางเขน และสกุลอำมาตย์รามัญสายพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ที่เกี่ยวดองกันกับสกุลรามัญสาย พระยาจักรีมอญ (กรุงธนบุรี) เชื้อสายราชินิกุล ที่มิใช่ขัตติยราชตระกูล เท่าที่ค้นได้จากหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ 5 คือ "สกุลสุรคุปต์"

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
สุรคุปต์ พระยารัตนจักร (หงส์ทอง สุรคุปต์)

สายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 รวมถึงสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 พระอัยยิกาในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ซึ่งทางฝ่ายพระชนนีนั้น คือสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ท่านเป็นธิดาของท้าวสุจริตธำรง (นาค) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุล แก่ผู้สืบสายจากท้าวสุจริตธำรง ผู้เป็นราชินิกุล ว่า "สุจริตกุล"

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
สุจริตกุล หลวงอาสาสำแดง (แตง) กับท้าวสุจริตธำรง (นาค)

สายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 คือคุณถมยา พระอนุชาของพระองค์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ชูกระมล" เพื่อเป็นนามสกุลสำหรับผู้ที่สืบจาก พระชนกชู ชูกระมล และพระชนนีคำ ชูกระมล และทายาทในอนาคต แต่คุณถมยา ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยรุ่น สกุลนี้จึงสิ้นไป

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ชูกระมล ชู ชูกระมล

สายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 10 แบ่งเป็นสองสายได้แก่สายพระบิดา เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5 พระปัยยิกาเป็นบุตรีของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) และปราง สมบัติศิริ ส่วนสายพระมารดา พระปัยกาคือ คุณรวย บุญธร มีมารดาเป็นสตรีจากสกุลบุณยรัตพันธุ์

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
พิศลยบุตร พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม)
สมบัติศิริ พระยาสมบัติวานิช (บุญศรี)
บุญธร รวย บุญธร
บุณยรัตพันธุ์ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 4, เล่ม 30, ตอน 0ง, 7 กันยายน พ.ศ. 2456, หน้า 1360.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 2, เล่ม 30, ตอน 0ง, 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2456, หน้า 691" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2017-10-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 3, เล่ม 30, ตอน 0ง, 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2456, หน้า 833.
  4. 4.0 4.1 "ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๔ (ลำดับที่ ๑๑๕๖ ถึงลำดับที่ ๑๑๘๒)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 (0 ง): 72. 5 เมษายน 2457.
  5. 5.0 5.1 "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล, เล่ม 30, ตอน 0ง, 26 มิถุนายน พ.ศ. 2456, หน้า 648" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2017-10-09.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสืบเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๒-๓-๔ กับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ และพระราชวรวงศ์เธอ, เล่ม 46, ตอน 0ก, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2472, หน้า 84.
  7. "สายสกุลสนิทวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-24. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  8. "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกรมราชเลขาธิการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล (งอนรถ ณ อยุธยา), เล่ม 45, ตอน 0ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2471, หน้า 2934" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-12-26.
  9. พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  10. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. ก่อนเลือนหายในสายลม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, พ.ศ. 2542. 333 หน้า. ISBN 978-974-42-6298-1
  11. สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย The Rising Prince เสี้ยวหนึ่งของพระชนม์สมเด็จวังบูรพา. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, พ.ศ. 2551. 210 หน้า. ISBN 978-974-16-3093-6
  12. "ราชสกุลโสณกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-20. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  13. 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 13.15 "ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น 5, เล่ม 46, ตอน 0ก, 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472, หน้า 21" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-12-26.
  14. จุลลดา ภักดีภูมินทร์ , เลาะวัง เล่ม 2
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2006-09-01.
  16. wikipedia (15 December 2014). "Chakri dynasty". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 19 october 2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "รายพระนามแม่ทัพภาค". wikipedia. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
  18. ""ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 9 " (PDF)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
  19. ลำดับสกุลเกาบางสกุล ภาคที่ 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การรถไฟ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-04.
  20. "พระราชประวัติและสาแหรกโดยมีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นปฐมวงศ์". HUEXONLINE.COM. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
  21. 21.0 21.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 72, เล่ม 34, ตอน 0ง, 2 กันยายน พ.ศ. 2460, หน้า 1618.

แหล่งข้อมูลอื่น