ราชนาวิกสภา

พิกัด: 13°44′55″N 100°29′13″E / 13.748535°N 100.486857°E / 13.748535; 100.486857
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องหมายราชการของราชนาวิกสภา

ราชนาวิกสภาเป็นหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการกรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีหน้าที่อยู่ 2 ประการ คือ กิจการนาวิกศาสตร์ เก็บถาวร 2013-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และการปาฐกถาประจำปี สำหรับการบริหารงานของราชนาวิกสภานั้น กองทัพเรือได้แต่งตั้ง คณะกรรมการราชนาวิกสภา โดยคณะกรรมการนี้ประกอบด้วยนายกกรรมการ 1 ท่าน รองกรรมการ 1 ท่าน และกรรมการอีก 7 ท่าน

ประวัติ[แก้]

อาคารราชนาวิกสภา

ราชนาวิกสภาตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 โดยคำสั่งกระทรวงทหารเรือ โดยมี จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เป็นผู้ลงนามในคำสั่ง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2458 โดยในสมัยแรกก่อตั้งทรงรับเป็นผู้อำนวยการพิเศษและเป็นสภาปถัมภก และพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงรับเป็นผู้อำนวยการ

ความมุ่งหมายในการจัดตั้ง[แก้]

เพื่อใช้เป็นสถาบันส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่วิชาการแก่นายทหาร และเพื่อให้นายทหารได้พบปะปราศรัย แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นายทหารสัญญาบัตร ทั้งนี้ โดยให้ราชนาวิกสภาอยู่ในความปกครองของกรมเสนาธิการทหารเรือ โดยตั้งตำแหน่งบรรณารักษ์ 1 นาย ปฏิคม 1 นาย และผู้ช่วยพลทหารรับใช้ตามอัตรา และเสนาธิการทหารเรือมีอำนาจที่จะสั่งนายทหารเป็นกรรมการอำนวยการราชนาวิกสภา หรือเป็นกรรมการพิเศษเฉพาะการใดการหนึ่งของราชนาวิกสภา โดยจำนวนกรรมการ คณะหนึ่งไม่เกิน 5 คน และราชนาวิกสภานี้ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (หลักฐานสอบจากกองพระธรรมนูญ)

สถานที่ตั้ง[แก้]

สถานที่ตั้งของราชนาวิกสภาอยู่ทางริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เดิมเป็นบ้านของ พระอินทรเทพ (ทัพ) ภายหลังตกเป็นของพระคลังข้างที่ กองทัพเรือได้เริ่มเช่ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2443 โดยเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พื้นที่ 241.93 ตารางวา เสียค่าเช่าปีละ 300 บาท

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°44′55″N 100°29′13″E / 13.748535°N 100.486857°E / 13.748535; 100.486857