ราชกุมารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชกุมารี
HRH The Princess Anne, Princess Royal
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เจ้าหญิงแอนน์

ตั้งแต่ ค.ศ. 1987
การเรียกขานHer Royal Highness
Ma'am
จวนพระราชวังเซนต์เจมส์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
วาระตลอดพระชนม์
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์

ราชกุมารี[1] (อังกฤษ: The Princess Royal[2]) เป็นพระอิสริยยศตามราชประเพณี (แต่ไม่เป็นแบบอัตโนมัติ) ซึ่งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรพระราชทานแก่พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ที่สุด โดยเจ้าหญิงพระองค์นั้นจะดำรงพระอิสริยยศนี้อยู่ตลอดพระชนม์ชีพ ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะสถาปนาเจ้าหญิงพระองค์อื่นให้เป็นราชกุมารีอีกพระองค์ได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ไม่เคยทรงดำรงตำแหน่งราชกุมารีเลย) จวบจนถึงปัจจุบันนี้ได้มีราชกุมารีมาแล้วทั้งสิ้น 7 พระองค์[3][4] โดยพระองค์ล่าสุดคือ เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี

พระอิสริยยศนี้เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย (พ.ศ. 2252 - 2312) พระราชธิดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และพระมเหสีในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ มีพระประสงค์จะเลียนแบบการสถาปนาพระอิสริยยศ "Madame Royale" ให้กับพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของกษัตริย์ฝรั่งเศส พระอิสริยยศนี้จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Warrant) ไม่ใช่สถาปนาจากพระราชสัญญาบัตร (Letters Patent) และไม่ได้พระราชทานแก่พระราชธิดาพระองค์ใหญ่โดยอัติโนมัติ หากแต่จะเป็นการแต่งตั้งจากพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์

เจ้าหญิงแมรี (หรือสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2) (พ.ศ. 2208 - 2237) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าเจมส์ที่ 2 และพระมเหสีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2193 - 2245) และเจ้าหญิงโซฟี โดโรเทอา พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าจอร์จที่ 1 และต่อมาเป็นพระมเหสีในพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทั้งสองทรงเหมาะสมกับพระอิสริยยศนี้ หากแต่ไม่ทรงได้รับพระราชทาน

รายพระนามราชกุมารี[แก้]

เจ้าหญิงที่ทรงเคยดำรงพระอิสริยยศเป็น "ราชกุมารี" อย่างเป็นทางการมีจำนวน 7 พระองค์ ดังนี้

  เป็นที่ถกเถียง
ลำดับ พระรูป พระนาม
ชาตะ
ดำรงตำแหน่ง
จาก (ปี) ถึง (ปี)
พระราชธิดาใน ปีที่เสกสมรส พระสวามี
ชาตะ
หมายเหตุ
1 เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารี
1631–1660
1642–1660 พระเจ้าชาลส์ที่ 1
1600–1649
1641 เจ้าชายวิลเลียมที่ 2 แห่งออเรนจ์
1626–1650
เจ้าหญิงลุยซา มาเรีย สจวร์ต
1692–1712
1692–1712 พระเจ้าเจมส์ที่ 2
1633–1701
2 เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี
1709–1759
1727–1759 พระเจ้าจอร์จที่ 2
1683–1760
1734 เจ้าชายวิลเลียมที่ 4 แห่งออเรนจ์
1711–1751
3 เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ พระราชกุมารี
1766–1828
1789–1828 พระเจ้าจอร์จที่ 3
1738–1820
1797 พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค
1754–1816
4 เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี
1840–1901
1841–1901 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
1819–1901
1858 จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี
1831–1888
ทายาทโดยสันนิษฐาน 1840–1841
5 เจ้าหญิงลูอีส พระราชกุมารี
1867–1931
1905–1931 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
1841–1910
1889 อเล็กซานเดอร์ ดัฟฟ์ ดยุกที่ 1 แห่งไฟฟ์
1849–1912
6 เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารี
1897–1965
1932–1965 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5
1865–1936
1922 เฮนรี ลาสเซลเลส เอิร์ลที่ 6 แห่งแฮร์วูด
1882–1947
7 เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี
1950–
1987–ปัจจุบัน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
1926–2022
1973–1992 ร้อยเอกมาร์ก ฟิลลิปส์
1948-
1992 เซอร์ทิโมธี ลอเรนซ์
1955–

ราชกุมารีในประเทศไทย[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงพระนิพนธ์แปลพระอิสริยยศ Princess Royal ไว้ในหนังสือเกิดวังปารุสก์ และพระนิพนธ์อีกหลายเล่มว่า เจ้าฟ้าพระวรกุมารี บ้างทรงทับศัพท์ตรงตัวว่า เจ้าฟ้าหญิงรอยัล

ส่วนสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สยามบรมราชกุมารี"[5] ซึ่งเป็นพระอิสริยยศที่เทียบเท่า "ราชกุมารี"[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๓ อักษร E-G, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2543, หน้า 30.
  2. The Royal Family: Royal Titles. "Style and Title of the Princess Royal." - Royal.gov.uk Retrieved 16 June 2008.
  3. ""The Princess Royal, The British Monarchy". Royal.gov.uk. (Retrieved 2010-01-12.)
  4. 35. Who were the princesses who bore the style "Princess Royal"?
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา), เล่ม ๙๔, ตอน ๑๓๑ก ฉบับพิเศษ, ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๑
  6. McCargo, Duncan (2010), "Thailand", Regional Oulook: Southeast Asia 2010-2011, Institute of Southeast Asian Studies, p. 55