รางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม เป็นหนึ่งในรางวัลออสการ์โดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ที่มอบให้กับภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในด้านเทคนิคพิเศษ ครั้งแรกในการมอบรางวัล (ปีค.ศ. 1939) รางวัลนี้มีชื่อว่า Best Special Effects ต่อมาในปีค.ศ. 1963 รางวัลนี้ได้แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ Best Special Visual Effects และ Best Sound Effects ในปีค.ศ. 1972 ได้มีการหยุดมอบรางวัลนี้ และเปลี่ยนไปมอบรางวัล Academy Special Achievement Award แทน แต่เป็นช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ในปีค.ศ. 1996 รางวัลนี้ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Best Visual Effects มาจนถึงปัจจุบัน และในปีค.ศ. 2007 ได้เปลี่ยนวิธีการเลือกภาพยนตร์ที่เข้าชิงรางวัล คือ จะเลือกภาพยนตร์มา 15 เรื่อง และคัดเหลือ 7 เรื่องในรอบสอง หลังจากนั้นจึงประกาศภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้เพียง 3 เรื่อง

สำหรับภาพยนตร์ที่จะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนี้ เทคนิคพิเศษจะต้องเป็นสิ่งที่การถ่ายภาพยนตร์ทั่วไปทำไม่ได้ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติของตึกเอ็มไพร์สเตตทั้งตึก ไม่ถือว่าเข้าเงื่อนไข เนื่องจากเราสามารถ่ายภาพของตึกได้โดยง่าย ในขณะเดียวกันกรุงโรมโบราณจะเข้าเงื่อนไข เพราะเราไม่สามารถถ่ายภาพของกรุงโรมในอดีตได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินไม่ได้พิจารณาที่ฉากใดฉากหนึ่งของภาพยนตร์เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาคุณภาพของเทคนิคพิเศษโดยรวมของภาพยนตร์เรื่องนั้น

ตามกฎของออสการ์ เงื่อนไขของรางวัลนี้คือ

(ก) การพิจารณาเทคนิคพิเศษให้พิจารณาจากภาพรวมในการสร้างภาพยนตร์ และ

(ข) ความสามารถในทางศิลปะ ฝีมือ และ ความถูกต้อง ที่ทำให้เกิดภาพลวงตาได้

ปีค.ศ. 1939[แก้]

ปีค.ศ. 1940–1949[แก้]

ปีค.ศ. 1950–1959[แก้]

ปีค.ศ. 1960–1969[แก้]

ปีค.ศ. 1970–1979[แก้]

ปีค.ศ. 1980–1989[แก้]

ปีค.ศ. 1990–1999[แก้]

ปีค.ศ. 2000–2009[แก้]

ปีค.ศ. 2010–2019[แก้]

ปีค.ศ. 2020–2029[แก้]