รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2521-2522 เป็นรางวัลภาพยนตร์ไทยครั้งแรกซึ่งจัดโดยสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย โดยมี นางจิรวรรณ กัมปนาทแสนยากร เป็นนายกสมาคม มีพิธีประกาศผลและมอบรางวัลเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดย ศ.ประกอบ หุตะสิงห์ องคมนตรีผู้แทนพระองค์เป็นประธานมอบรางวัล

จุดเริ่มต้นของรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ มาจากงานมหกรรมภาพยนตร์อาเซียน ของสมาพันธ์ผู้สร้างภาพยนตร์เอเชียภาคตะวันออกไกล (The Federation of Motion Picture Producers in South-East Asia) ครั้งที่ 23 ปี พ.ศ. 2520 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย โดยทางสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยได้มีมติให้จัดทำรางวัลเป็นรูปหัวเรือสุพรรณหงส์ เพราะเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนซึ่งชาวต่างชาติคุ้นตากันดี ถือเป็นศิลปะชั้นสูงที่มีความหมายที่ให้เกียรติและศักดิ์ศรี หลังจากนั้นงานดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหกรรมภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิก ของสมาพันธ์ผู้สร้างภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิก โดยจะจัดเป็นครั้งที่ 24 ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ส่วนรางวัล "สุพรรณหงส์ทองคำ" ครั้งนี้จะมอบให้แก่บุคคลในวงการภาพยนตร์ไทยที่มีผลงานดีเด่นที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2521 และ 2522

ผู้ได้รับรางวัล[แก้]

รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ[แก้]

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ไฟว์สตาร์ คนภูเขา
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม มนตรี เจนอักษร คนภูเขา
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม พิศมัย วิไลศักดิ์ ไร้เสน่หา
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม อภิรัฐ ชลาชล ฟ้าหลังฝน
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม อำภา ภูษิต ฟ้าหลังฝน
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล อุกาฟ้าเหลือง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เพิ่มพล เชยอรุณ ไผ่แดง
รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล อุกาฟ้าเหลือง
รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม สมศักดิ์ โตประทีป น้ำค้างหยดเดียว
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม ชูรัตน์ แสงเดือนฉาย จระเข้
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม น้อย เชื้อวิวัฒน์(เกตุวดี) จุฬาตรีคูณ
รางวัลดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ปราจีน ทรงเผ่า จุฬาตรีคูณ
รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม สุนิตย์ อัศวินิกุล คนภูเขา
รางวัลภาพยนตร์สร้างสรรค์สังคมยอดเยี่ยม นครพิงค์ วัยตกกระ
รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมเยาวชนยอดเยี่ยม พงษ์ศักดิ์ จันทรุขา ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่

รางวัลพิเศษ โล่เกียรติคุณ[แก้]

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
รางวัลพิเศษ ดาราอาวุโสยอดเยี่ยม หนู สุวรรณประกาศ วัยตกกระ
รางวัลพิเศษ ดาราบู๊ยอดเยี่ยม ลักษณ์ อภิชาติ เสือภูเขา
รางวัลพิเศษ ดาราตลกยอดเยี่ยม สีเทา แดร๊กคูล่าต๊อก


อ้างอิง[แก้]