รัฐสภากลางเบลเยียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสภากลางเบลเยียม

ตราสัญลักษณ์ของวุฒิสภา
ตราสัญลักษณ์ของสภาผู้แทนราษฎร
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบวุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ผู้บริหาร
สเตฟานี โดซ, โอเปิน เฟเอลเด
ตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2020
เอลียาน ตีลีเยอ, พรรคสังคมนิยม
ตั้งแต่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2020
โครงสร้าง
สมาชิก210 คน
วุฒิสภา 60 คน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 150 คน
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
ฝ่ายรัฐบาล (37)
  •   พรรคสังคมนิยม (7)
  •   ขบวนการปฏิรูป (7)
    •   ขบวนการปฏิรูป (6)
    •   พรรคเพื่อเสรีภาพและความก้าวหน้า (1)
  •   ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช (5)
  •   เอโกโล (5)
  •   เสรีนิยมและประชาธิปไตยเฟลมิช (5)
  •   ครุน (4)
  •   โฟเรยต์ (4)

ฝ่ายค้าน (23)

  •   พันธมิตรเฟลมิชใหม่ (9)
  •   ฟลามส์เบอลัง (7)
  •   พรรคแรงงานเบลเยียม (5)
  •   ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม (2)
กลุ่มการเมืองใน
สภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรัฐบาล (87)
  •   พรรคสังคมนิยม (19)
  •   ขบวนการปฏิรูป (14)
  •   เอโกโล (13)
  •   ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช (12)
  •   โอเปิน เฟเอลเด (12)
  •   โฟเรยต์ (9)
  •   ครุน (8)

ฝ่ายค้าน (63)

  •   พันธมิตรเฟลมิชใหม่ (24)
  •   ฟลามส์เบอลัง (18)
  •   พรรคแรงงานเบลเยียม (12)
  •   ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม (5)
  •   เดฟี (2)
  •   อิสระ (2)
การเลือกตั้ง
ทางอ้อม
ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อแบบบัญชีเปิดในสิบเอ็ดเขตเลือกตั้ง และมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำร้อยละ 5
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด
26 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
ที่ประชุม
ปาแลเดอลานาซียง
กรุงบรัสเซลส์  เบลเยียม
เว็บไซต์
www.fed-parl.be

รัฐสภากลางเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Parlement fédéral belge; ดัตช์: Federaal Parlement van België; เยอรมัน: Föderales Parlament von Belgien) เป็นสภานิติบัญญัติระดับชาติของราชอาณาจักรเบลเยียม ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (ฝรั่งเศส: Chambre des Représentants; ดัตช์: Kamer van Volksvertegenwoordigers; เยอรมัน: Abgeordnetenkammer) กับวุฒิสภา (ฝรั่งเศส: Sénat; ดัตช์: Senaat; เยอรมัน: Senat)

สภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สภาผู้แทนราษฎรมีการประชุมสภาที่อาคารรัฐสภา ปาแลเดอลานาซียง (ฝรั่งเศส: Palais de la Nation) ณ กรุงบรัสเซลส์ ผู้ที่จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจะต้องมีอายุอย่างน้อย 21 ปีบริบูรณ์ เป็นบุคคลสัญชาติเบลเยียม และพำนักอยู่ในประเทศเบลเยียม

ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 150 ที่นั่ง โดยเลือกตั้งจาก 11 เขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งแต่ละเขตนั้นจะแบ่งตามเขตภาษาที่ใช้ในเบลเยียม ได้แก่ 5 เขตในแคว้นเฟลมิช (79 ที่นั่ง) 5 เขตในแคว้นวอลลูน (49 ที่นั่ง) และเขตที่ใช้สองภาษา คือ บรัสเซลส์-ฮัลเลอ-ฟิลโฟร์เดอ (22 ที่นั่ง) แต่ละเขตจะสอดคล้องกับเขตจังหวัด ยกเว้นในกรณีของเขตเลือกตั้งในเลอเฟิน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเฟลมิชบราบันต์) และบรัสเซลส์-ฮัลเลอ-ฟิลโฟร์เดอ

ในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีจำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรตามสัดส่วนประชากรทั้งหมด (ไม่ได้คำนวณเฉพาะจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง) เป็นจำนวนตั้งแต่ 4 คนสำหรับจังหวัดลักเซมเบิร์ก ไปจนถึง 24 คนสำหรับจังหวัดแอนต์เวิร์ป โดยมีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ร้อยละ 5 (คะแนนเสียงต่ำสุด) เขตเลือกตั้งทั้งหมดในเบลเยียมนั้นจะใช้ภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยแบ่งตามเขตภาษา ยกเว้นในสองเขต ได้แก่ บรัสเซลส์-ฮัลเลอ-ฟิลโฟร์เดอและเลอเฟินซึ่งครอบคลุมเทศบาลที่ใช้ทวิภาษา (ฝรั่งเศสและดัตช์) 19 เขตเทศบาลในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ และกว่า 35 เขตเทศบาลที่ใช้ภาษาดัตช์ในเขตจังหวัดเฟลมิชบราบันต์ ซึ่งรวมถึง 7 เขตเทศบาลที่มีการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันนั้นมาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2019

วุฒิสภา[แก้]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 60 คน โดยแบ่งตามที่มาได้สองประเภท ได้แก่ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐบาลท้องถิ่น

สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งทั้ง 50 ที่นั่งนั้นประกอบด้วยจากรัฐบาลเฟลมิชจำนวน 29 คน รัฐบาลประชาคมฝรั่งเศสจำนวน 10 คน รัฐบาลวอลลูนจำนวน 8 คน รัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์จำนวน 2 คน และรัฐบาลประชาคมผู้พูดภาษาเยอรมันจำนวน 1 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 10 คนที่แต่งตั้งโดยสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 50 คน คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องเหมือนกันกับวุฒิสภา

ในอดีต ตำแหน่งวุฒิสภาจะเป็นของบุรุษเท่านั้น เนื่องจากสตรีถูกข้ามจากลำดับการสืบสันตติวงศ์ แต่ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 จนถึงก่อน ค.ศ. 2014 หลังจากการแก้กฎหมายแล้ว ทำให้เจ้าหญิงอัสตริด, เจ้าชายฟิลิป และเจ้าชายโลร็องนั้นสามารถเป็นสมาชิกได้ แต่พระองค์จะไม่มีสิทธิเข้าร่วมในการออกเสียง แม้ว่าพระองค์จะมีพระราชสิทธิ์ตามกฎหมายก็ตาม

วุฒิสภาประชุมกันที่อาคารรัฐสภา ณ กรุงบรัสเซลส์

อ้างอิง[แก้]