รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2549
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ผู้ลงนามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามิทราธิราช บรมนาถบพิตร
วันลงนาม1 ตุลาคม 2549
ผู้ลงนามรับรองพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
(หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
วันลงนามรับรอง1 ตุลาคม 2549
วันประกาศ1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123/ตอนที่ 102 ก/หน้า 1-14)
วันเริ่มใช้1 ตุลาคม 2549
ท้องที่ใช้ ไทย
ผู้ยกร่างจรัญ ภักดีธนากุล และคณะ
การยกเลิก
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550แทน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศและคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มี 39 มาตรา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549

กระบวนการร่าง[แก้]

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แต่งตั้งทีมงานนักกฎหมายเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นประกอบด้วยมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับ, บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และวิษณุ เครืองาม แต่หลังการประกาศชื่อ สองคนนี้ได้ลาออกเนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าเคยร่วมงานกับขั้วอำนาจเก่าของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[ต้องการอ้างอิง]

ภายหลังนายมีชัยได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญ โดย คปค. ได้แต่งตั้งจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งในช่วงนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา ทำหน้าที่แทน

หน่วยงานใหม่[แก้]

หน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]