อมร อมรรัตนานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อมร อมรรัตนานนท์
เกิดอมร อมรรัตนานนท์
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นอมรเทพ อมรรัตนานนท์
รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี
(ชื่อเดิม)
การศึกษาโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม
โรงเรียนวัดราชาธิวาส
อาชีพนักการเมือง
นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
สื่อมวลชน
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2516–ปัจจุบัน
มีชื่อเสียงจากเข้าร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลา
แนวร่วมคนสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ส่วนสูง171 cm
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ (2561–ปัจจุบัน)
ญาติพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.)
พรรคการเมืองใหม่
เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย(คปท.)

นายอมร อมรรัตนานนท์ (เกิด: 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี) ที่ปรึกษารัฐมนตรี​ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและนักการเมืองชาวไทย

ประวัติ[แก้]

จบประถมต้นที่โรงเรียนบ้านหนองเขื่อนช้าง ประถมปลายโรงเรียนวิหารแดง มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ จากนั้นได้เข้าสู่ขบวนการนักศึกษา จากการขอสมัครเป็นเป็นผู้ปฏิบัติงานของศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ตึกสันทนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ถือเป็นหนึ่งในคนเดือนตุลา ที่มีบทบาทสำคัญ โดยก่อนหน้านั้นเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนในปี พ.ศ. 2519 และนำนักเรียนขาสั้นเข้าร่วมเหตุการณ์ 6 ตุลา จากนั้นถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะหนีเข้าป่า เฉกเช่นนักศึกษาคนเดือนตุลาอื่น ๆ ในยุคนั้น โดยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เขตงานสุราษฎร์ธานี โดยมีเพื่อนร่วมเขตงานเดียวกันคือ นายสุวิทย์ วัดหนู หลังจากนั้นเมื่อเกิดวิกฤตป่าแตก จึงกลับเข้าหาครอบครัวทำมาหากิน เหมือนนักศึกษาคนอื่น ๆ ที่ออกจากป่าในช่วงนั้น

ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ได้เข้าร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขับไล่ พล.อ. สุจินดา คราประยูร และต่อมาเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา ปี พ.ศ. 254042

ในปี พ.ศ. 2552 นายอมร ได้เปลี่ยนชื่อตัวเองมาเป็น อมรเทพ อมรรัตนานนท์ และ รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี ตามลำดับ แต่ปัจจุบันได้กลับมาใช้ชื่อเดิม

บทบาทการเมือง[แก้]

นายอมร เข้ามาเกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทย เมื่อมีการจัดตั้งพรรค โดยได้รับการชักชวนจากนายภูมิธรรม เวชยชัย ให้เข้าร่วมคิดร่วมสร้างพรรค หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ชื่อของนายอมรเข้าไปเป็นหนึ่งในคณะทำงานของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน และได้รับแต่งตั้งจากนายสมศักดิ์ให้เข้ารับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูหนี้สินเกษตรกร แต่เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในกองทุนฯ ทำให้ต้องลาออกในระยะเวลาต่อมา และต่อมา นายอมรได้เข้าร่วมการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

นายอมร ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และลงเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ในเขต 12 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตบางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา[1] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[2]

ในปี พ.ศ. 2551 ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปักหลักชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายอมรซึ่งขณะนั้นยังคงใช้ชื่อว่า อมร มีบทบาทเป็นโฆษกบนเวทีคู่กับนายพิชิต ไชยมงคล และถูกหมายจับร่วมกับแกนนำและผู้ชุมนุมคนอื่น ๆ อีก 9 คน ในการบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 26 สิงหาคม ปีเดียวกัน รวมทั้งถูกออกหมายเรียกในข้อหาบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิในปลายปีเดียวกันด้วย[3]

ในปี พ.ศ. 2553 ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใหม่ พร้อมกับลงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในเขตพระนคร[4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในปี พ.ศ. 2556–57 ได้เข้าร่วมชุมนุมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) อันเป็นแนวร่วมกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในขณะนั้น

ในปลายปี พ.ศ. 2561 ได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการอนุมัติให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 2 จังหวัดสระบุรี ซึ่งประกอบด้วย อำเภอแก่งคอย วิหารแดง มวกเหล็ก วิหารแดง วังม่วง ในการเลือกตั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. อมร ลั่นมัชฌิมาเสียงตอบรับดี พัทลุง - กาญจนบุรี คึกคัก จากกระปุกดอตคอม
  2. [ลิงก์เสีย] พันธมิตรตั้งพรรค ไม่ใช่เรื่องแปลก จากโอเคเนชั่น
  3. ความเคลื่อนไหวการเมือง เปิดชื่อ 79 พธม. ถูกหมายเรียกก่อการร้าย จอย-ตั้วโดนด้วย
  4. โหมโรง...เลือกตั้ง"ส.ก.-ส.ข." สมัครวันแรก162คน เปิดชื่อผู้สมัคร ส.ก. ทุกเขตจากมติชน
  5. ""อมร อมรรัตนานนท์" เปิดใจสังกัดพรรคปชป.หวังเดินหน้าประเทศให้หลุดจากวงจรอำนาจอุบาทว์". ผู้จัดการออนไลน์.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]