ระบบประสาทซิมพาเทติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบบประสาทอัตโนมัติ
สีน้ำเงิน = พาราซิมพาเทติก
สีแดง = ซิมพาเทติก

ระบบประสาทซิมพาเทติก (อังกฤษ: Sympathetic nervous system) เป็นระบบประสาทหลักหนึ่งในสามส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งอีกสองส่วนประกอบด้วย ระบบประสาทเอ็นทีริก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก.

โดยทั่วไป ระบบประสาทซิมพาเทติกทำหน้าที่ภายใต้แรงกดดัน เพื่อให้ร่างกายตอบสนองในภาวะคับขัน เช่น การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด หรือการหนีจากภัยคุกคามเฉพาะหน้า แต่ก็ทำงานเพื่อรักษาเสถียรภาพในสภาวะทั่วไปด้วย. เส้นประสาทในระบบประสาทซิมพาทิติกนี้แยกออกจากไขสันหลังบริเวณอกและเอว[1] เรียกได้อีกอย่างว่า ทอราโคลัมบาร์เอาต์โฟล์ว (thoraco-lumbar outflow).

เซลล์ประสาทตัวแรก (preganglionic fibre) อยู่ที่ไขสันหลัง แล้วมีแอกซอนออกมากับเซลล์ประสาทสั่งการ แล้วแยกไปยังปมประสาทซิมพาเทติกบริเวณอกและเอว แอกซอนของเซลล์ประสาทตัวแรกจะปล่อยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) เป็นสารแอซิติลโคลินภายในปมประสาทซิมพาเทติกจะมีเซลล์ประสาททำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทตัวที่สอง (postganglionic fibre) ซึ่งจะส่งแซกซอนไปยังอวัยวะภายในต่าง ๆ สารที่แอกซอนตัวที่สองปล่อยออกมาเป็นสาร นอร์อะดรีนาลิน หรือ นอร์เอพิเนฟริน จึงเรียกเซลล์ประสาทพวกนี้ว่า เซลล์ประสาทอะดรีเนอร์จิก (adrenergic neuron) สารนี้เมื่อปล่อยออกมาจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์มอนามีนออกซิเดส ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ใหม่อีกครั้ง.

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-17. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.

<references \>