ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (อังกฤษ: intelligent transportation system ย่อว่า ITS) กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร มาช่วยในการบริหารการจัดการในระบบคมนาคม การขนส่ง และจราจร เพื่อช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบนท้องถนน เพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งมวลชน เพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัย และช่วยลดการติดขัดของการจราจร

หน้าจอระบบขนส่งอัจฉริยะบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 9

ตัวอย่างการใช้งาน[แก้]

  • ป้ายเตือนอุบัติเหตุก่อนถึงบริเวณที่เกิดจริง ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางได้ล่วงหน้า
  • ป้ายบอกความเร็วจำกัดที่เปลี่ยนแปลงได้
  • กล้องวงจรปิดจับผู้ขับรถฝ่าไฟแดง
  • เลนรถ HOV
  • เลนรถเมล์
  • Traffy ศูนย์ข้อมูลการจราจรทางมือถือ ผลงานวิจัยโดยนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ที่นำเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่มาผสานกับการให้ข้อมูลทางการจราจรแบบเรียลไทม์ ช่วยในการวางแผนก่อนออกเดินทางและตรวจสอบสภาพจราจรขณะเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีความติดขัด ช่วยให้ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นอกจากนี้ทีมพัฒนายังได้ออกแบบโปรแกรม 3D model สำหรับการรายงานสภาพการจราจรบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟน (iPhone) เพื่อการรายงานจราจรด้วยแผนที่ 3 มิติ ผู้ใช้สามารถเห็นสภาพจราจรบริเวณสำคัญได้รอบทิศทาง หรือเลือกดูแผนที่แบบ 2 มิติ ผ่าน Google Map นอกจากนี้ยังมี iShare ฟีเจอร์ล่าสุด ซึ่งออกแบบให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งปันข้อมูล ข่าวสาร รายงานสภาพจราจร หรือเหตุการณ์ต่างๆ บนท้องถนน[1]
  • ซอฟต์แวร์อัจฉริยะจำทะเบียนรถได้ เป็นอีกนวัตกรรมที่นักวิจัยคนไทยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ วิจัยและพัฒนาภายใต้ชื่อเรียก "โปรแกรมอ่านป้ายทะเบียนรถ (License Plate Recognition System : LPR)" โดยมีฟังก์ชันช่วยให้คอมพิวเตอร์ค้นหาตำแหน่งของป้ายทะเบียนรถได้เอง พร้อมทั้งมีระบบรู้จำที่ช่วยแปลงข้อมูลตัวอักษรจากภาพด้วยโปรแกรมโอซีอาร์มาเป็นตัวหนังสือที่สามารถจัดเก็บในฐานข้อมูลเพื่อง่ายแก่การสืบค้นได้ทันที[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลงานวิจัย สวทช. สู่เชิงพาณิชย์ ปี 2549-2554. ปทุมธานี : สำนักงานฯ, 2554.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]