รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการล่าง
(Lower motor neuron lesion)
เซลล์ประสาทสั่งการล่างมีสีแดง

รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการล่าง (อังกฤษ: lower motor neuron lesion) เป็นรอยโรคที่มีผลต่อใยประสาทที่ส่งไปจากเซลล์ประสาทสั่งการล่างที่ปีกหน้า (anterior horn, anterior grey column) ของไขสันหลัง หรือที่นิวเคลียสประสาทสั่งการ (motor nuclei) ของประสาทสมองไปยังกล้ามเนื้อ[1] อาการหลักอย่างหนึ่งที่ใช้ระบุโรคนี้ก็คือ อัมพาตอ่อนเปียก (flaccid paralysis) เป็นอัมพาตที่เกิดพร้อมกับกล้ามเนื้อที่ปวกเปียก (คือไม่รักษาความตึง) นี้เทียบกับรอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron lesion) ซึ่งบ่อยครั้งมีอาการเป็นอัมพาตหดเกร็ง (spastic paralysis) คือ อัมพาตที่เกิดพร้อมกับภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวมาก (hypertonia)

อาการ[แก้]

  • อัมพฤกษ์หรืออัมพาตกล้ามเนื้อ
  • กล้ามเนื้อระริก (fibrillation)
  • กล้ามเนื้อกระตุก (fasciculation) คือกล้ามเนื้อเฉพาะจุดเล็ก ๆ กระตุกแล้วคลายตัวซึ่งอาจมองเห็นได้ผ่านผิวหนัง มีเหตุจากหน่วยรับของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยการไร้กระแสประสาท
  • ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia) หรือการขาดความตึงตัว (atonia) โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วการขยับกล้ามเนื้อ
  • รีเฟล็กซ์น้อยเกิน (hyporeflexia) นอกจากรีเฟล็กซ์ที่เริ่มจากปลายประสาทส่วนลึกในร่างกาย (เช่น stretch reflex และ Golgi tendon reflex) ที่มีปัญหาแล้ว รีเฟล็กซ์แม้ที่เริ่มจากปลายประสาทที่ผิวหนังก็อาจลดลงหรือหายไปด้วย
  • อ่อนกำลัง โดยจะอ่อนแอตรงเฉพาะระดับไขสันหลังที่มีปัญหา

รีเฟล็กซ์ฝ่าเท้าของกล้ามเนื้อยืดไม่ทำการ กล้ามเนื้ออัมพฤกษ์/อัมพาต ตึงตัวน้อยหรือไม่ตึงตัว และรีเฟล็กซ์น้อยเกินหรือไม่มี ปกติจะเกิดทันทีหลังจากบาดเจ็บ กล้ามเนื้อฝ่อ กล้ามเนื้อกระตุก และกล้ามเนื้อระริก เป็นอาการในระยะสุดท้ายของกล้ามเนื้อซึ่งเสียเส้นประสาทที่ส่งไปเลี้ยง จึงเห็นเป็นระยะนานกว่า ลักษณะอีกอย่างก็คือการจำกัดอาการที่เฉพาะระดับไขสันหลัง คือเฉพาะกล้ามเนื้อที่ได้เส้นประสาทอันเสียหายจะเกิดอาการ

เหตุ[แก้]

เหตุสามัญที่สุดของความเสียหายที่เซลล์ประสาทสั่งการล่างก็คือประสาทส่วนปลายได้รับบาดเจ็บ หรือติดเชื้อไวรัสที่ทำลายเซลล์ประสาทในปีกหน้าของไขสันหลังโดยเฉพาะ ๆ กล้ามเนื้อจะฝ่อเพราะไม่ได้ใช้การ คือเส้นใยกล้ามเนื้อจะหดแล้วในที่สุดก็จะถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อเส้นใย เหตุอื่น ๆ รวมทั้งกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร, แบคทีเรียที่ก่อโรคโบทูลิซึมคือ Clostridium botulinum, โรคโปลิโอ และ cauda equina syndrome เหตุสามัญอีกอย่างสำหรับการเสื่อมเซลล์ประสาทสั่งการล่างก็คือ อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส

วินิจฉัยต่าง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Fix, James D (2007-10-01). Neuroanatomy. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 120-. ISBN 978-0-7817-7245-7. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค