รอยนูนหน้าส่วนบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอยนูนหน้าส่วนบน
(Superior frontal gyrus)
รอยนูนหน้าส่วนบนในสมองมนุษย์
ภาพแบ่งหน้าหลัง (coronal) ผ่าน anterior cornua of lateral ventricles รอยนูนหน้าส่วนบนมีสีเหลือง
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองกลีบหน้า
หลอดเลือดแดงAnterior cerebral
ตัวระบุ
ภาษาละตินgyrus frontalis superior
นิวโรเนมส์83
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1303
TA98A14.1.09.121
TA25456
FMA61857
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

รอยนูนหน้าส่วนบน หรือ รอยนูนสมองกลีบหน้าส่วนบน (อังกฤษ: superior frontal gyrus, gyrus frontalis superior, ตัวย่อ SFG) เป็นส่วน 1 ใน 3 ของสมองกลีบหน้าของมนุษย์ อยู่ติดกับ ร่องสมองกลีบหน้าส่วนบน (superior frontal sulcus) ทางด้านข้าง และโดยเหมือนกับ รอยนูนหน้าส่วนล่างและรอยนูนหน้าส่วนกลาง รอยนูนหน้าส่วนบนจริงๆ แล้วเป็นเขตสมองโดยประสาทกายวิภาค ไม่ใช่เป็นรอยนูนจริง ๆ

กิจหน้าที่[แก้]

ความรู้สึกตน[แก้]

ในงานทดลองด้วย fMRI โกลด์เบอรก์และคณะ ได้พบหลักฐานว่า รอยนูนหน้าส่วนบนมีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกตน (self-awareness) โดยทำงานร่วมกับระบบรับความรู้สึก (sensory system)[1][2]

การหัวเราะ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1998 ประสาทศัลย์แพทย์อิทแซก์ ฟรายด์ ได้พรรณนาถึงคนไข้หญิงวัย 16 ปี (ซึ่งเรียกกันว่า คนไข้เอเค) ผู้ที่หัวเราะเมื่อ SFG ของเธอรับการระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าเมื่อกำลังผ่านการรักษาโรคลมชัก[3] โดยที่กระแสไฟฟ้านั้นมีการประกบที่ผิวเปลือกสมองของสมองกลีบหน้า เพื่อที่จะหาจุดที่ก่อให้เกิดการชัก (แต่จุดที่ก่อให้เกิดการชักจะไม่ทำให้เกิดการหัวเราะ)

ฟรายด์ได้บ่งชี้บริเวณขนาด 2 x 2 ซ.ม. ที่ SFG ซีกซ้ายที่เมื่อมีการกระตุ้นแล้ว การหัวเราะจะติดตามมาอย่างสม่ำเสมอ เอเคแจ้งว่า การหัวเราะนั้นมีพร้อมกับความรู้สึกร่าเริง แต่แจ้งเหตุของการหัวเราะแต่ละครั้งที่ไม่เหมือนกัน โดยยกเหตุให้กับตัวกระตุ้นภายนอกที่ไม่น่าขำ ตัวอย่างเช่น การหัวเราะครั้งหนึ่งมีเหตุมาจากรูปภาพที่ให้เอเคบอกชื่อ (โดยเธอกล่าวว่า "ม้าพวกนั้นมันน่าขำ") หรือจากประโยคที่ให้เธออ่าน หรือจากบุคคลที่อยู่ในห้อง (โดยเธอกล่าวว่า "พวกคุณนี่น่าขำจริงๆ เลย ... ยืนอยู่อย่างนั้น")

การเพิ่มระดับไฟฟ้าในการกระตุ้น ปรากฏว่าเพิ่มช่วงเวลาและระดับการหัวเราะ ยกตัวอย่างเช่น ในระดับไฟฟ้าต่ำ มีการยิ้มเพียงเท่านั้น ในระดับที่สูงขึ้นไป มีการหัวเราะที่ดังขึ้น ที่ชวนให้หัวเราะตามมากยิ่งขึ้น การหัวเราะนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดกิจการงานอื่นๆ ที่อาศัยการพูดหรือการเคลื่อนไหวด้วยมือ

รูปต่างๆ[แก้]

หมายเหตุและอ้างอิง[แก้]

  1. Goldberg I, Harel M, Malach R (2006). "When the brain loses its self: prefrontal inactivation during sensorimotor processing". Neuron. 50 (2): 329–39. doi:10.1016/j.neuron.2006.03.015. PMID 16630842.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Watching the brain 'switch off' self-awareness at newscientist.com
  3. Fried I, Wilson C, MacDonald K, Behnke E (1998). "Electric current stimulates laughter". Nature. 391 (6668): 650. doi:10.1038/35536. PMID 9490408.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)