รองเท้านารีขาวสตูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองเท้านารีขาวสตูล
ดอกของรองเท้านารีขาวสตูล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Orchidaceae
วงศ์ย่อย: Cypripedioideae
สกุล: Paphiopedilum
สปีชีส์: P.  niveum
ชื่อทวินาม
Paphiopedilum niveum
(Rchb.f.) Stein
ชื่อพ้อง

รองเท้านารีขาวสตูล เป็นกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี พบทางตอนใต้ของประเทศไทย และมาเลเซียตะวันตก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ดอกมีสีขาว มีจุดสีม่วงน้ำตาลขนาดเล็ก กระจายอยู่ในบริเวณใกล้โคนกลีบ หรือใกล้ใจกลางของดอก ใบค่อนข้างหนา รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปช้อนกลับ ยาว 5-8 ซม.กว้าง 1.5-2ซม. ปลายหยักมน ขอบใบใกล้โคนมีขน ใบด้านบนมีลายสีเขียวแก่สลับสีเขียวอ่อน ใต้ท้องใบสีม่วงคล้ำ ดอกมีขนาดกว้างระหว่าง 4-6 ซม. รูปลักษณะมองจากด้านหน้าค่อนข้างกลม ก้านช่อดอกตั้ง ยาวประมาณ 15-20 ซม. ปลายช่ออาจมีดอกได้ถึง 2 ดอก

ถิ่นอาศัย[แก้]

พบตามธรรมาชาติบนพื้นผิวภูเขาหินปูน ขึ้นอยู่ตามซอกหิน ในภาคใต้ของประเทศไทย พบในแถบจังหวัดตรังจนไปถึงจังหวัดสตูล และบริเวณหมู่เกาะตะรุเตา ในประเทศมาเลเซียพบเป็นจำนวนมากในบริเวณหมู่เกาะลังกาวี

อ้างอิง[แก้]

  • กล้วยไม้เมืองไทย, รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 40

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]