เกอรช ฟริดริช เวเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์
G.F.Veler Velananda
ภาพของครอบครัวเวลานนท์และเอกะนาค จากซ้ายคือ รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์, นางเสงี่ยม เวลานนท์, ด.ญ.สอาด เวลานนท์, ด.ญ.สง่า เวลานนท์, น.ร.ม.อั๋น เวลานนท์, นางสาวประยูร เอกะนาค, คุณหญิงประสงค์สรรพการ (เย็น เอกะนาค), ด.ญ.หยาด ภมรสมิต และ พ.ต.อ.พระยาประสงค์สรรพการ (ยวง เอกะนาค)ถ่ายที่ลานบ้านเอกะนาค (โรงเรียนประถมศึกษาบ้านสมเด็จ ในปัจจุบัน)ซึ่งทั้งสองครอบครัวนี้มีความสัมพันธ์เป็นญาติสนิทกัน เพราะว่า นางเสงี่ยม เวลานนท์ และ คุณหญิงเย็น เอกะนาค เป็นพี่น้องกัน

รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ (Georg Friedrich Wehler : เกิด 28 กันยายน พ.ศ.2419 - พ.ศ. 2470) นายตรวจเอก กรมรถไฟหลวงสายเหนือ และนายห้างในกรุงเทพฯ ชาวเยอรมัน ได้เข้ามาเป็นวิศวกรสร้างทางรถไฟในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ว่า "เวลานนท์" (Velananda)

รองอำมาตย์เอกเกอร์ช ฟริดริช เวเลอร์ มีภรรยาชื่อ นางเสงี่ยม เวลานนท์ สตรีเชื้อสายมอญหงสาวดี (หลานตา ขุนรักษานาเวศ (กลัศ วิภาตะกลัศ)) หมู่บ้านบางไส้ไก่ (ปัจจุบันคือบริเวณหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) มีบุตรธิดาดังนี้

  1. นักเรียนมหาดเล็กหลวงอั๋น เวลานนท์ (พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2465) ไม่มีทายาท
  2. นางสง่า เทวคุปต์ (พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2535) สมรสกับ ร้อยตำรวจเอกน้อม เทวคุปต์ บุตรของรองอำมาตย์เอก หลวงอนุสิฐภูมิเทศ (เนียม เทวคุปต์) และ นางอนุสิฐภูมิเทศ (ขลิบ เทวคุปต์) มีบุตรีคือ นางสำนวน วิภาตะกลัศ
  3. นางวิมลประชาภัย (สอาด วิภาตะกลัศ) (พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2527) สมรสกับ รองอำมาตย์เอก หลวงวิมลประชาภัย (จำรัส วิภาตะกลัศ) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มีบุตร์ 1 คน คือ นายสุทธิวัฒน์(จารุ) วิภาตะกลัศ สมรสกับ นางจรัสศรี วิภาตะกลัศ มีบุตร 2 คน คือ นายวิวัฒน์ วิภาตะกลัศ และนางสาวรัตนพร วิภาตะกลัศ

หลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว มร.เกอรช ฟริดริช เวเลอร์ ก็ถูกถอนสัญชาติและถูกเรียกคืนนามสกุล เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ทำให้ต้องกลับไปอยู่ที่ประเทศเยอรมนีชั่วคราว ในขณะนั้นกำลังดำเนินงานรถไฟอยู่บริเวณถ้ำขุนตาล ต่อมาเมื่อสงครามสิ้นสุดก็กลับมาอาศัยอยู่กับครอบครัวในประเทศไทยและได้ถึงแก่กรรมที่บ้านริมคลองบางไส้ไก่ เมื่อ พ.ศ. 2470