รถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรส
สถานีโบลีบาร์
สถานีโบลีบาร์
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อพื้นเมืองSubterráneo de Buenos Aires
เจ้าของSubterráneos de Buenos Aires S.E. (รัฐวิสาหกิจ)
ที่ตั้งบัวโนสไอเรส
ประเภทรถไฟฟ้าใต้ดิน
จำนวนสาย7[1]
จำนวนสถานี104
ผู้โดยสารต่อวัน1.38 ล้าน (2018)[2]
เว็บไซต์City of Buenos Aires
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน1 ธันวาคม 1913; 110 ปีก่อน (1913-12-01)
ผู้ดำเนินงานEmova Movilidad S.A.
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง47.1 km (29.3 mi)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ผังเส้นทาง

รถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรส (สเปน: Subterráneo de Buenos Aires) หรือรู้จักกันในชื่อ ซุบเต (Subte, ออกเสียง: [ˈsuβte], มาจากคำว่า subterráneo ที่แปลว่า ใต้ดินหรือรถไฟใต้ดิน) เป็นระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงประเภทรถไฟฟ้าใต้ดินที่ให้บริการในเขตกรุงบัวโนสไอเรสและปริมณฑล เริ่มเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1913

รถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรสได้ขยายระบบโครงข่ายได้อย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 แม้จะล่าช้าไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

เส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน[แก้]

เส้นทางที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน จำนวน 6 เส้นทาง เรียงตามตัวอักษร "เอ" ถึง "อี" และ "เอช" ในแต่ละเส้นทางจะใช้สีสัญลักษณ์แตกต่างกันไป รวมระยะทาง 49.85 กิโลเมตร ให้บริการตั้งแต่เวลา 05:00-23:00 น. ความถี่ 3–4 นาที ขึ้นอยู่กับเส้นทางและจำนวนผู้โดยสาร[3]

เส้นทางของรถไฟใต้ดินบัวโนสไอเรส[1]
สาย ปีให้บริการ ส่วนต่อขยาย
ล่าสุด
ส่วนแรกเริ่ม ปลายทางปัจจุบัน ระยะทาง
(km)
จำนวน
สถานี
ผู้โดยสาร
ต่อวัน (2018)[2]
1913 2013 ปลาซาเดมาโย – ปลาซามีเซเรเร ปลาซาเดมาโย – ซานเปอร์โตริโก 9.8 18 (ดั้งเดิม 17) 258,000
1930 2013 เฟรเดรีโก ลาโกรเซ – กายาโอ เลอันโดร เอเน. อาเลน – ควน มานวยล์ เด โรซัส 11.9 17 361,000
1934 1936 กอนส์ตีตูซีออน – เดียโกนัลนอร์เต กอนส์ตีตูซีออน – เรตีโร 4.5 9 208,000
1937 2000 กาเตดรัล – ตรีบูนาเลส กาเตดรัล – กองเกรโซเดตูกูมัน 10.4 16 328,000
1944 2019 กอนส์ตีตูซีออน – เคเนรัลอูร์กีซา โบลีบาร์ – ปลาซาเดโลสบีร์เรเยส 12 18 94,000
2007 2018 ออนเซ – กาเซโรส กอร์เรียนเตส – โอสปีตาเลส 8.8 12 128,000

โครงการส่วนต่อขยาย[แก้]

แผนที่เส้นทางในอนาคต
อุโมงค์ในสายเอช

กำลังก่อสร้าง[แก้]

ส่วนต่อขยายสายอี จากสถานีโบลีบาร์ (Bolívar) ถึงสถานีเรตีโร (Retiro) เริ่มก่อสร้างเมื่อกลางปี ค.ศ. 2007

ส่วนต่อขยายฝั่งเหนือของสายเอช จากสถานีกอร์เรียนเตส (Corrientes) ถึงปลาซาฟรันเซีย (Plaza Francia) เริ่มก่อสร้างเมื่อวัน 17 มกราคม ค.ศ. 2012[4]

โครงการก่อสร้าง[แก้]

สายเอฟ วิ่งจากสถานีบาร์รากัส (Barracas) ไปจนถึงสถานีปลาซาอีตาเลีย (Plaza Italia) รวม 16 สถานี ระยะทาง 10.8 กิโลเมตร

สายจี เชื่อมระหว่างสถานีเรตีโรกับสถานีกาบายีโต / บียาเกรสโป (Caballito / Villa Crespo) ระยะทาง 12.5 กิโลเมตร 15 สถานี[5]

สายไอ วิ่งจากสถานีปาร์เกชากาบูโก (Parque Chacabuco) ไปยังสถานีซิวดัดอูนีเบร์ซีตาเรีย (Ciudad Universitaria) รวม 18 สถานี ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร

แผนที่เครือข่ายเส้นทาง[แก้]

แผนที่


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Nuestra compañía – ¿Qué hacemos?" [Our Company – What We Do] (ภาษาสเปน). Metrovias. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-10-16.
  2. 2.0 2.1 "Subte: con récord de pasajeros, siguen las quejas por el servicio y busca mejorar con más obras". 13 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2019-03-21.
  3. Subtes: en hora pico circulan en promedio tres trenes menos que hace 14 años – InfoBAE, 24 November 2014.
  4. "Buenos Aires Line H extension groundbreaking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 20 February 2012.
  5. "Railway Gazette: Urban rail news in brief". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-17. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.

หมายเหตุ[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]