รถไฟสายทางช้างเผือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟสายทางช้างเผือก  
ผู้ประพันธ์เค็นจิ มิยาซาวะ
ชื่อเรื่องต้นฉบับราตรีแห่งรถไฟสายทางช้างเผือก (銀河鉄道の夜)
ผู้แปลมณฑา พิมพ์ทอง
ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
ชุดรถไฟสายทางช้างเผือก
ประเภทวรรณกรรมเยาวชน
สำนักพิมพ์ไทย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2470
ไทย พ.ศ.. 2545

รถไฟสายทางช้างเผือก (ญี่ปุ่น: 銀河鉄道の夜โรมาจิGinga Tetsudō no Yoru) เป็นวรรณกรรมเยาวชน ที่เขียนขึ้นโดย เค็นจิ มิยาซาวะ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2470 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เมื่อปี พ.ศ. 2545 แปลโดย มณฑา พิมพ์ทอง

จากคำนำ รถไฟสายทางช้างเผือก แสดงให้เห็นอุดมคติอันสูงส่งในการที่จะอุทิศตัวเองเพื่อผู้อื่น ตัวละครในเรื่องที่ไปถึงแดนสวรรค์ต่างเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์ และมีความเชื่อมั่นในการกระทำของตนเองทั้งสิ้น มิยาซาวะได้แสดงให้เห็นปณิธานอันแน่วแน่ในการที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุขผ่านคำพูดของโจวานนี ตัวละครเอกในเรื่องซึ่งเดินทางไปในความฝันกับขบวนรถไฟร่วมกับคัมพาเนลลาเพื่อนรักของเขา สิ่งเหล่านี้คือความบริสุทธิ์งดงามของ รถไฟสายทางช้างเผือก ที่ยังคงอยู่ในดวงใจของผู้อ่านชาวญี่ปุ่นชั่วนิรันดร

นวนิยายได้รับการดัดแปลงเป็นละครเพลง และละครเวทีอยู่เสมอ ถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมะ ออกฉายในปี พ.ศ. 2528


ตัวละคร[แก้]

  • จีโอวานนี
  • คัมพาเนลลา


การ์ตูน[แก้]

หนังสือการ์ตูนที่มีชื่อเหล่านี้ล้วนมีเนื้อหาของ รถไฟสายทางช้างเผือกแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง หรือดัดแปลงบทประพันธ์ในเข้ากับเนื้อเรื่องของตนเอง

แอนิเมชัน[แก้]

รถด่วนอวกาศ 999

แหล่งข้อมูลอื่นๆ[แก้]