รถไฟฟ้าเคฮัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รถไฟฟ้าเคฮัน)
รถไฟฟ้าเคฮัง
รถไฟเคฮังซีรีส์ 800
ภาพรวม
สํานักงานใหญ่โอซะกะ ญี่ปุ่น
ที่ตั้งคันไซ ญี่ปุ่น
วันที่ให้บริการค.ศ. 1910–
ข้อมูลเทคนิค
ช่วงกว้างราง1,435 mm (4 ft 8 12 in)
อื่น ๆ
เว็บไซต์http://www.keihan.co.jp/

บริษัทรถไฟฟ้าเคฮัง จำกัด (ญี่ปุ่น: 京阪電気鉄道株式会社โรมาจิKeihan Denki Tetsudō Kabushiki-gaisha) เป็นผู้ให้บริการรถไฟในจังหวัดโอซะกะ จังหวัดเคียวโตะ และจังหวัดชิงะ ในประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เคฮัง" (京阪) หรือ "เคฮังเด็นเทะสึ" (京阪電鉄) หรือ "เคฮังเด็นชะ" (京阪電車)

ประวัติ[แก้]

รถไฟเคฮังเริ่มให้บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างโอซะกะกับเคียวโตะในปี ค.ศ. 1910 และเป็นบริษัทที่ให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อมระหว่างสองเมืองนี้เป็นบริษัทแรก และเป็นทางรถไฟสายแรกที่ทอดยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำโยะโดะ หลังจากนั้น เคฮังได้เข้าซื้อกิจการของรถไฟในแถบโอสึ (สายโอสึ)

ในทศวรรษ 1920 รถไฟเคฮังเริ่มสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างโอซะกะกับเคียวโตะอีกเส้นทางหนึ่งเป็นสาขาย่อย ชื่อว่า รถไฟชินเคฮัง (新京阪鉄道) และได้เชื่อมกับเคฮังสมบูรณ์ในปี 1930 ปัจจุบัน ทางรถไฟสายนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ฮังคีวสายเคียวโตะ

ในปี 1943 รัฐบาลญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2ได้บังคับให้เคฮังควบรวมกิจการกับรถไฟฮังชินคีวโค ก่อตั้งเป็นรถไฟเคฮังชินคีวโค (京阪神急行電鉄 Keihanshin Kyūkō Dentetsu) ต่อมา ในปี 1949 หลังพ้นสงครามไปแล้ว รถไฟเคฮังได้กลับมารวมตัวกันใหม่อีกครั้ง (ยกเว้นสายชินเคฮัง) และกลับมาใช้ชื่อบริษัเดิม ส่วนรถไฟเคฮังชินคีวโคก็เปลี่ยนชื่อเป็น รถไฟฮังคีว และใช้ชื่อนี้จนถึงทุกวันนี้

เส้นทางรถไฟ[แก้]

เคฮัง ซีรีส์ 8000

รถไฟเคฮังแบ่งการให้บริการหลัก ๆ ออกเป็นสายเคฮังกับสายโอสึ โดยรถไฟที่ให้บริการระหว่างเคียวโตะกับโอซะกะจะเป็นรถไฟรางใหญ่ ขณะที่รถไฟที่ให้บริการระหว่างเคียวโตะกับโอสึจะมีลักษณะคล้ายกับรถราง ความกว้างของรางทั้งเครือข่ายอยู่ที่ 1,435 มิลลิเมตร คือ รางคู่ความกว้างมาตรฐาน

สายเคฮัง[แก้]

  • เคฮังสายหลัก: โยะโดะยะบะชิ–ซันโจ
  • สายโอสึ: ซันโจ–เดมะชิยะนะงิ
  • สายนะกะโนะชิมะ: นะกะโนะชิมะ–เทมมะบะชิ
  • สายคะตะโนะ: ฮิระคะตะชิ–คิไซชิ
  • สายอุจิ: ชุโชะจิมะ–อุจิ

สายโอสึ[แก้]

  • สายเคชิน: มิสะสะงิ–ฮะมะโอสึ
  • สายอิชิยะมะซะกะโมะโตะ: อิชิยะมะเดะระ–ซะกะโมะโตะ

สายอื่น ๆ[แก้]

  • สายเคเบิล (鋼索線) หรือเรียกว่า โอะโตะโกะยะมะเคเบิล (男山ケーブル)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]