ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 811

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 811
สรุปอุบัติการณ์
วันที่24 กุมภาพันธ์ 2532
สรุปประตูห้องโดยสารหลุดออกจากตัวเครื่องขณะบินเนื่องจากประตูห้องขนส่งสินค้าของ โบอิง 747 เปิดออก
จุดเกิดเหตุมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้โฮโนลูลู รัฐฮาวาย
ประเภทอากาศยานโบอิง 747-122
ดําเนินการโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ทะเบียนN4713U (ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น N4724U หลังจากการซ่อมแซม)
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ปลายทางท่าอากาศยานซิดนีย์ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
ผู้โดยสาร337
ลูกเรือ18
เสียชีวิต9
บาดเจ็บ38
รอดชีวิต346

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 811 (UA811) เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศในเส้นทาง ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ไปยัง ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยออกเดินทางจาก โฮโนลูลู รัฐฮาวาย เมื่อคืนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 แต่บินขึ้นได้เพียงไม่กี่นาที ประตูห้องโดยสารได้หลุดออกจากตัวเครื่องขณะที่บินอยู่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน

เหตุการณ์[แก้]

คืนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เวลา 01.52 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐ เครื่องบิน โบอิง 747-100 ซึ่งบินมาจาก ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส มุ่งสู่ ท่าอากาศยานซิดนีย์ พร้อมผู้โดยสาร 337 คน และลูกเรือ 18 คน โดยมีแวะพักที่โฮโนลูลูและโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ออกเดินทางจาก ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลู เพื่อไปยังจุดหมาย โดยนักบินเปิดสัญญาณรัดเข็มขัดนิรภัยซาย-ออนเนื่องจากมีพายุฝนฟ้าคะนอง แต่หลังจากบินได้เพียงไม่กี่นาที ขณะเครื่องบินไต่ระดับอยู่ที่ 23,000 ฟุด ผู้โดยสารเริ่มได้ยินเสียงคล้ายของตก และทันใดนั้นเอง ประตูห้องโดยสารที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณด้านหน้าเกิดหลุดออกจากตัวเครื่องขณะที่บินอยูเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ที่นั่ง 5 แถวซึ่งมีผู้โดยสารจำนวนหนึ่งถูกดูดออกไปจากเครื่อง เกิดแรงดันอากาศจำนวนมากภายในเครื่องบินและเกิดไฟไหม้ที่เครื่องยนต์ตัวที่ 4 นักบินจำเป็นต้องลดเพดานบินพร้อมกับทิ้งเซื้อเพลิงลงสู่ทะเลและตัดสินใจเลี้ยวกลับไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลู เมื่อลงจอดได้แล้ว ก็สั่งอพยพผู้โดยสารทุกคนลงจากเครื่องโดยที่ 346 คนปลอยภัย จากเหตุการณ์ครั้งนั้ มีผู้เสียชีวิต 9 คน และบาดเจ็บ 38 คน

การสืบสวนหาสาเหตุของครอบครัวแคมป์เบล[แก้]

หนึ่งในผู้โดยสาร 9 คนที่เสียชีวิตจากเที่ยวบินที่ 811 คิอ ลี แคมป์เบล ชาวนิวซีแลนด์ที่กำลังจะกลับบ้าน ทำให้เควินและซูซาน แคมป์เบล ซึ่งเป็นบิดาและมารดาของลีตัดสินใจสืบสวนหาสาเหตุการตายของลูกชายด้วยตัวเอง 2 เดือนหลังเกิดอุบัติเหตุ ทางคณะกรรมการความปลอดภัยการขนส่งแห่งชาติสหรัฐ (National Transportation Safety Board-NTSB) จัดแถลงเรื่องเหตุการณ์ดังกล่าวโดยครอบครัวแคมป์เบลเดินทางมาร่วมฟังด้วย ระหว่างช่วงพัก ครอบครัวแคมป์เบลลงมือจัดการเรื่องนี้เอง พวกเขาเปิดกล่องหลายใบที่เต็มไปด้วยแฟ้มเอกสารสำคัญ พวกเขาพบว่า ประตูห้องสินค้าของโบอิง 747เปิดออกได้เองขณะที่บินอยู่ ซึ่งนำไปสู่การหลุดของประตูห้องโดยสารนั่นเอง

สาเหตุ[แก้]

จากการสืบสวนหาสาเหตุของครอบครัวแคมป์เบลทำให้พวกเขาทราบสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอยู่ 2 อย่างคือ 1. สาเหตุที่ประตูห้องสินค้าของโบอิง 747เปิดออกขณะที่บินจนทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นมาจากการออกสลักล็อกรูปซีของบริษัทโบอิงตั้งแต่แรกเริ่ม นับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องบิน แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นกับอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 96 เมื่อวันที้ 12 มิถุนายน 2515 ประตูห้องสินค้าหลุดจากเครื่องบินในระหว่างบิน ทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายบางส่วน โชคยังดีที่นักบินสามารถนำเครื่องกลับไปลงที่สนามบินได้ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 67 คนปลอดภัย และครั้งที่ 2 เกิดขึ้นกับ เตอร์กิชแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 981 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2517 โดยเกิดเหตุการณ์เดียวกับครั้งแรก แต่คราวนี้ทำให้ระบบไฮดรอลิกเสียหายทั้งหมด เครื่องบินตกที่ฝรั่งเศส ผู้โดยสารและลูกเรือ 346 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด อันมีสาเหตุมาจากตัวประตูห้องสินค้าของดีซี-10มีปีญหาตั้งแต่สายการผลิต ด้วยเหตุนี้ บริษัทโบอิงจึงออกแบบระบบล็อกประตูห้องสินค้าของโบอืง 747 นั่นคือ สลักล็อกรูปตัวซี ซึ่งเชื่อว่าช่วยให้ระบบล็อกประตูแน่นหนาขึ้น การทำงานของสลักล็อกรูปตัวซีนี้คือทำหน้าที่ล็อกประตูห้องสินค้าโดยการกดสลักล็อกให้เข้าที่ จากนั้นมิอจับจะไปล็อกอีกชั้น เพื่อไม่ให้สลักล็อกคลายตัวออก แต่จากการสืบค้นของเควิน แคมป์เบลพบว่าสลักล็อกดังกล่าวไม่สามารถล็อกประตูห้องสินค้าให้อยู่ได้ นอกจากนี้ พวกเขายังพบว่า 2 ปีก่อน เที่ยวบิน 747 ของสายการบินแพนแอมที่บินมาจาก กรุงลอนดอน ไป นครนิวยอร์ก ก็เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน โดยที่ผู้โดยสารทุกคนปลอดภัย เมื่อกลับไปที่กรุงลอนดอนและตรวจสอบพบว่า ประตูห้องสินค้าเปิดออกมา 1 นิ้วครึ่งและตัวล็อกทั้งหมดงอจนถึงกับหักไปเลย 2. หลังจากล็อกประตูห้องสินค้าแล้ว สวิทซ์ไฟฟ้าควรจะตัดกระแสไฟทั้งหมดเพื่อไม่ให้ประตูห้องสินค้าเปิดออก แต่ยังมีไฟฟ้าไปหล่อเลี้ยงในระบบล็อก ด้วยสาเหตุทั้ง 2 อย่างนี้ทำให้ประตูห้องสินค้าเปิดออกระหว่างบิน ก่อให้เกิดอากาศขยายตัวจนระเบิด เป็นเหตุให้ประตูห้องโดยสารหลุดออกในที่สุด หลังจากถูกผลักดันจากครอบครัวแคมป์เบลมาหลายปี NTSB จึงออกรายงานยอมรับเรื่องดังกล่าว นับเป็นความสามารถของครอบครัวแคมป์เบลที่สืบค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ได้สำเร็จ โบอิงเปลี่ยนการออกระบบล็อกประตูห้องสินค้าของ 747 ใหม่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีก