ยูลิสซีส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูลิสซีส
Ulysses  
หน้าปกฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1922
ผู้ประพันธ์เจมส์ จอยซ์
ภาษาอังกฤษ
ประเภทนวนิยาย, วรรณกรรมสมัยใหม่นิยม, กระแสสำนึก
สำนักพิมพ์ซิลเวีย บีช
วันที่พิมพ์2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922
ชนิดสื่อการพิมพ์ (หนังสือปกแข็ง และ หนังสือปกอ่อน)
หน้า644-1,000, ขึ้นอยู่กับฉบับ
ISBN0-679-72276-9
OCLC20827511
823/.912 20
LC ClassPR6019.O9 U4 1990
เรื่องก่อนหน้าA Portrait of the Artist as a Young Man
(ค.ศ. 1916) 
เรื่องถัดไปFinnegans Wake
(ค.ศ. 1939) 

ยูลิสซีส (อังกฤษ: Ulysses) เป็นนวนิยายที่เขียนโดยเจมส์ จอยซ์ ที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเป็นตอน ๆ ในนิตยสารอเมริกัน “The Little Review” ตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 จนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1920 ต่อมาพิมพ์ทั้งเล่มโดยซิลเวีย บีชเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 ที่ปารีสยูลิสซีส” เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่สุดของวรรณกรรมสมัยใหม่นิยม (Modernist literature)[1] ที่ได้รับการบรรยายว่าเป็นนวนิยายที่ “สรุปสะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของขบวนการทั้งสมัยทั้งหมด”[2]

ยูลิสซีส” บรรยายเรื่องราวชีวิตของตัวละครเลโอโพลด์ บลูมในดับลินในวัน ๆ เดียววันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1904 ชื่อนวนิยายพ้องและเป็นนัยถึงโอดิสเซียส (ภาษาละตินของคำว่า “ยูลิสซีส”) ผู้เป็นตัวเอกในมหากาพย์ “โอดิสเซียส” โดยโฮเมอร์ (ตัวอย่าง, การติดต่อระหว่างเลโอโพลด์ บลูมกับโอดิสเซียส, มอลลี บลูม (ภรรยา) และ เพเนโลพี และ สตีเฟน เดดาลัส และ เทเลมาคัส) ในปัจจุบันผู้นิยมงานเขียนของจอยซ์ ฉลองวันที่ 16 มิถุนายนเป็น “วันบลูม” (Bloomsday)

หนังสือ “ยูลิสซีส” ที่มีทั้งหมด 265,000 คำจากศัพท์ 30,030 คำ (รวมทั้งชื่อ, พหูพจน์ และคำกิริยาในรูปต่าง ๆ)[3] แบ่งเป็น 18 ตอน ตั้งแต่ได้รับการพิมพ์เป็นต้นมา “ยูลิสซีส” ก็เป็นต้นตอของความโต้เถียงกันอย่างรุนแรง (controversy), การวิจัยอย่างละเอียดตั้งแต่การดำเนินคดีของเนื้อหาที่ถูกกล่าวหาว่าหยาบโลน ไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างผู้มีความเห็นแตกแยกกันที่ดำเนินต่อมา ลักษณะการเขียนที่เรียกว่าการเขียนตามกระแสสำนึก (Stream of consciousness) ของ “ยูลิสซีส” ที่วางโครงร่างอย่างระมัดระวัง และการเขียนเนื้อหาแบบทดลอง—ที่เต็มไปด้วยการเล่นคำ, วรรณกรรมล้อ และ นัย รวมทั้งการสร้างตัวละครที่เต็มเป็นด้วยสาระ และอารมณ์ขัน ทำให้หนังสือได้รับสรรเสริญว่าเป็นงานชิ้นเอกของงานเขียนของวรรณกรรมสมัยใหม่นิยม ในปี ค.ศ. 1999 Modern Library จัด “ยูลิสซีส” ให้เป็นลำดับแรกของบรรดานวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) ของคริสต์ศตวรรษที่ 20[4]

ที่มา[แก้]

จอยซ์ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียน “ยูลิสซีส” เป็นครั้งแรกจากงานเขียน “การผจญภัยของยูลิสซีส” โดยชาร์ลส์ แลมบ์ ซึ่งเป็นงานแปลงโอดิสเซียสสำหรับเด็ก ซึ่งทำให้จอยซ์ได้ความคิดในการใช้ชื่อภาษาโรมันของยูลิสซีส เมื่อยังเป็นนักเรียนจอยซ์เขียนบทความเกี่ยวกับโอดิสเซียสในฐานะที่เป็นวีรบุรุษผู้เป็นที่นิยมที่สุดของตนเอง[5] จอยซ์กล่าวกับจิตรกรชาวอังกฤษแฟรงค์ บัดเจนว่ามีความเห็นว่ายูลิสซีสเป็นตัวละครสมบูรณ์แบบทุกด้านตัวเดียวในวรรณกรรมทั้งหลาย[6] จอยซ์ถึงกับคิดว่าจะตั้งชื่อ “Dubliners” (ชาวดับลิน) ว่า “ยูลิสซีสในดับลิน[7] แต่ความคิดในการเขียน “Dubliners” ในปี ค.ศ. 1906 เปลี่ยนจาก 'หนังสือขนาดสั้น' ในปี ค.ศ. 1907[8] มาเป็นหนังสือขนาดเต็มตัวที่จอยซ์เริ่มเขียนในปี ค.ศ. 1914

เรื่อง ยูลิสซีส ถูกแบ่งโครงสร้างงานเขียนเป็น 3 เล่ม ทั้งหมด 18 บท แต่ละบทไม่มีชื่อหัวข้อหรือพาดหัวเรื่อง ลักษณะโครงสร้างของภาษาในเรื่องถูกวิจารณ์ว่าเป็นแบบ ไร้โครงสร้างแบบแผน เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่าน จอยซ์กล่าวถึงประเด็นนี้ว่าเป็นความตั้งใจของเขาที่จะทำให้เหล่านักวิจารณ์วุ่นวายไปกับเรื่องนี้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของงานวรรณกรรมทดลองชิ้นสำคัญของโลก[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Harte, Tim (Summer, 2003). "Sarah Danius, The Senses of Modernism: Technology, Perception, and Aesthetics". Bryn Mawr Review of Comparative Literature. 4 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-11-05. สืบค้นเมื่อ 2001-07-10. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. Beebe (1971), p. 176.
  3. Vora, Avinash (2008-10-20). "Analyzing Ulysses". สืบค้นเมื่อ 2008-10-20.
  4. "100 Best Novels". Random House. 1999. สืบค้นเมื่อ 2007-06-23. This ranking was by the Modern Library Editorial Board เก็บถาวร 2010-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of authors and critics; readers ranked it 11th. “A Portrait of the Artist as a Young Man” was ranked third by the board.
  5. Gorman (1939), p. 45
  6. Budgen (1972), p.
  7. Borach (1954), p. 325
  8. Ellmann (1982), p. 265
  9. "Collier, Declan, (born 14 June 1955), Chief Executive Officer, London City Airport, 2012–17", Who's Who, Oxford University Press, 2013-12-01, สืบค้นเมื่อ 2021-12-30

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]