ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์ก
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

เรือหลวงบิสมาร์คกำลังยิงเรือประจัญบานปรินส์ออฟเวลส์ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941
วันที่24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941
สถานที่
ผล เยอรมนีได้รับชัยชนะ; บิสมาร์คยกเลิกภารกิจ เรือหลวงฮูดถูกจมลง
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี เยอรมนี  บริเตนใหญ่
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี กึนเธอร์ ลึทเจนต์
นาซีเยอรมนี แอ็นสท์ ลินเดมันน์
นาซีเยอรมนี เฮลมุท บริงค์มันน์
สหราชอาณาจักร แลนสล็อต ฮอลแลนด์  
สหราชอาณาจักร จอห์น ลีช
สหราชอาณาจักร ราล์ฟ เคอร์ 
สหราชอาณาจักร เฟรเดริก เวก-วอล์กเกอร์
กำลัง
เรือประจัญบาน 1 ลำ
เรือลาดตระเวนหนัก 1 ลำ
เรือประจัญบาน 1 ลำ
เรือลาดตระเวนประจัญบาน 1 ลำ
เรือลาดตระเวนหนัก 2 ลำ
ความสูญเสีย
เรือประจัญบานได้รับความเสียหาย 1 ลำ เสธที่จะยิงโต้กลับ เรือลาดตระเวนประจัญบานจม 1 ลำ
เรือประจัญบานได้รับความเสียหาย 1 ลำ
ทหารเสียชีวิต 1,428 นาย
ได้รับบาดเจ็บ 9 นาย

ยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์ก เป็นยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างราชนาวีอังกฤษและครีกสมารีเนอของเยอรมนี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ เรือประจัญบาน และเรือหลวงฮูด เรือลาดตระเวนสงคราม สู้รบกับเรือประจัญบานบิสมาร์ค และเรือลาดตระเวนหนัก ปรินซ์ออยเกน ของเยอรมนี เรือรบเยอรมันทั้งสองลำกำลังพยายามตีฝ่าออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพื่อทำลายการขนส่งพาณิชย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร

วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1941 เรือรบเยอรมัน 2 ลำแล่นผ่านน่านน้ำแอตแลนติกเหนือโดยมีเรือลาดตระเวนหนัก ปรินซ์ ออยเก็นและเรือประจัญบานบิสมาร์ค เรือรบบิสมาร์คกำลังเดินทางครั้งแรกเพื่อทำภารกิจลับสุดยอด รหัส"เอกซ์เซอร์ไซน์ ไลน์" แผนของเยอรมันก็คือลอบเข้าไปในแอตแลนติกโดยไม่ให้ถูกจับได้และโจมตีขบวนกองเรือของสัมพันธมิตร แต่เยอรมันไม่รู้ตัว 30 ไมล์ทางตะวันออกเฉียงใต้มีเรือรบอังกฤษ 2 ลำแล่นตัดมาด้วยความเร็วเต็มที่ เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ (53)และความภาดภูมิแห่งราชนาวีอังกฤษเรือหลวงฮูด (51) แผนการรบของอังกฤษได้ผิดไปจากที่คาดไว้ โดยหวังที่จะโจมตีกองเรือเยอรมันไปถึงปากช่องแคบเดนมาร์กและแล่นตัดเป็นรูปตัว T เพื่อยิงปืนทุกกระบอกจากข้างลำเรือ แต่ระหว่างคืนน้นอังกฤษได้คลาดกับศัตรูไปพอรุ่งเช้าก็พบว่าตนนั้นอยู่นอกตำแหน่งไปเสียแล้วตอนนี้เยอรมันกำลังได้เปรียบโดยพบว่าเยอรมันทำสำเร็จด้วยความบังเอิญ แต่กองเรืออังกฤษไม่หวาดหวั่น"ฮูด"คือสัญลักษณ์แห่งแสนยานุภาพของราชนาวีอังกฤษ เวลา 5.52 น.เรือหลวงฮูดเริ่มยิงก่อน กระสุนกระทบกราบขวาของเรือปรินซ์ออยเก็น เรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ระดมยิงไปอย่างรวดเร็วกระสุนนั้นได้พลาดเป้าไป น้ำจำนวนมากพุ่งพล่านขึ้นรอบเรือรบบิสมาร์คแต่น่าแปลกที่พลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ยังไม่สั่งให้ยิง แท้จริงแล้วงานของลึกเจนส์ไม่ใช่การสู้กับเรือรบงานของเขาคือการทำลายการค้าถ้าเรือของเขาเสียหายอย่างหนักเขาก็ต้องกลับไปที่ท่าเรือแล้วภารกิจก็จบสิ้น เรือรบของอังกฤษกระหน่ำยิงแต่ลึทเจนส์ยังปฏิเสธที่จะยิงโต้กลับ ในที่สุดพลเรือเอกแอร์นสท์ ลินเดมันน์ผู้จนตรอกได้ก้าวเข้ามาและพูดว่า"ผมจะไม่ยอมให้เรือผมถูกยิงจมไปต่อหน้าต่อตา"หลังจากนั้นเรือรบบิสมาร์คเปิดฉากยิง กระสุนขนาด 1 ตันจากเรือรบบิสมาร์คพุ่งไปสู่เรือหลวงฮูดโดยที่รู้กิตติศัพท์ว่ากระสุนที่ตกลงมาจากแนวลาดดิ่งซึ่งเรียกว่า"กระสุนมุมสูง"จะสามารถเจาะทะลุลึกและระเบิดภายในได้ง่ายๆตรงส่วนดาดฟ้าของเรือซึ่งเป็นเกราะบาง เมื่อเรือหลวงฮูดรู้ภัยของกระสุนมุมสูงเรือหลวงฮูดจึงรุดเข้าไปโดยพยายามเข้าใกล้ให้มากพอที่จะทำให้พลปืนเยอรมันยิงในวิถีแนวราบและหวังว่ากระสุนจะโดนส่วนเกราะตัวเรือหนา 12 นิ้วแทนที่จะเป็นส่วนดาดฟ้าบางๆ การระดมยิงครั้งแรกของเรือรบบิสมาร์ดเกือบพลาดเป้าไปกระสุนระเบิดที่ข้างกราบเรือข้างซ้ายของเรือหลวงฮูด เรือรบบิสมาร์คยิงอีกครั้ง พลปืนเยอรมันเล็งเป้าด้วยความแม่นฉมัง เวลา 5.55 น.กระสุนจากเรือรบบิสมาร์คแล่นตัดคลังกระสุนของเรือหลวงฮูดทำให้กระสุนต่อสู้อากาศยานขนาด 4 นิ้วระเบิดอย่างใหญ่และไฟได้เผาร่างลูกเรือจนวอดวาย กระสุนอีกนัดของเรือรบบิสมาร์คโดนที่หอหลักของเรือหลวงฮูด สถานการณ์น่าสิ้นหวัง ในระยะ 8 ไมล์ พลเรือเอกแลนสล็อต ฮอลแลนด์ผู้การเรือหลวงฮูด บัญชาการให้กลับลำเรือเพื่อให้เรือยิงจากด้านข้างได้อย่างเต็มที่ แต่พลเรือเอกฮอลแลนด์คำนวณผิด เรือรบบิสมาร์คได้ยิงออกไปโดยล็อกเป้าหมายไว้ที่เรือหลวงฮูด เวลา 6.00 น.กระสุนเจาะเกราะขนาด 1 ตันนัดหนึ่งก็เจาะเข้าสู่จุดตายของเรือหลวงฮูดเข้าพอดี กระสุนเจาะเกราะทะลุเข้าไปในเรือหลวงฮูดทำให้ดินปืนในห้องเก็บดินระเบิดลุกเป็นไฟ ต่อมาทหารเรือบนเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ดูภาพอันน่าสยองของเปลวไฟที่ประทุขึ้นจากดาดฟ้าของเรือหลวงฮูดที่ย่อยยับด้วยความตกตะลึงและแล้วเปลวไฟจากดินปืนจำนวนมหาศาลในห้องเก็บดินระเบิดทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า"การคุระอุไหม้"จากนั้นระเบิดลูกใหญ่ก็ทำให้ตัวเรือโก่งบิดและฉีกตัวเรือหลวงฮูดขาดเป็น 2 ท่อน ส่วนหัวเชิดตั้งขึ้นบนอากาศขณะที่ส่วนกลางจมลงไป น่านน้ำอีกฝั่งเรือรบบิสมาร์คดูการล่มสลายของเรือหลวงฮูด ในขณะที่เรือหลวงฮูดเคลื่อนตัวลงใต้เกลียวคลื่นป้อมปืนหัวเรือก็ยิงออกมาเป็นครั้งสุดท้ายท้าทายการระดมยิงก่อนจมลงสู่ความมืดใต้ท้องทะเล ลูกเรืออังกฤษ 1,418 คนรวมทั้งพลเรือเอกฮอลแลนด์จมลงพร้อมกับเรือหลวงฮูด ตอนนี้เรือรบบิสมาร์คและเรือรบปรินซ์ออยเก็นมาให้ความสนใจกับเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์แล้ว เรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ยังเป็นเรือใหม่ไม่เคยมีประสบการณ์การรบมาก่อนและมีปัญหาด้านเครื่องยนต์อยู่ด้วยปืนของเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ติดตั้งไว้มากมายแต่ 8 ใน 10 นั้นอยู่ในฐานปืนใหม่ที่ซับซ้อนซึ่งยังไม่ได้รับการทดสอบและขัดข้อง ผู้บัญชาการเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์จอห์น ลีชบัญชาการให้หันกราบเรือขวาเพื่อเลี่ยงซากเรือหลวงฮูด เรือรบบิสมาร์คและเรือรบปรินซ์ออยเก็นหันปืนไปยังเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ที่โดดเดี่ยวจากนั้นก็กระหน่ำยิงทั้งอาวุธหลักและอาวุธรอง นัดแรกโดนที่ส่วนกราบหลังของเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ นัดที่สองโดนหอบังคับการกับการทางด้านหลังของฐานปืนส่วนกระสุนชุดต่อไปโดนตัวเรือที่ใต้ปั่นจั่นยกเครื่องบินกับปล่องไฟและดาดฟ้าเรือและอีก 3 นัดได้ตกลงทะเลไป แต่การกราดยิงของเรือรบ 2 ลำของเยอรมันก็มากเกินไปสำหรับเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ที่ขัดข้อง มันถูกยิงจนเสียหายถึง 7 นัด ทหารเรือ 14 นายเสียชีวิตปืนบนเรือติดค้างชะงัก หลั้งจากกระหน่ำยิงถึง 23 ครั้งเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ควันโขมงและล่าถอยไปทางตะวันออกเฉียงใต้ พลเรือเอกลึทเจนส์ปฏิเสธที่จะไม่ตามไป เรือรบบิสมาร์คได้รับความเสียหายจากกระสุน 3 นัดจากเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลล์ทำให้น้ำทะเล 2,000 ตันไหลท่วมทะลักเข้ามาในห้องใต้ท้องเรือและถังน้ำมันก็แตกด้วย น้ำมันอันมีค่ากำลังรั่วไหล พลเรือเอกลึกเจนส์ต้องหาท่าเรือและทำการซ่อมแซมให้เร็วที่สุด เวลา 18.14 น.ของวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1941 เรือรบบิสมาร์คแยกทางกับเรือรบปรินซ์ออยเก็นและมุ่งหน้าไปยังฐานหลบภัยที่ฝรั่งเศสซึ่งนาซียึดครองอยู่

จากการยุทธนาวีครั้งนี้ทำให้ทั้งอังกฤษตกตะลึงและเสียขวัญเป็นอย่างมากจากเหตุการณ์นี้เพราะรู้ดีว่าเรือหลวงฮูดเป็นเรือที่ไม่มีวันจม หลังจากนั้นอังกฤษก็ได้สั่งให้กองทัพเรือและอากาศให้ตามล่าและทำลายเรือรบบิสมาร์คไปให้ถึงที่สุดไม่ว่าจะเสียอะไรก็ตามเพื่อล้างแค้นเรือหลวงฮูด

[1]

ภาพแสดงการรุกเข้าสู่แอตแลนติกเหนือของเยอรมัน (แดง) และอังกฤษ (เหลือง)

อ้างอิง[แก้]

  1. Barnett 2004, p. 295.