ยุทธการที่ตูร์

พิกัด: 47°23′37″N 0°41′21″E / 47.3936°N 0.6892°E / 47.3936; 0.6892
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการตูร์)
ยุทธการที่ตูร์
ส่วนหนึ่งของ การรุกรานกอลของอุมัยยะฮ์

ยุทธการแห่งปัวติเยร์ของเดือนตุลาคม ค.ศ. 732 เป็นภาพของชาร์ลส์ มาร์เตล (บนหลังม้า) เผชิญหน้ากับอับดุรเราะฮ์มาน อัลฆอฟิกี (ขวา) ในยุทธการตูร์
วันที่10 ตุลาคม ค.ศ. 732[2]
สถานที่
Moussais-la-Bataille ประเทศฝรั่งเศส[3]
47°23′37″N 0°41′21″E / 47.3936°N 0.6892°E / 47.3936; 0.6892
ผล

แฟรงก์ชนะ[4][5]

  • กองทัพอุมัยยะฮ์ถอนทัพ
คู่สงคราม

ราชอาณาจักรแฟรงก์ (อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก)[1]

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์[1]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อับดุรเราะห์มาน อัลฆอฟิกี[1] 
กำลัง
15,000–20,000 นาย[1] 20,000 นาย[1]
ความสูญเสีย
1,000 นาย[1] 12,000 นาย[1]

ยุทธการที่ตูร์[6] หรือ ยุทธการปัวติเยร์ (อังกฤษ: Battle of Tours หรือ Battle of Poitiers) และ ยุทธการทางหลวงแห่งผู้พลีชีพ (อาหรับ: معركة بلاط الشهداء, อักษรโรมัน: Maʿrakat Balāṭ ash-Shuhadā'; Battle of the Highway of the Martyrs)[7] เป็นยุทธการในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 732 และเป็นยุทธการที่สำคัญในการรุกรานกอลของอุมัยยะฮ์ที่นำไปสู่ชัยชนะของกองทัพแฟรงก์และอากีแตน[8][9]ที่นำโดยชาร์ล มาร์แตล ต่อกองทัพมุสลิมผู้รุกรานของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ที่นำโดยอับดุรเราะห์มาน อัลฆอฟิกี ผู้ว่าการอัลอันดะลุส นักประวัติศาสตร์บางคน อย่างเอ็ดเวิร์ด กิบบอน ยกให้ชัยชนะของฝ่ายคริสเตียนในสงครามนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดการทำให้เป็นอิสลามในยุโรปตะวันตก[10]

รายละเอียดของสงครามที่รวมทั้งจุดที่ต่อสู้แต่ตัวเลขของผู้เข้าร่วมไม่เป็นที่ทราบแน่นอนจากหลักฐานที่ยังเหลืออยู่ ข้อมูลส่วนใหญ่ยอมรับว่าฝ่ายอุมัยยะฮ์มีกองกำลังที่มากกว่า และได้รับความเสียหายมาก แต่สิ่งที่น่าสนใจคือฝ่ายแฟรงก์ได้รับชัยชนะโดยไม่มีกองทหารม้าหนัก[11] สนามรบนี้ตั้งอยู่ในบริเวณใดสักแห่งระหว่างนครปัวตีเยกับตูร์ ในอากีแตนตอนเหนือ ในประเทศฝรั่งเศสตะวันตก ใกล้ชายแดนดินแดนแฟรงก์กับดัชชีอากีแตนที่เป็นเอกราชในณะนั้น ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของโอโดมหาราช

อัลฆอฟิกีเสียชีวิตในการสู้รบ และมีการถอนกองทัพอุมัยยะฮ์ออกจากพื้นที่ ยุทธการนี้มีส่วนช่วงที่การวางรากฐานจักรวรรดิการอแล็งเฌียงและอิทธิพลของแฟรงก์ในยุโรปตะวันตกต่อมาอีกร้อยปี นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่า "การสถาปนาอิทธิพลแฟรงก์ในยุโรปตะวันตกสร้างโชคชะตาของทวีป และยุทธการที่ตูร์ยืนยันสิ่งนั้น"[12]

ภูมิหลัง[แก้]

ยุทธการที่ตูร์เกิดขึ้นหลังการพิชิตของอุมัยยะฮ์ในทวีปยุโรป 2 ทศวรรษที่เริ่มต้นด้วยการรุกรานราชอาณาจักรวิซิกอทของคริสเตียนบนคาบสมุทรไอบีเรียใน ค.ศ. 711 หลังจากนั้นมีการทัพเข้าสู่ดินแดนกอลของชาวแฟรงก์ที่เป็นอดีตมณฑลของจักรวรรดิโรมัน การทัพของอุมัยยะฮ์เดินไปทางเหนือถึงอากีแตนและบูร์กอญ ซึ่งรวมการสู้รบหลักที่บอร์โดและการจู่โจมที่โอเติง ชัยชนะของชาร์ลเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าหยุดการเดินทัพไปทางเหนือของกองทัพอุมัยยะฮ์จากคาบสมุทรไอบีเรีย และหลีกเลี่ยงการทำให้ยุโรปตะวันตกไปเป็นอิสลาม[13][14]

นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่ากองทัพทั้งสองพบกันในบริเวณที่แม่น้ำ Clain กับ Vienne เชื่อมกันระหว่างตูร์กับปัวตีเย ไม่มีใครทราบจำนวนทหารในแต่ละกองทัพ ข้อมูลภาษาละตินร่วมสมัยชื่อ พงศาวดารโมซาราบิก ค.ศ. 754 ที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธการมากกว่าข้อมูลภาษาอาหรับและละตินอื่น ๆ ระบุว่า "ผู้คนจากAustrasia [กองทัพแฟรงก์] ที่มีทหารจำนวนมากและมีอาวุธที่น่าเกรงขาม สังหารพระเจ้าอับดุรเราะห์มาน"[15] ซึ่งนักประวัติศาสตร์มุสลิมและอาหรับหลายคนยอมรับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตะวันตกทั้งหมดปฏิเสธสิ่งนี้ โดยประมาณการว่ากองทัพแฟรงก์มีจำนวน 30,000 นาย ซึ่งน้อยกว่าครึ่งของกองทัพมุสลิม[16]

อุมัยยะฮ์[แก้]

ความเห็น[แก้]

นักประวัติศาสตร์คริสเตียนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สรรเสริญชาร์ลส์ว่าเป็นวีรบุรุษของคริสเตียนและกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงความขัดแย้งต่อต้านอิสลาม การต่อสู้ที่เป็นการพิทักษ์คริสต์ศาสนาให้เป็นศาสนาของยุโรป นักประวัติศาสตร์ทางการทหารสมัยใหม่วิคเตอร์ เดวิส แฮนสันกล่าวว่า “นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เช่นกิบบอนมีความเห็นว่ายุทธการปัวติเยร์เป็นยุทธการสำคัญที่เป็นจุดที่แสดงอำนาจอันสูงสุดของมุสลิมที่คืบเข้ามาในยุโรป”[17] เลโอโพลด์ ฟอน รังเคอ (Leopold von Ranke) มีความเห็นว่า “ปัวติเยร์เป็นจุดของความหันเหของสมัยที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก”[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Cirier, Aude; 50Minutes.fr (2014-07-14). La bataille de Poitiers: Charles Martel et l'affirmation de la suprématie des Francs (ภาษาฝรั่งเศส). 50 Minutes. pp. 6–7. ISBN 9782806254290.
  2. The Andalusian History, from the Islamic conquest till the fall of Granada 92–897 A.H. (711–1492 C.E.), by Professor AbdurRahman Ali El-Hajji, a professor of the Islamic history at Baghdad University, published in Dar Al-Qalam, in Damascus, and in Beirut. "Second Edition". p. 193
  3. The Andalusian History, from the Islamic conquest till the fall of Granada 92–897 A.H. (711–1492 C.E.), by Professor AbdurRahman Ali El-Hajji, a professor of the Islamic history at Baghdad University, published in Dar Al-Qalam, in Damascus, and in Beirut. "Second Edition". p. 194
  4. The Andalusian History, from the Islamic conquest till the fall of Granada 92–897 A.H. (711–1492 C.E.), by Professor AbdurRahman Ali El-Hajji, a professor of the Islamic history at Baghdad University, published in Dar Al-Qalam, in Damascus, and in Beirut. "Second Edition". pp. 198–99
  5. Balat Al-Shuhada battle, in Islamic and European history, by Dr. Abd Al-Fattah Muqallid Al-Ghunaymi, published in Alam Alkotob, Cairo, Egypt. "First Edition". ISBN 977-232-081-9. p. 77
  6. Oman, 1960, p. 167, gives the traditional date of 10 October 732. White 1962, p. 3, note 3, citing Baudot 1955, goes with October 17, 733. Collins 1989, pp. 90–91, concludes "late (October?) 733" based on the "likely" appointment date of the successor of Abd Al Rahman, who was killed in the battle. Watson 1993, p. 52, cites problems with Baudot, saying Baudot's incorrect dating of the battle as 733 A.D. has been employed to this day by those unfamiliar with the sources.
  7. Henri Pérès, "Balāṭ al-S̲h̲uhadāʾ", in Encyclopaedia of Islam, Second Edition, edited by P. Bearman, T. Bianquis, C. E. Bosworth, E. van Donzel, W. P. Heinrichs (Leiden: Brill, 1967), vol. 1, 988–89. Balāṭ, from Latin platea, means pavement, as in a paved court or road.
  8. Bachrach, 2001, p. 276.
  9. Fouracre, 2002, p. 87 citing the Vita Eucherii, ed. W. Levison, Monumenta Germaniæ Historica, Scriptores Rerum Merovingicarum VII, pp. 46–53, ch. 8, pp. 49–50; Gesta Episcoporum Autissiodorensium, extracts ed. G. Waitz, Monumenta Germaniae Historica, Scriptores XIII, pp. 394–400, ch. 27, p. 394.
  10. The Decline And Fall Of The Roman Empire by Edward Gibbon เก็บถาวร 2017-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Chapter LII.
  11. Schoenfeld 2001, p. 366
  12. Davis 1999, p. 106
  13. Ray, Michael (2019-06-13). "Battle of Tours". Encyclopedia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-28.
  14. Bunting, Tony. "Battle of Tours". Encyclopedia Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-14.
  15. Wolf 1990, p. 145
  16. Davis 1999, p. unk
  17. Hanson, 2001, p. 166.
  18. Ranke, Leopold von. "History of the Reformation," vol. 1, 5

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]