ยางรีเคลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยางรีเคลม[1] (Reclaim Rubber) หมายถึง การนำผลิตภัณฑ์ยางที่วัลคาไนซ์แล้วมาผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งโดยการที่ทำให้โมเลกุลของยางที่มีการเชื่อมโยง แตกออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ซึ่งสามารถนำไปผสมสารเคมีแล้วนำกลับมาวัลคาไนซ์ใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง

การทำยางรีเคลม มีกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

  1. Digester Process
  2. Heater Process หรือ Pan Process
  3. Reclaimtor Process

กระบวนการการทำยางรีเคลมที่มาจากยางธรรมชาติ ไม่ต้องใช้สารเคมี ใช้เพียงความร้อนเท่านั้น แต่ยางรีเคลมที่ทำมาจากยางสังเคราะห์จะต้องใช้ทั้งความร้อนและสารเคมีชนิดอื่น ๆ เช่น พลาสติไซเซอร์ ซึ่งจะช่วยให้โมเลกุลยางแยกออกจากกันได้ง่ายขึ้น, แทคคิไฟเออร์ (Tackifier) ช่วยในการแปรรูปหลังให้ความร้อนซึ่งทำให้ยางเหนียวและนุ่มขึ้น, และ reclaiming agent ช่วยในการดำเนินกระบวนการรีเคลมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

กระบวนการทำยางรีเคลมจะต้องผ่านการออกซิเดช้น ความร้อน และการล้าง ทำให้ยางปกติที่ผ่านการวัลคาไนซ์แล้วนำมาทำยางรีเคลมจะทนทานต่อการออกซิไดซ์ได้ดีขึ้น แต่สมบัติด้านความทนทานต่อการสึกหรอ, ความทนทานต่อแรงดึง, ระยะยืดเมื่อขาด และความกระเด้งตัวของยางไม่ดี

ยางที่ผ่านกระบวนการรีเคลมจะนำไปใช้งานในด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์, อุตสาหกรรมรองเท้า, อุตสาหกรรมเครื่องกลต่าง ๆ เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. พรพรรณ นิธิอุทัย, สารเคมีสำหรับยาง, 2532, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, หน้า 325-340