ยอดมนู ภมรมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยอดมนู ภมรมนตรี
ยอดมนู ภมรมนตรี ขณะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ยอดมนู ภมรมนตรี ขณะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดยอดมนู ภมรมนตรี
เกิด22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (65 ปี)
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
คู่สมรสมัลลิกา ภมรมนตรี
อาชีพนักแสดง
ผู้ประกาศข่าว
พิธีกร
นักร้อง
นักการเมือง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นบ้านเลขที่ ๕
ทาสอารมณ์
ฟ้าสีทอง
ThaiFilmDb

ยอดมนู ภมรมนตรี (ชื่อเล่น: ยอด) อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์ อดีตผู้ประกาศข่าว อดีตนักแสดงภาพยนตร์ อดีตนักร้อง และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติพัฒนา

ประวัติ[แก้]

นายยอดมนู เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของพลโท ประยูร ภมรมนตรี สมาชิกคณะราษฎร ผู้ก่อการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายพลเรือน และ นางเรณู ภมรมนตรี (นามสกุลเดิม: พิบูลภานุวัฒน์) รองนางสาวไทย ประจำปี พ.ศ. 2491[1] มีน้องชายร่วมสายโลหิตคือ นายยุรนันท์ ภมรมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตนักร้อง อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์ อดีตนักแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์

นายยอดมนู สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2533[1] โดยมีผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือ เป็นพิธีกรร่วม ประจำรายการ บ้านเลขที่ ๕ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ผลิตโดย บริษัท แปซิฟิก อินเตอร์คอมมิวนิเคชัน จำกัด (มหาชน) และ บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ในระยะต่อมา และเป็นผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

นอกจากนี้ นายยอดมนู ยังเคยแสดงภาพยนตร์ไทย 3 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2530 คือ ทาสอารมณ์ และ ฟ้าสีทอง ซึ่งเรื่องหลังแสดงร่วมกับนายยุรนันท์ น้องชาย และเรื่อง นักรบดำ ในปี พ.ศ. 2531 ร่วมกับนักแสดงชื่อดังอีกหลายคน เช่น สรพงษ์ ชาตรี, โกวิท วัฒนกุล, หม่อมหลวงสุรีวัลย์ สุริยง และรณ ฤทธิชัย และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตเลือกตั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[1] ปัจจุบันประกอบกิจการเกสต์เฮ้าส์ร่วมกับภรรยา ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี[2]

ผลงานละคร[แก้]

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • พ.ศ. 2524 - กำแพงหัวใจ
  • พ.ศ. 2529 - ปรารถนาแห่งหัวใจ
  • พ.ศ. 2530 - ทาสอารมณ์
  • พ.ศ. 2530 - ผัวชั่วคราว
  • พ.ศ. 2530 - ฟ้าสีทอง
  • พ.ศ. 2531 - นักรบดำ

รายการ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]