ยงยุทธ สุวภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยงยุทธ สุวภาพ
นายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย
ดำรงตำแหน่ง
29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 – 31 มกราคม พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าสามารถ ใจบุญ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2489 (77 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2512—ปัจจุบัน)

ยงยุทธ สุวภาพ (12 กันยายน พ.ศ. 2489) อดีตนายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย[1] อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ในจังหวัดเชียงใหม่[2] และเป็นอดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้[3] และอดีตนายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้[4]

การศึกษา[แก้]

ยงยุทธ สุวภาพ จบการศึกษาประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ และระดับปริญญาตรี สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครอง สำหรับผู้บริหารระดับสูง จากสถาบันพระปกเกล้าอีกด้วย

การทำงาน[แก้]

ยงยุทธ สุวภาพ เริ่มทำงานเป็นพนักงานประจำธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จนกระทั่งได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ พนักงานบริหารสินเชื่อ 8 สำนักงาน ธกส.จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาจึงได้ลาออกมาทำงานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ยงยุทธเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ที่สามารถเอาชนะฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยได้ โดยเอาชนะนายทวีศักดิ์ สุภาศรี จากพรรคไทยรักไทย นายเจริญ เชาวน์ประยูร อดีต ส.ส. จากพรรคราษฎร นายณรงค์ นิยมไทย อดีต ส.ส. จากพรรคความหวังใหม่[2][5] แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ต้องพ่ายแพ้ให้กับจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคไทยรักไทย[6] บุตรชายของสมพงษ์ อมรวิวัฒน์

นอกจากนั้นแล้วยังเคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (อำนวย ยศสุข) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (สุทัศน์ เงินหมื่น) และเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในปี พ.ศ. 2550-2554

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม[7]แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับคู่แข่งเดิม และส่งผลให้ไม่มี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 ในปี พ.ศ. 2555 นายยงยุทธ จึงหันไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลเมืองงาย และได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วย[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เดินหน้าจัดการหนอนกระทู้ลายจุดต่อเนื่อง เปิดเวทีกลางแปลงข้าวโพดแถลงสื่อแจงพื้นที่ระบาดลดไปแล้วกว่า 2 หมื่นไร่
  2. 2.0 2.1 "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยแม่โจ้" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-23.
  4. ทำเนียบนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  6. ""ยงยุทธ สุวภาพ" ยอมรับมติประชาชน ลงคะแนน เลือก "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
  7. “อภิรักษ์” นำทีม ส.ส.เชียงใหม่ ลงสมัคร-ลั่นสู้เต็มที่
  8. "อดีต ส.ส. ชนะเลือกตั้งนายก เทศบาลเมืองงาย อ.เชียงดาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27. สืบค้นเมื่อ 2012-08-21.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕