มุฮัรร็อมในความเชื่อของซุนนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความสำคัญของเดือนมุสลิม เดือนมุฮัรร็อมเป็นเดือนหนึ่งในบรรดาสี่เดือนที่ต้องห้าม (อัลอัชฮุรุลหุรุม) ดังพระกำหนดที่ถูกระบุในซูเราะตุตเตาบะฮฺ อายะฮฺที่ 36 ซึ่งมีใจความหมายว่า “แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม...”

ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายว่า สี่เดือนที่ต้องห้ามนั้นคือ เดือนซุลกะอฺดะฮฺ ซุลฮิจญะฮฺ มุฮัรร็อม และรอญับมุฎ็อร โดยสามเดือนแรกเป็นสามเดือนต่อเนื่องกัน แต่เดือนรอยับที่ถูกแยกมาเป็นเดือนที่ต้องห้ามระหว่างเดือนญุมาดาอัลอาคิเราะฮฺกับเดือนชะอฺบาน เพราะในประวัติศาสตร์ของอาหรับก่อนยุคอิสลาม ชาวเผ่ารอบีอะตุบนุนิซารได้เรียกเดือนรอมฎอนว่าเดือนรอญับ และถือเป็นเดือนต้องห้ามแทนเดือนรอยับของเผ่ามุฎ็อร ซึ่งเดือนรอยับของมุฎ็อรเป็นการกำหนดที่ถูกต้องตามศาสนบัญญัติ จึงทำให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เน้นในการกำหนดเดือนต้องห้ามว่าเป็นเดือนรอยับของมุฎ็อร ส่วนเดือนมุฮัรร็อมนั้นนอกจากเป็นเดือนต้องห้ามแล้ว ยังมีความประเสริฐอีกหลายประการดังต่อไปนี้

มูฮัรรอมในทัศนะของชีอะห์...

มุฮัรร็อม : เดือนต้องห้าม มุฮัรร็อม เป็นคำภาษาอาหรับที่ผันมาจากคำว่า "ฮะรอม" ที่แปลว่า ต้องห้าม

มุฮัรร็อม เป็นชื่อของเดือนที่หนึ่งตามปฏิทินอิสลาม เป็นหนึ่งในสี่เดือนที่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงประกาศไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอาน ว่าเป็นเดือนต้องห้ามสำหรับการสู้รบ อีกสามเดือนนั้นคือ รอญับ, ซุล-เกาะดะฮ์ และซุล-ฮิจญะฮ์

"เดือนที่ต้องห้ามนั้น ก็ด้วยเดือนที่ต้องห้าม และบรรดาสิ่งจำเป็นต้องเคารพนั้น ก็ย่อมมีการตอบโต้เยี่ยงเดียวกัน ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า ก็จงละเมิดต่อเขาเยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเข้า และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงรู้ไว้ด้วยว่าแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรงทั้งหลาย" (อัล-กุรอาน 2/194)

ในโองการที่ 59 บทอัน-นิซาอฺ ของคัมภีร์อัล-กุรอาน อัลลอฮ(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

"ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเชื่อฟังศาสนทูตของอัลลอฮ์ และผู้มีอำนาจปกครองในหมู่พวกเจ้าเถิด..."

บรรดาผู้ศรัทธา จะเชื่อฟังอัลลอฮ์ เชื่อฟังศาสนทูตของพระองค์ และผู้มีอำนาจปกครองที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพระองค์ แต่นี่คือคำสั่งที่เปิดกว้าง เพราะอีกโองการหนึ่งพระองค์ตรัสว่า "ไม่มีการบังคับใดในศาสนา(อิสลาม)..." (อัล-กุรอาน 2/256) บรรดาผู้ไม่ศรัทธาจึงสามารถทำสิ่งที่พวกเขาต้องการได้

อิมามอะลี(อ.) อิมามฮะซัน(อ.) และอิมามฮุเซน(อ.) ไม่เคยบีบบังคับให้ผู้ใดมาให้สัตยาบัน ยอมรับการเป็น "ผู้มีอำนาจปกครอง" ของพวกท่าน และไม่เคยให้การยอมรับใครว่าเป็นผู้มีอำนาจปกครองเหนือพวกท่านด้วยเช่นกัน

แต่เมื่อยะสีด บุตรของมุอาวียะฮ์ ขึ้นครองตำแหน่งเป็นผู้ปกครอง เขาต้องการบีบบังคับให้ลูกหลานของท่านศาสดา(ศ.) มาให้สัตยาบันแก่เขาเพื่อรับรองอำนาจของเขา ซึ่งอิมามฮุเซน(อ.) มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธ

ท่านได้พยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงแล้ว ด้วยการออกเดินทางจากมะดีนะฮ์ในเดือนรอญับ ฮ.ศ.61 พร้อมด้วยครอบครัวและสหายสาวกของท่านซึ่งเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงจำนวนหนึ่ง ท่านได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะออกไปจากอาณาจักรที่อยู่ในอำนาจการปกครองของยะสีด

แต่ยะสีดได้ส่งกองทัพเข้าล้อมกองคาราวานของอิมามฮุเซน(อ.) เมื่อคณะของท่านเดินทางมาถึงแผ่นดินกัรบาลาอฺ เมื่อวันที่ 2 มุฮัรร็อม ฮ.ศ.61

เหตุการณ์ "ล่วงละเมิด" ได้เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นการฝ่าฝืนโองการของอัลลอฮ์ ที่สั่งให้มุฮัรร็อมเป็นเดือนต้องห้ามจากการสู้รบ และเป็นสิทธิอันชอบธรรมแล้วของอิมามฮุเซน(อ.) และบรรดาผู้ศรัทธาที่จะต้อง "ตอบโต้"

การนองเลือดที่แผ่นดินกัรบะลาอฺเมื่อวันที่ 10 มุฮัรร็อม ฮ.ศ.61 ทำให้อิมามฮุเซน(อ.) ได้รับชะฮีด พร้อมกับลูกหลานและสหายสาวกของท่านอีก 72 คน

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเดือนมุฮัรร็อมนั้น เป็นเดือนต้องห้ามและเป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์เดือนหนึ่ง ในเดือนนี้ ผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงควรจะหลีกเลี่ยงการงานที่รื่นเริงทั้งหมด และเข้าร่วมการพบปะกันเพื่อรำลึกถึงเรื่องราวของโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลาอฺ เพื่อเล่าขานวีรกรรมของอิมามฮุเซน(อ.) และชะฮีดอีก 72 ท่าน สืบทอดต่อไปสู่ลูกหลาน เช่นเดียวกับที่มันได้ถูกเล่าขานมาทุกปีตลอดระยะเวลาพันกว่าปีแล้ว

การถือศีลอดในเดือนมุฮัรร็อม[แก้]

เป็นการถือศีลอดที่มีความประเสริฐยิ่ง ซึ่งมีตำแหน่งรองจากเดือนรอมฎอน ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

أَفْضَلُ الصِّيَامِ بَعْدَ رَمَضَانَ شَهْرُ اللهِ المُحَرَّمُ

ซึ่งมีใจความว่า “การถือศีลอดที่ประเสริฐยิ่งหลังจากเดือนรอมฎอน คือการถือศีลอดเดือนของอัลลอฮฺที่ต้องห้าม (อัลมุฮัรร็อม) ” (บันทึกโดยอิมามมุสลิม อบูดาวู้ด และติรมีซีย์)

ดังนั้น ผู้ใดมีความสามารถที่จะถือศีลอดในเดือนมุฮัรร็อมทุกวัน เกือบทุกวัน หรือบางวัน ก็เป็นการดีในการให้เกียรติเดือนที่ต้องห้ามนี้ หากไม่สามารถถือศีลอดหลายวัน ก็ให้ปฏิบัติความประเสริฐประการต่อไป

การถือศีลอดวันที่ 10 มุฮัรร็อม[แก้]

ที่เราเรียกกันว่า 'อาชูรออฺ ซึ่งเป็นวันที่มีเกียรติในศาสนาอื่นด้วย เช่น ศาสนายิว เพราะเป็นวันที่ท่านนบีมูซา อะลัยฮิสสลาม ได้รับความปลอดภัยจากฟิรเอานฺ จึงเป็นวันแห่งการขอบคุณของบนีอิสรออีล และเป็นที่รู้กันดีว่าท่านนบีมูซาได้ถือศีลอดในวันนี้ เมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และท่านได้ทราบว่าชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮฺกำลังถือศีลในวันนั้น ท่านนบีจึงประกาศให้เป็นวันถือศีลอดของชาวมุสลิมด้วย โดยกล่าวว่า “ฉันมีข้อเกี่ยวพันกับมูซามากกว่าพวกท่าน (โอ้ชาวยิว) ” ท่านนบีจึงถือศีลอดวันนั้นและใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดด้วย” (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)

บรรดานักปราชญ์อิสลามชี้แจงว่า ในช่วงแรกการถือศีลอดวันอาชูรออฺ (สิบมุฮัรร็อม) เป็นวาญิบ (จำเป็นต้องปฏิบัติ) เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีการใช้ให้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน จึงถือเป็นการถือศีลอดฟัรฎูของมุสลิม แต่หลังจากที่มีบทบัญญัติใช้ให้บรรดามุสลิมีนถือศีลอดเดือนรอมฎอนเป็นฟัรฎูแล้ว ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ไม่ได้บังคับให้ถือศีลอดในวันนี้ แต่ยืนยันในความประเสริฐด้วยถ้อยคำอันชัดเจน เช่น . سُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ المَاضِيَةَ

ท่านนบีถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่า “ลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม) ดังนั้น บรรดาอุละมาอฺจึงมีความเห็นตรงกันถึงความประเสริฐของการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ

การทำอิบาดะฮฺ ทำความดี และละเว้นความชั่วทุกชนิด[แก้]

เดือนมุฮัรร็อมถือเป็นวาระสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ทรงกำชับบรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้อธรรมตัวเองในเดือนที่ต้องห้าม หมายถึง ไม่ให้ละเมิดกรอบสิ่งที่ต้องห้าม และไม่ให้ละเว้นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

สำหรับเดือนมุฮัรร็อมมีความประเสริฐบางประการที่บางกลุ่มบางลัทธิเชื่อถือกัน แต่หาได้มีหลักฐานรับรองในความประเสริฐนั้นไม่ เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้

- ความเชื่อว่าวันที่ 10 มุฮัรร็อมเป็นวันที่ท่านนบีนูหฺได้รับความปลอดภัยจากน้ำท่วมด้วยเรือลำใหญ่ที่อัลลอฮฺทรงสอนให้ท่านนบีนูหฺสร้างเพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้ศรัทธา ซึ่งหะดีษที่กล่าวถึงเรื่องนี้อยู่ในระดับที่เชื่อถือมิได้ ดังนั้น ทางความศรัทธาไม่อนุญาตให้เชื่อในสิ่งที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนรองรับ

- ความเชื่อว่าวันที่ 10 มุฮัรร็อมนั้นให้ทำขนมหรือแจกขนมชนิดหนึ่งชนิดใด โดยเชื่อว่าการทำขนมเฉพาะให้วันที่สิบมุฮัรร็อมนั้นมีความประเสริฐเป็นพิเศษ ซึ่งความเชื่อเช่นนี้มีความคลาดเคลื่อนและผิดหลักการใน 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ เป็นการกระทำที่ไม่มีหลักฐานรองรับ และการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดถ้าเราเชื่อว่ามีผลบุญ (เช่นเชื่อว่าทำขนมในวันอาชูรออฺมีผลบุญเป็นพิเศษ) ถ้าไม่มีหลักฐานในการกระทำนั้นๆ ก็จะถือว่าเป็นบิดอะฮฺที่ต้องละทิ้ง

ประเด็นที่สอง คือ เป็นพฤติกรรมที่ถูกริเริ่มด้วยกลุ่มอันนะวาศิบ คือกลุ่มที่เกลียดชังท่านอะลี อิบนุอบีฏอลิบ และอะหฺลุลบัยตฺ (ครอบครัวและลูกหลานของท่านนบี) กลุ่มนี้ได้แสดงความดีใจในการเข่นฆ่าท่านอัลหะซัยนฺ อิบนุอะลี (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ในวันที่ 10 มุฮัรร็อม จึงทำขนมและแจกเพื่อแสดงความยินดีในเหตุการณ์นั้น และกลุ่มนะวาศิบนี้ก็จะเป็นกลุ่มตรงข้ามกับกลุ่มชีอะฮฺ กล่าวคือ กลุ่มชีอะฮฺร่อวาฟิฎจะรักอะหฺลุลบัยตฺอย่างเลยเถิด แต่กลุ่มนะวาศิบจะเกลียดอะหฺลุลบัยตฺโดยไม่มีเหตุผล และระหว่างสองกลุ่มก็จะมีอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺที่รักใคร่อะหฺลุลบัยตฺตามขอบเขตของอิสลามและด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง